Event Play

กองทุน AFMOAT-HA กองทุนหุ้นสหรัฐฯ คุณภาพดี มีปราการ

18 Oct 24 9:40 AM
Wealth_Idea_Thumbnail-18_r
Key Summary

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น โดยภาพรวมตลาดการลงทุนค่อนข้างอยู่ในเชิงบวก โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ค่อนข้างแข็งแกร่ง และวัฏจักรดอกเบี้ยขาลงช่วยหนุนหุ้นขึ้นต่อ อีกทั้ง ผลประกอบการไตรมาส 3 มีแนวโน้มออกมาดีกว่าคาดการณ์ หลังนักวิเคราะห์มีความคาดหวังต่ำต่ออัตราการเติบโตในไตรมาสนี้ นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กำลังเข้าสู่ช่วงที่ดีที่สุดของปี จากสถิติในอดีต ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มักปรับตัวขึ้นโดดเด่นในช่วงหลังจากต.ค. ไปจนถึงช่วงสิ้นปี

  • Great Backdrop for Investing: เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังเติบโตแกร่ง และวัฏจักรดอกเบี้ยขาลงของ FED ช่วยหนุนหุ้นให้ปรับตัวขึ้นต่อ
  • Q4 is The Best Seasonality: จากสถิติในอดีต ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มักปรับตัวขึ้นโดดเด่นในช่วงหลังจากต.ค. ไปจนถึงช่วงสิ้นปี
  • Broadening: การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นเริ่มกระจายตัวออกจากหุ้นขนาดใหญ่ไปยังกลุ่มอื่นมากขึ้น สะท้อนความแข็งแกร่งของตลาดหุ้นขาขึ้น โดยหุ้นกลุ่มที่มี Valuation ตึงตัวน้อยและไม่ใช่หุ้นขนาดใหญ่มาก (Non-Mega Cap) ทำผลตอบแทนได้ดี
  • Technical: ดัชนีราคาเคลื่อนไหวเหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 50 และ 200 วัน สะท้อนถึงภาวะตลาดขาขึ้น
  • แนะนำกองทุน: AFMOAT-HA
  • แนะนำกองทุนทางเลือก: KKP EWUS500-UH

[Event play คือ กลยุทธ์ลงทุนตามปัจจัยสนับสนุนระยะสั้น ด้วยสัญญาณ Technical และ Market Sentiment มี Catalyst สนับสนุน]

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดต่อเนื่อง โดยการปรับตัวขึ้นเป็นไปในลักษณะของการกระจายตัวเป็นวงกว้าง (Broadening) มากขึ้น สะท้อนภาวะตลาดหุ้นขาขึ้นที่แข็งแกร่ง (Healthy Bull Market) โดยหุ้นที่มูลค่าไม่แพงหรือมีความตึงตัวน้อย และหุ้นกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่ใช่หุ้นขนาดใหญ่มาก (Non-Mega Cap) มีโอกาสที่จะสร้างผลตอบแทนได้โดดเด่น เรามองว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีโอกาสฟื้นตัวต่อ หลังสภาวะการลงทุนค่อนข้างเอื้ออำนวย โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังส่งสัญญาณขยายตัวต่อทำให้ความกังวลภาวะ Recession ลดลงต่อเนื่อง ประกอบกับวัฏจักรดอกเบี้ยขาลงช่วยหนุนภาวะทางการเงินให้ผ่อนคลายเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อการลงทุนในระยะข้างหน้า อีกทั้ง ตามสถิติในอดีต ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มักทำผลตอบแทนได้โดดเด่นในช่วงหลังจากเดือนต.ค. ไปจนถึงช่วงสิ้นปี ทำให้เรามองเป็นจังหวะการเข้าลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ โดยผลประกอบการไตรมาส 3 ที่ทยอยประกาศออกมา มีแนวโน้มที่จะทยอยออกมาสูงกว่าคาดการณ์ ซึ่งจะเป็นอีกแรงหนุนต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยเรามีความชื่นชอบการลงทุนในลักษณะ Equal Weight โดยเน้นไปยังหุ้นคุณภาพดี เพื่อลดความเสี่ยงจากการกระจุกตัวในหุ้นขนาดใหญ่ อีกทั้ง เน้นการลงทุนหุ้นคุณภาพดีเป็นซึ่งมีข้อได้เปรียบทางธุรกิจและมีการเติบโตที่ยั่งยืน ส่งผลให้หุ้นประเภทนี้ มีความทนทานต่อทุกสภาวะการลงทุน

