ผลิตภัณฑ์

  1. หุ้น เป็นหุ้นส่วนบริษัท ด้วยเงินหลักร้อย
  2. กองทุน เปิดพอร์ตแบบอีซี่.. มีมืออาชีพคอยดูแลให้
  3. Intelligent Portfolios เปิดโหมดอัตโนมัติสำหรับดูแลการลงทุน
  4. สินทรัพย์ดิจิทัล การลงทุนบนสินทรัพย์แห่งอนาคต
  5. ตราสารหนี้และหุ้นกู้ ลงทุนเพื่อผลตอบแทนระยะยาว
  6. ตราสารอนุพันธ์ มองการณ์ไกล ด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
  7. บริการยืมและให้ยืมสินทรัพย์ ปล่อยเช่า-ขอยืมหุ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุน
  8. กองทุนส่วนบุคคล มีผู้จัดการช่วยให้การลงทุนของคุณง่ายขึ้น
  9. คู่มือการใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา

แหล่งความรู้ด้านการลงทุน

  1. เริ่มลงทุนก้าวแรก เริ่มลงทุนก้าวแรก
  2. ลงทุนตามสินทรัพย์ ลงทุนตามสินทรัพย์
  3. บทวิเคราะห์การลงทุน บทวิเคราะห์การลงทุน
  4. แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน

ข่าวสารและโปรโมชัน

  1. โปรโมชันและสิทธิพิเศษเพื่อคุณ
  2. อัปเดตข่าวสาร
  3. ประกาศ
  4. Point to invest
  5. INVX Point​
scbs image

โปรโมชันและสิทธิพิเศษ

พิเศษสำหรับลูกค้า Innovestx เท่านั้นใช้พอยต์แลกกองทุนรวมที่โดนใจ

ดูเพิ่มเติม

เกี่ยวกับเรา

  1. เกี่ยวกับเรา ร่วมเติบโตอย่างยั่งยืนไปกับเรา InnovestX
  2. ร่วมงานกับเรา ก้าวไปข้างหน้าแบบมีสไตล์
ค้นหาล่าสุด
เคลียร์
{{GetHitSearchValue.keywordTitle}}

ครบจบ! เรียนมหาลัยลงทุนอะไรดี อยู่มัธยมลงทุนได้อย่างไร?

blog_list_heading
04 ส.ค. 2566;
2340
แชร์บทความนี้
test_blog_details_img

เนื้อหาโดยรวม

    เรียนมหาลัยลงทุนอะไรดี เรียนมัธยมลงทุนได้อย่างไร ไขข้อสงสัยกับวิธีวางแผนลงทุนให้เหมาะกับวัยเรียน ไม่รู้จะลงทุนอะไรดี เป็นนักเรียน นักศึกษาลงทุนได้ไหม อ่านต่อ

โลกของการลงทุนนั้นกว้างใหญ่เกินกว่าที่จะจำกัดอยู่เพียงแค่วัยทำงาน แต่คนวัยเรียนอย่างนักเรียนและนักศึกษาเองก็สามารถวางแผนการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนได้เช่นกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการปูทางไปสู่เป้าหมายที่ต้องการในชีวิต และมีอิสรภาพทางการเงินที่ปรารถนา ไปจนถึงการสร้างรากฐานทางการเงินที่มั่นคงตั้งแต่ในวันที่ยังเรียนอยู่

เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ น้อง ๆ หลายคนคงสงสัยอยู่ไม่น้อยว่า เรียนมหาลัยลงทุนอะไรดี เป็นนักเรียน-นักศึกษาควรวางแผนการลงทุนอย่างไรให้ตอบโจทย์ความต้องการและสร้างผลตอบแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาไขทุกข้อสงสัยได้ในบทความนี้กัน

เรียนมหาลัยลงทุนอะไรดี

ทำไมถึงควรเริ่มต้นลงทุนตั้งแต่สมัยเรียน?

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า โลกของการลงทุนมาพร้อมกับความเสี่ยงจากหลากหลายด้านที่ต้องอาศัยทั้ง ‘ความเข้าใจ’ รายละเอียดของสินทรัพย์การลงทุนและ ‘ประสบการณ์’ ในการคิดวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ในตลาดการลงทุน รวมไปถึง ‘เวลา’ ในการติดตามข่าวสารและทิศทางการลงทุนอย่างรอบด้านเพื่อวางแผนซื้อสินทรัพย์การลงทุนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา

