Keyword
Macro Making Sense 1
PDF Available  
Macro Making Sense

Macro Making Sense – 15 ต.ค. 2567

By ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์|15 Oct 24 8:27 AM
สรุปสาระสำคัญ

สรุปประเด็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีน เงินเฟ้อสหรัฐ และคาดการณ์การประชุม กนง.

  1. มาตรการการคลังใหม่ของจีน: รัฐบาลจีนประกาศเพิ่มระดับหนี้สาธารณะเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยมีมาตรการช่วยเหลือรัฐบาลท้องถิ่น แก้ไขปัญหาหนี้สิน สนับสนุนตลาดอสังหาริมทรัพย์ 

  2. แนวโน้มเงินเฟ้อและนโยบายการเงิน: เงินเฟ้อของสหรัฐฯ ชะลอตัวลงในเดือนกันยายน 2024 แต่ยังสูงกว่าคาดการณ์ ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดว่าจะปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 16 ตุลาคม 

  • รัฐบาลจีนประกาศมาตรการการคลังรอบใหม่ โดยประกาศว่าจะ "เพิ่มระดับหนี้สาธารณะอย่างมีนัยสำคัญ" เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัว แต่ไม่ระบุขนาดโดยรวมของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมระบุว่าจะช่วยรัฐบาลท้องถิ่นแก้ไขปัญหาหนี้สิน เสนอเงินอุดหนุนให้กับผู้มีรายได้น้อย สนับสนุนตลาดอสังหาริมทรัพย์ และเพิ่มทุนให้ธนาคารของรัฐ รวมถึงมาตรการอื่นๆ

  • เรามองว่า จีนเสี่ยงที่จะเข้าสู่สถานการณ์ “ทศวรรษที่หายไป” (Loss decade) เช่นเดียวกับที่ญี่ปุ่นเคยเป็น (Japanification) เนื่องจากทั้งจีนในปัจจุบันและญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษ 1990 เหมือนกันหลายประการ คือ (1) สังคมสูงวัย (2) เผชิญวิกฤตอสังหาฯ (3) เข้าสู่กับดักเงินฝืด (4) ผ่อนคลายนโยบายการเงินช้าเกินไป (5) หันมามุ่งเน้นนโยบายการคลังมากขึ้น และ (6) มุ่งเน้นเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมสำคัญ (เช่น ยานยนต์) เรามองว่าการผ่อนคลายมาตรการการเงินการคลังครั้งใหญ่ครั้งนี้จึงเป็นจุดเปลี่ยนเชิงนโยบายที่สำคัญ แต่ยังเป็นสิ่งที่ท้าทาย เนื่องจาก (1) เม็ดเงินที่กระตุ้นอาจไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นความต้องการอย่างยั่งยืน เนื่องจากหนี้ประชาชาติที่สูง (2) เป็นการกระตุ้นในช่วงที่ประเทศพัฒนาแล้วเริ่มชะลอตัวลง และ  (3) จีนยังเผชิญกับภาวะสงครามเย็นจากชาติตะวันตก

  • เงินเฟ้อของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. 2024 ชะลอลง แต่ยังสูงเกินคาด: CPI ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี แต่ชะลอตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ โดยเพิ่มขึ้น 2.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน สูงกว่าคาดที่ 2.3% ด้านดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐฯ ไม่เปลี่ยนแปลงในเดือน ก.ย. (จาก 0.2% ต่อเดือนในเดือน ส.ค.) เนื่องจากราคาน้ำมันเบนซินลดลง และเพิ่มขึ้น 1.8% ต่อปี น้อยที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.

  • เรามองว่า เงินเฟ้อสหรัฐระยะต่อไปไม่น่าเป็นห่วงจาก (1) ราคาน้ำมันสำเร็จรูปสหรัฐยังอยู่ในแนวโน้มขาลง ขณะที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดพุ่งขึ้นบ้างแต่ปัจจุบันเริ่มลดลง (2) ราคาบ้านมีแนวโน้มชะลอลง Case-Shilier ขยายตัวชะลอลง สอดคล้องกับเงินเฟ้อจาก Housing cost ที่เป็นองค์ประกอบเงินเฟ้อใหญ่ (3) ค่าจ้างมีแนวโน้มชะลอลง ปัจจุบัน (เดือน ก.ย.) average weekly earning อยู่ที่ 3.4% ชะลอต่อเนื่อง (4) ตัวเลขขอรับสวัสดิการ พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 14 เดือน (แม้จะมี่ผลจาก Hurricane ก็ตาม) บ่งชี้ถึงความเปราะบางด้านตลาดแรงงานสหรัฐที่มากขึ้น

  • ทิศทางนโยบายการเงินไทย เราคาดธปท. ปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 16 ต.ค. จาก (1) แรงกดดันเงินเฟ้อลดลงมากทั้งจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และเงินเฟ้อผู้ผลิตที่หดตัวจากสินค้าขั้นกลาง (2) เศรษฐกิจในปัจจุบันที่เปราะบาง โดยชะลอลงในเดือน ส.ค. GDPnow ลดลงสู่ระดับ 2.5% ขณะที่ PMI โลกล่าสุดเริ่มเข้าสู่ Late-Cycle อาจทำให้การส่งออกไทยใน 3-6 เดือนข้างหน้าชะลอลง และ (3) สภาพคล่องทางการเงินตึงตัวรุนแรงที่สุดในรอบ 16 ปี โดยดัชนี INVX’s Financial Condition Index (FCI) เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 16 ปี โดย 3 ใน 4 ขององค์ประกอบ FCI ตึงตัวเกิน 1 S.D. ทั้งนี้ การลดดอกเบี้ยจะทำให้ FCI บรรเทาความตึงตัวได้
Author
Slide3
ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์

หัวหน้านักวิจัยเศรษฐกิจ

Most Read
1/5
Related Articles
Most Read
1/5