 

Great Backdrop for Investing

  • เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังส่งสัญญาณแข็งแกร่งและขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ (Nonfarm Payrolls) ที่ยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง และการคาดการณ์ GDP สหรัฐฯ ไตรมาส 3 ผ่าน Atlanta FED GDPNow ขยายตัวสูงกว่าระดับ 3% ส่งผลให้ความกังวลภาวะ Recession คลี่คลาย
  • วัฏจักรดอกเบี้ยขาลงของ FED ช่วยหนุนภาวะทางการเงินให้มีความผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งจากสถิติในอดีต ในช่วงดอกเบี้ยขาลง และเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่เผชิญกับภาวะ Recession ตลาดหุ้นสามารถปรับตัวขึ้นได้โดดเด่น
  • ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนของสหรัฐฯ ในไตรมาส 3 มีแนวโน้มออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ หลังนักวิเคราะห์มีความคาดหวังในการเติบโตของกำไรที่ไม่ได้สูงเมื่อเทียบกับในช่วงไตรมาส 1 และ 2 ที่ผ่านมา

 

01.jpg

 

02.jpg

 

Q4 is The Best Seasonality

  • จากสถิติในอดีตย้อนหลัง 20 ปี พบว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ มักปรับตัวขึ้นได้โดดเด่นในช่วงกลางเดือน ต.ค. ถึง ช่วงสิ้นปี โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 5% ทำให้เป็นโอกาสที่ดีในการเข้าลงทุน

 

03.jpg

 

Broadening

  • การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯ กระจายตัวเป็นวงกว้าง (Broadening) มากขึ้น โดยหุ้นกลุ่มที่มี Valuation ตึงตัวน้อยและไม่ใช่หุ้นขนาดใหญ่มาก (Non-Mega Cap) ทำผลตอบแทนได้ดี
  • เรามองว่าลักษณะการปรับตัวขึ้นแบบ Broadening จะดำเนินต่อไป จากการเติบโตของกำไรโดยรวมดูดีขึ้น โดยหุ้นกลุ่มที่ Valuation ตึงตัวน้อยกว่ามีโอกาสทำผลตอบแทนได้โดดเด่นกว่า (Outperform) เมื่อเทียบกับหุ้นที่มี Valuation ตึงตัวในระยะข้างหน้า
  • โดยเรามีความชื่นชอบการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในลักษณะการลงทุนที่เป็นแบบ Equal Weight มากกว่า Market Weight เนื่องจากเป็นการกระจายความเสี่ยงจากการกระจุกตัวในหุ้นขนาดใหญ่ และได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของกำไรแบบวงกว้าง อีกทั้ง Valuation ในดัชนี S&P 500 Equal Weight มีความตึงตัวน้อยกว่าดัชนี S&P 500 ทำให้มีโอกาสในการปรับตัวขึ้นได้มากกว่า

 

04.jpg

 

05.jpg

 

06.jpg

 

Technical analysis

ในด้านแนวโน้มราคาสะท้อนผ่านดัชนี Morningstar Wide Moat Focus ซึ่งเป็นตัวแทนของหุ้นสหรัฐฯ คุณภาพดีในลักษณะแบบ Equal Weight ยังเป็นเทรนด์ขาขึ้น โดยราคาสามารถทำจุดสูงสุดใหม่ได้ต่อเนื่อง และราคาเคลื่อนไหวอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 50 และ 200 วัน บ่งชี้ถึงสภาวะขาขึ้นและราคามีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อ เรามองเป้าหมายดัชนีที่บริเวณ 23,500 – 24,000 จุด

 