อย่างไรก็ดี ถึงการลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่การไม่เริ่มลงทุนเลยกลับเป็นการตัดสินใจที่มีความเสี่ยงยิ่งกว่า เนื่องจากการลงทุนสามารถช่วยต่อยอดเงินเก็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อสร้างผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอและทบต้นไปเรื่อย ๆ ก็สามารถสร้างอิสระทางการได้เช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ การเริ่มต้นลงทุนตั้งแต่ในวัยเรียนจะสามารถช่วยปูพื้นฐานการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการสั่งสมประสบการณ์ในตลาดการลงทุนจนเข้าใจวิธีเลือกสินทรัพย์และสามารถบริหารความเสี่ยงในการลงทุนที่เหมาะสม ทำให้สร้างผลตอบแทนที่นำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

นอกจากนี้ การเริ่มลงทุนตั้งแต่สมัยเรียนยังช่วยสร้างวินัยทางการเงินได้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะต้องบริหารจัดการเงินมาลงทุนแล้ว น้อง ๆ นักเรียน-นักศึกษายังต้องวางแผนการเงินที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงจนขาดทุน และส่งผลกระทบต่อเงินเก็บ เงินค่าขนม หรือ เงินสำหรับเป้าหมายอื่น ๆ อีกด้วย

ส่วนข้อสำคัญที่เป็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนมากที่สุด การเริ่มต้นลงทุนตั้งแต่สมัยเรียนยังถือเป็นการสร้างรายได้เสริมเพื่อเป็นเงินสำหรับใช้จ่าย เงินเก็บ ตลอดจนเป็นเงินสำรองไว้ใช้เมื่อเข้าสู่วัยทำงาน ทำให้ช่วยลดภาระและความกังวลใจของคุณพ่อคุณแม่ได้ พร้อมช่วยวางรากฐานทางการเงินที่แข็งแรงก่อนเริ่มหารายได้จากการทำงานอีกด้วย

3 ขั้นตอนเตรียมตัวก่อนเริ่มลงทุนให้ตอบโจทย์

ก่อนที่จะไปดูว่า เรียนมหาลัยลงทุนอะไรดี เป็นนักเรียน-นักศึกษาเลือกสินทรัพย์การลงทุนตัวไหนให้เหมาะสม หรือยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มวางแผนการลงทุนอย่างไรให้ตอบโจทย์ ลองมาเตรียมความพร้อมกับ 3 ขั้นตอนที่จะช่วยให้คนวัยเรียนเริ่มต้นลงทุนได้อย่างเหมาะสมและเป็นระบบกัน

1. กำหนดเป้าหมายการลงทุนเบื้องต้น

น้อง ๆ หลายคนมักเข้าใจว่า การลงทุนที่ประสบความสำเร็จ คือ การเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนสูง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความสำเร็จที่แท้จริงของการลงทุนต้องเริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมายการลงทุนที่เหมาะสม เพื่อนำไปสู่การประเมินความเสี่ยงที่รับไหว ไปจนถึงการเลือกสินทรัพย์การลงทุนที่ตอบโจทย์ความต้องการ

สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่ยังไม่มีไอเดียว่า ควรจะกำหนดเป้าหมายการลงทุนอย่างไรให้เหมาะสม ลองมาพิจารณาและสร้างเป้าหมายตามหลักการกำหนดเป้าหมายการเงินระดับโลกที่เรียกว่า S.M.A.R.T หากไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร ลองมาพิจารณาตามตารางดังนี้

ตัวอักษรย่อ ความหมาย ตัวอย่างการกำหนดรายละเอียด
S Specific
ชัดเจน
ต้องการเก็บเงินเพื่อไปเที่ยวยุโรป เป็นทริปเรียนจบก่อนเริ่มทำงาน
M Measurable
วัดผลได้
ทริปเที่ยวยุโรป 5 วัน ใช้งบประมาณ 110,000 บาท รวมตั๋วเครื่องบินและที่พัก
A Achievable
ทำสำเร็จได้
แบ่งเงินค่าขนมออกเป็น 4 กอง เช่น
- 20% สำหรับเงินเก็บ
- 20% สำหรับลงทุน ลงทุนแบบ DCA ในกองทุนรวมความเสี่ยงต่ำ-ปานกลาง
- 50% สำหรับใช้จ่ายด้านการดำรงชีวิต
- 10% สำหรับอุปกรณ์การเรียน / ของที่อยากได้
R Realistic
อยู่บนหลักความจริง
ทางบ้านให้ค่าขนมเดือนละ 9,000 บาท ปัจจุบันทำงานพาร์ทไทม์ให้กับร้านอาหารแถวมหาวิทยาลัย มีรายได้อยู่ที่เดือนละ 3,000 บาท ทำให้มีรายรับอยู่ที่เดือนละ 12,000 บาท
 
