สรุปประเด็นเรื่องภาคธุรกิจของสหรัฐเสี่ยงมากขึ้น, จีนกำลังเผชิญกับวิกฤตศรัทธา, วิกฤตหนี้เสียรถ-บ้านลาม |
ภาคธุรกิจของสหรัฐเสี่ยงมากขึ้น บทวิเคราะห์ของ The Economist ระบุว่า แม้เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และเงินเฟ้อเริ่มลดลง แต่มองว่าในอนาคต มีปัจจัย 3 ประการที่จะฉุดให้ผลประกอบการของสหรัฐแย่ลง ปัจจัยแรกได้แก่ผู้บริโภคสหรัฐ ปัจจัยที่สองได้แก่ สุขภาพของผู้บริโภคในประเทศจีน และ ปัจจัยที่สาม ได้แก่ การชะลอลงของการลงทุนภาคอุตสาหกรรมสหรัฐ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่ดูจะเป็นความหวังของสหรัฐคือปัญญาประดิษฐ์ (AI) เราวิเคราะห์ว่า การบริโภคและลงทุนสหรัฐมีแนวโน้มจะชะลอลงจาก (1) การขยายตัวของค่าจ้างที่จะชะลอลง (จากอำนาจการต่อรองของนายจ้างที่มีมากขึ้น) ท่ามกลางเงินเฟ้อที่อาจลดลงได้ยากในระยะต่อไป ทำให้รายได้ที่แท้จริงของประชาชนเริ่มลดลง (2) ภาคธุรกิจที่จะเริ่มขยายตัวได้ลำบากท่ามกลางการตีตลาดของจีนที่จะมีมากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนทำให้รายได้ลดลง (3) ประโยชน์ของ AI ในการดำเนินธุรกิจยังมีไม่มากนักในปัจจุบัน ทำให้ความสามารถในการผลิตของเศรษฐกิจไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก ท่ามกลางค่าใช้จ่ายด้าน AI ที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งจะเป็นตัวฉุดรั้งเศรษฐกิจในระยะต่อไป ตลาดเงินตลาดทุนจีนกำลังเผชิญกับวิกฤตศรัทธา เราวิเคราะห์ว่า วิกฤตอสังหาฯ นโยบายที่เน้นเสถียรภาพมากกว่าการเติบโต และสงครามเย็นระหว่างจีนและชาติตะวันตก ทำจีนเสี่ยงเข้าสู่วงจรเงินฝืดมากขึ้น โดยนโยบายที่เน้นการเติบโตในกลุ่มอุตสาหกรรมที่รัฐสนับสนุน เช่น อุตสาหกรรมการผลิต แต่ละเลยภาคอื่น ๆ เช่น ภาคเทคฯ Software ภาคอสังหาฯ และภาคบริการอื่นๆ ทำให้ภาคเศรษฐกิจโดยรวมชะลอลงต่อเนื่อง ขณะที่อุตสาหกรรมการผลิตก็ยังไม่สามารถเติบโตแทนที่ได้ ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจจีนในภาพรวมในระยะต่อไป วิกฤตหนี้เสียรถ-บ้านลาม ดอกเบี้ยสูงซ้ำเติมครัวเรือนกระอัก ประชาชาติธุรกิจออกบทวิเคราะห์ “วิกฤตหนี้ครัวเรือน” โดยเครดิตบูโรเปิดข้อมูล ปิดปี 2566 “หนี้เสีย+หนี้ SM” รวมทะลุ 1.6 ล้านล้านบาท และให้จับตา “หนี้บ้าน” ค้างชำระพุ่ง 31% “หนี้รถ” NPL กระฉูด 28% ดันหนี้เสียรถยนต์แตะ 2.3 แสนล้านบาท แถมกลุ่มหนี้กำลังจะเสียวิ่งไล่มาอีก 2 แสนล้านบาท ขณะที่ธนาคารกังวลหนี้เสียลุกลาม จึงคุมเข้มการปล่อยกู้ฉุดตลาดรถ-บ้านขายไม่ออก ซึ่งภาวะดอกเบี้ยสูง จะกดดันปัญหาหนี้ครัวเรือน ให้เป็นปัญหาไปอีกนาน ฝาก ธปท.ปรับวิธีคิดสูตรแก้หนี้ ด้านศูนย์วิจัยกสิกรฯย้ำดอกเบี้ยสูงกดทับปัญหาความสามารถชำระหนี้คนไทย ขณะที่รายได้ต่อหัวลดลง หนี้ภาคธุรกิจยังจัดการได้ ยอมรับบางเซ็กเตอร์ความเสี่ยงเพิ่ม ขระที่เราวิเคราะห์ว่า นโยบายการเงินที่ตึงตัวเกินไป ทำให้ความเสี่ยงภาคการเงินของไทย-สินเชื่อลด NPL พุ่ง และทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอลง |
ท่าน สามารถอ่านและดาวน์โหลดเอกสารได้จาก Macro making sense 240212_T |