07.jpg



กองทุนแนะนำ: AFMOAT-HA

จากข้อมูล Universe กองทุนหุ้นสหรัฐฯ ของทาง InnovestX Wealth Products & Strategy กองทุนหุ้นสหรัฐฯ ที่เป็นกลุ่ม General (Quality) จะมีทั้งหมด 7 กองทุน รายละเอียดดังนี้

08.jpg

 

แนวทางที่ InnovestX Wealth Products & Strategy คัดเลือกกองทุน AFMOAT-HA

  1. ทาง InnovestX Wealth Products & Strategy คัดเลือกกองทุน AFMOAT-HA เนื่องจากเป็นกองทุนที่ตอบโจทย์กลยุทธ์ของทางทีม InnovestX Products & Strategy ในการ Trading หุ้นสหรัฐฯ ขนาดใหญ่ที่มีคุณภาพ
  2. กองทุนมีหุ้นขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักในกลุ่มของ MAG7 น้อยกว่ากองทุนอื่น และมีลักษณะของพอร์ตการลงทุนที่เป็นการกระจายการลงทุนแบบ Equal-weighted หรือให้น้ำหนักของหุ้นรายตัวในน้ำหนักที่เท่าๆ กัน หรือเป็นการให้ความสำคัญกับขนาดของหุ้นขนาดใหญ่มาก (Mega Cap) น้อยกว่าดัชนีอ้างอิงส่วนใหญ่ที่ค่อนข้างมีน้ำหนักอิงกับมูลค่าของหุ้น
  3. พอร์ตการลงทุนปัจจุบันของกองทุนหลักมีหุ้นกลุ่ม MAG7 เพียง 3.7% (as of 30 Sep 2024)

 

สรุปจุดเด่นของกองทุนและกองทุนหลัก VanEck Morningstar Wide Moat ETF (MOAT)

  1. กองทุน AFMOAT-HA เน้นลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ที่มี Wide-Moat ผ่านกองทุนหลัก VanEck Morningstar Wide Moat ETF (MOAT) มีประวัติการจัดตั้งตั้งแต่ปี 2012
  2. กองทุนหลัก MOAT ลงทุนแบบเชิงรับ (Passive) โดยมุ่งหวังให้ผลประกอบการของกองทุนเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับดัชนี Morningstar® Wide Moat Focus Index
  3. การลงทุนใน MOAT คือการลงทุนในบริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง และมีความสามารถรักษาผลกำไรส่วนเกินในระยะยาวได้
  4. ดัชนีอ้างอิงมีแนวทางการสร้างพอร์ต โดยจะเลือกลงทุนในหุ้นที่มี Wide Moat และ Price to Fair Value Ratio ต่ำที่สุด 40 อันดับแรก
  5. ใช้กระบวนการปรับเปลี่ยนพอร์ตแบบ Staggered Reconstitution ซึ่งสามารถช่วยลด Turnover ลงได้มากถึง 50% เมื่อเทียบกับการปรับเปลี่ยนพอร์ตรูปแบบอื่น
  6. ปัจจุบัน (30 Sep 2024) มีการลงทุนอยู่ในหุ้นราว 55 ตัว และมีสัดส่วนของหุ้นในกลุ่ม MAG7 เพียง 3.7%
  7. กลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่มีการลงทุน ได้แก่ Industrials, Health Care, Information Technology, Consumer Staples และ Financials
  8. ตัวอย่างหุ้นที่มีการลงทุนอยู่ ได้แก่ Transunion บริษัทที่ให้บริการข้อมูลเครดิตและการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน, Gilead Sciences Inc บริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ที่เชี่ยวชาญในการพัฒนาและผลิตยาเพื่อรักษาโรคติดเชื้อ, Bristol-Myers Squibb Co บริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ที่เชี่ยวชาญในการวิจัยและพัฒนายาเพื่อรักษาโรคต่างๆ, Autodesk Inc บริษัทซอฟต์แวร์ที่เชี่ยวชาญในการพัฒนาโปรแกรมซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบ และ Marketaxess Holdings Inc บริษัทที่ให้บริการแพลตฟอร์มการซื้อขายตราสารหนี้แบบอิเล็กทรอนิกส์
  9. ผลการดำเนินงานในช่วง 3 เดือน กองทุนหลักสร้างผลตอบแทน 11.9% เทียบกับดัชนี S&P500 ที่สร้างผลตอบแทน 5.9%
  10. ผลการดำเนินงานรายปีปฏิทิน 5 ปีย้อนหลัง (ปี 2019-2023) กองทุนหลักสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ 4% เทียบกับดัชนี S&P500 ที่สร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ 17.4%