อาหารรอบมหาวิทยาลัยเฉลี่ยอยู่ที่มื้อละ 60 บาท โดยเฉลี่ยค่าอาหารจะอยู่ที่เดือนละ 5,400 บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายด้านหอพักและค่าสาธารณูปโภคทางบ้านเป็นผู้รับผิดชอบ
 
จากเงื่อนไขด้านการเงินดังกล่าว ทำให้สามารถแบ่งเงินไปลงทุนได้โดยไม่ทำให้เป็นทุกข์ หรือ ต้องอดมื้อกินมื้อ
T Time-Bound
มีกำหนดเวลาที่ชัดเจน
- กำหนดเวลาเก็บเงินและลงทุนเอาไว้ที่ 4 ปี หรือ 48 เดือน
- เลือกลงทุนในกองทุนผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ย 1.5% ต่อปี
- หากเป็นไปตามคาดจะมีเงินเก็บ 115,200 บาท และสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนรวมต้นทุนได้ 118,649.78 บาท ซึ่งเพียงพอต่อทริปยุโรปที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้

 

2. บริหารจัดการเงินอย่างเหมาะสม

ไม่เพียงแต่จะต้องกำหนดเป้าหมายการลงทุนที่ชัดเจนเท่านั้น แต่น้อง ๆ นักเรียนและนักศึกษาทุกคนยังควรวางแผนการเงินให้รอบคอบ ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนด้วย

ลองคิดดูง่าย ๆ หากลงทุนแล้วเกิดขาดทุนขึ้นมา ถ้าผลตอบแทนยังเสมอตัวอยู่ในพอร์ตก็อาจจะยังไม่มีปัญหา แต่เมื่อใดที่พอร์ตการลงทุนเริ่มติดลบจำนวนมากขึ้นมา เมื่อนั้นสภาพคล่องทางการเงินด้านอื่นก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเงินเก็บออกมาหมุนเวียน ไปจนถึงการนำเงินสำหรับเป้าหมายอื่น ๆ ออกมาใช้จ่าย

โดยขั้นพื้นฐานแล้ว น้อง ๆ ทุกคนควรแบ่งเงินค่าขนมออกมาอย่างน้อย 5% - 10% เพื่อเป็นเงินเก็บสำรองสำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน หรือ เก็บไว้เป็นทุนสำรองเมื่อเข้าสู่วัยทำงาน จากนั้นจึงกำหนดสัดส่วนเงินสำหรับการลงทุนที่ไม่ทำให้รู้สึกเดือดร้อน เช่น กำหนดเงินลงทุน 1,000 บาททุกเดือน หรือ จะกำหนดเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ก็ได้เช่นกัน

3. เตรียมตัวเปิดพอร์ตการลงทุนให้พร้อม

สำหรับใครที่กำหนดเป้าหมายและวางแผนการลงทุนเรียบร้อย ขั้นตอนสุดท้ายที่อยากให้เตรียมตัวให้ดี คือ การศึกษาเงื่อนไขในการเปิดพอร์ตลงทุนออนไลน์ หรือ พอร์ตลงทุนกับสถาบันการเงินที่สนใจ

โดยทั่วไปแล้ว นักลงทุนจะสามารถเปิดพอร์ตลงทุนได้ตั้งแต่อายุ 20 ปีบริบูรณ์เป็นต้นไป

ลงทุนอะไรดี ฉบับนักเรียน


3 สินทรัพย์น่าลงทุนฉบับคนวัยเรียน

สำหรับน้อง ๆ ที่สงสัยว่า เรียนมหาลัยลงทุนอะไรดี หรือยังอยู่มัธยมควรลงทุนในสินทรัพย์ตัวไหนถึงจะเหมาะ ขอแนะนำให้พิจารณาถึงสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงระดับต่ำ - ปานกลางดูก่อน และเมื่อประสบการณ์การลงทุนเพิ่มมากขึ้นแล้ว จึงค่อยเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อไป หากยังไม่แน่ใจว่าจะลงทุนอะไรดีในขณะที่เป็นนักเรียน ลองมาเริ่มต้นกับ 3 สินทรัพย์ ดังนี้

1. กองทุนรวม

กองทุนรวมเป็นสินทรัพย์การลงทุนที่มีระดับความเสี่ยงให้เลือกตั้งแต่ 1 - 8 เปิดโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ทั้งตลาดการลงทุนไทยและต่างประเทศ โดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เป็นผู้ช่วยดูแลเรื่องประสิทธิภาพในการสร้างผลตอบแทนของกองทุน นอกจากนี้ ทุกคนยังสามารถเริ่มต้นลงทุนได้ง่าย ๆ ด้วยต้นทุนที่ไม่สูงมาก ทั้งยังปรับใช้ได้กับกลยุทธ์การลงทุนที่หลากหลายอีกด้วย