 

กองทุนเอ เอฟ ยูเอส ไวด์ โมท เฮดจ์ (AFMOAT-HA) เป็นกองทุนรวมหุ้นสหรัฐฯ ที่เน้นลงทุนในกลุ่มธุรกิจที่มีคุณภาพสูงที่มีมูลค่าเหมาะสม และมี Moat ผ่านกองทุนหลัก VanEck Morningstar Wide Moat ETF ซึ่งมีเป้าหมายการลงทุนแบบเชิงรับ (passive) โดยมุ่งหวังให้ผลประกอบการของกองทุนก่อนหักค่าใช้จ่ายเคลื่อนไหวสอดคล้องไปกับดัชนี Morningstar® Wide Moat Focus Index

Moat คือ คุณสมบัติทางโครงสร้างที่ช่วยให้บริษัทสามารถรักษาผลกำไรส่วนเกินในระยะยาวได้ โดยกำไรส่วนเกินนี้มาจากผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on invested capital, “ROIC”) ที่สูงกว่าค่าใช้จ่ายทุนโดยเฉลี่ย (WACC) หากบริษัทไม่มี Moat สะท้อนว่ากำไรส่วนเกินที่บริษัทสร้างได้มีแนวโน้มที่จะถูกบริษัทอื่นเข้ามาแก่งแย่งหรือแข่งขันช่วงชิงส่วนนี้ได้ง่าย

โดย Morningstar เชื่อว่าบริษัทที่มี Wide-moat คือบริษัทที่มีแนวโน้มที่จะมีกำไรส่วนเกินไปอย่างน้อยอีก 20 ปี และยิ่งบริษัทสร้างกำไรทางเศรษฐกิจได้นานเท่าไหร่ มูลค่าในตัวของบริษัทก็จะยิ่งสูงขึ้น

ทั้งนี้ Morningstar จะแบ่งการประเมิน Moat จาก 5 ปัจจัย ประกอบด้วย

  • Intangible Assets เช่น แบรนด์ที่แข็งแกร่ง หรือทรัพย์สินทางปัญญา ที่ทำให้บริษัทมีความสามารถในการตั้งราคาสูง
  • Switching Costs สูง ซึ่งจะส่งผลให้การเปลี่ยนไปใช้แบรนด์ใหม่ หรือสินค้าทดแทนอื่น ๆ ทำได้ยากขึ้น
  • Network Effect ที่เกิดขึ้นเมื่อบริษัทได้รับผลประโยชน์จากการมีเครือข่ายผู้ใช้งานที่แข็งแกร่ง
  • Cost Advantage หรือการที่บริษัทสามารถตั้งราคาได้เทียบเท่ากับคู่แข่งแต่ยังสามารถมีผลกำไรที่ดีได้ จากการมีต้นทุนที่ต่ำกว่า
  • Efficient Scale หรือการที่ผู้เล่นเดิมมีความได้เปรียบจากการมีกำลังการผลิตขนาดใหญ่ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่า ซึ่งอาจทำให้อุตสาหกรรมมีกำแพงที่จะป้องกันไม่ให้มีคู่แข่งหน้าใหม่

 

นอกเหนือ 5 ปัจจัยข้างต้นแล้ว ทาง Morningstar ยังจะมีการพิจารณาต่อปัจจัยที่อาจกระทบและทำลาย Moat ในอนาคต เช่น ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ ESG, การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม สถานะทางการเงิน หรือปัญหาเฉพาะตัวของบริษัท และทาง Morningstar จะมีการวิเคราะห์ Moat trend เพื่อคอยประเมินแนวโน้มความยั่งยืนของ Moat บริษัทที่มีอยู่ในปัจจุบัน และท้ายที่สุดเป็นการให้คะแนนหรือการกำหนด Moat Rating ของบริษัทต่างๆ เพื่อใช้ในการพิจารณาบริษัทที่เข้าเกณฑ์ในการถูกคัดเลือกเข้าลงทุนในดัชนี