แต่ก่อนจะเริ่มลงทุนกองทุนรวมทุกครั้ง อย่าลืมเช็ก Fund Fact Sheet ความน่าเชื่อถือของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไปจนถึงประสิทธิภาพของตลาดและสินทรัพย์ที่กองทุนรวมไปร่วมลงทุนด้วย

2. หุ้น

หลายคนมักเข้าใจว่า หุ้นเป็นสินทรัพย์การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง แต่ในความเป็นจริงแล้ว หุ้นมีความเสี่ยงที่หลากหลาย ทำให้สามารถเลือกลงทุนได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ

อย่างไรก็ดี สำหรับมือใหม่ที่ต้องการเริ่มลงทุนหุ้น ขอแนะนำให้พิจารณาถึงผลประกอบการของกิจการ ตลอดจนความมั่นคงของธุรกิจและโอกาสเติบโตในอนาคต หากยังไม่มีประสบการณ์การลงทุน พยายามอย่าเพิ่งเลือกลงทุนกับหุ้นบริษัทใหม่ หรือ หุ้นที่มีราคาซื้อขายผันผวนมาก เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงให้กับการลงทุนได้

3. ทองคำ

ทองคำเป็นหนึ่งในสินทรัพย์การลงทุนที่ได้รับความนิยมตลอดกาล เนื่องจากสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดเพื่อเสริมสภาพคล่องได้อย่างสะดวก ที่สำคัญ ทองคำยังสามารถซื้อเก็บไว้เป็นมรดกและเก็งกำไรได้ในอนาคต ทั้งนี้มีราคาสวนทางกับเศรษฐกิจ ซึ่งหากเข้าสู่ช่วงภาวะเงินเฟ้อเมื่อไหร่ ราคาทองคำก็จะปรับตัวสูงขึ้น

นักเรียนและนักศึกษาสามารถเลือกลงทุนทองคำได้ตั้งแต่การซื้อทองคำแท่งและทองรูปพรรณมาเก็บไว้ หรือ เลือกสะสมเงินผ่านการออมทองกับร้านทองที่มีความน่าเชื่อถือ เปิดกิจการมานาน ที่สามารถตรวจสอบได้

เท่านี้ก็หมดสงสัยเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่า เรียนมหาลัยลงทุนอะไรดี ตลอดจนเข้าใจเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่า วัยเรียนควรวางแผนการลงทุนอย่างไรให้ตอบโจทย์

แม้จะดูเป็นเรื่องไกลตัวและเต็มไปด้วยความเสี่ยง แต่น้อง ๆ นักเรียนนักศึกษาที่สนใจด้านการลงทุน ก็สามารถนำเคล็ดลับที่นำมาฝากเหล่านี้ไปปรับใช้กันได้ ตลอดจนสามารถศึกษาจากบทความด้านการลงทุนต่าง ๆ จากสถาบันการเงินชั้นนำเพื่อสร้างพื้นฐานความเข้าใจที่จำเป็นต่อวิชาการเงินและการลงทุนในการเรียนในห้อง อีกทั้งยังช่วยให้มีความรู้ ว่าควรเลือกลงทุนแบบไหนที่มีความเสี่ยงต่ำหรือสูง โดยน้อง ๆ อาจเลือกลงทุนกับกองทุนรวมความเสี่ยงระดับ 1 - 4 ก่อน จากนั้นจึงค่อยเริ่มลงทุนในหุ้น ทองคำ และกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เพื่อสร้างผลตอบแทนที่มีประสิทธิภาพบนความเสี่ยงที่สามารถบริหารจัดการได้

สำหรับนักเรียน-นักศึกษาคนไหนที่ต้องการเริ่มต้นลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากศึกษาความรู้รอบตัวมาอย่างรอบด้าน ทั้งจากคอลัมน์การลงทุนและบทความการลงทุนจาก InnovestX แล้ว อย่าลืมนำความรู้ที่ได้ศึกษามา ไปปรับใช้เพื่อฝึกประสบการณ์การลงทุนให้แข็งแกร่ง โดยสามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ ผ่านแอป InnovestX ที่น้อง ๆ สามารถเปิดพอร์ตออนไลน์ และเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย ครอบคลุมทุกจักรวาลการลงทุน เพื่อนักลงทุนทุกระดับ ใช้งานสะดวกใน 4 ขั้นตอน ดาวน์โหลดได้ฟรีทั้งระบบ iOS และ Android

 

หัวข้ออื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
กลับด้านบน