 

หลังจากที่ได้บริษัทที่มี Wide-moat ก็จะมีการกรองด้าน Valuation หรือระดับราคาที่น่าสนใจผ่านการคาดการณ์กระแสเงินสดของบริษัทในอนาคต เพื่อทำการ Ranking บริษัทตาม Price to Fair Value Ratio โดยจะเข้าลงทุนในหุ้น 40 อันดับแรกที่มี Price to Fair Value Ratio ต่ำสุด

 

ในแง่ของการเพิ่มและถอดหุ้นรวมถึงการปรับน้ำหนักหุ้นที่อยู่ในดัชนีอ้างอิงที่กองทุนหลักมีการลงทุนตามนั้น ทาง Morningstar จะมีกระบวนการที่เรียกว่า “Staggered Reconstitution” โดยเริ่มจากการแบ่งดัชนีออกเป็น 2 พอร์ตย่อยที่มีหน้าตาเหมือนกันทุกประการและมีน้ำหนักเท่ากันที่พอร์ตละ 50% จากนั้นจึงทำการปรับเปลี่ยนหุ้นในแต่ละพอร์ตย่อยในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน เช่น พอร์ตการลงทุนย่อย 1 จะมีปรับเปลี่ยนหุ้นในช่วงเดือน มี.ค. และเดือน ก.ย. ส่วนพอร์ตการลงทุนย่อย 2 นั้นจะมีการปรับเปลี่ยนหุ้นในช่วงเดือน มิ.ย. และ ธ.ค. และจะมีการ Rebalanced น้ำหนักของพอร์ตการลงทุนย่อย 1 และ 2 ให้เท่ากันที่พอร์ตละ 50% ในช่วงเดือน มิ.ย. และ ธ.ค.

 

ซึ่ง Morningstar ได้มีการให้เหตุผลของการทำ Staggered Reconstitution เอาไว้ว่าจะสามารถช่วยลดปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ (Turnover) ลงได้มากกว่า 50% เมื่อเทียบกับการปรับเปลี่ยนพอร์ตแบบอื่น ๆ ในขณะเดียวกัน กระบวนการปรับพอร์ตดังกล่าวยังจะสามารถทำให้หุ้นที่มีมูลค่าต่ำถูกเพิ่มเข้ามาอยู่ในดัชนีได้เร็วขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้การทำ Staggered Reconstitution อาจส่งผลให้ดัชนีมีหุ้นอยู่มากกว่า 40 บริษัท และอาจทำให้หุ้นที่อยู่ในดัชนีอาจมีน้ำหนักที่ไม่เท่ากัน

 

สัดส่วนประเทศที่ลงทุน (ณ 30 ก.ย. 2024)

  1. US 98.7%
  2. Netherlands 1.2%
  3. Other/Cash 0.1%

 

กลุ่มอุตสาหกรรม (ณ 30 ก.ย. 2024)

  1. Industrials 23.9%
  2. Health Care 21.2%
  3. Information Technology 17.6%
  4. Consumer Staples 13.9%
  5. Financials 6.4%

 

Top holdings (ณ 30 ก.ย. 2024)

  1. Transunion บริษัทที่ให้บริการข้อมูลเครดิตและการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน
  2. Gilead Sciences Inc บริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ที่เชี่ยวชาญในการพัฒนาและผลิตยาเพื่อรักษาโรคติดเชื้อ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ B และ C เป็นต้น
  3. Bristol-Myers Squibb Co บริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ที่เชี่ยวชาญในการวิจัยและพัฒนายาเพื่อรักษาโรคต่างๆ รวมถึงโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น
  4. Autodesk Inc บริษัทซอฟต์แวร์ที่เชี่ยวชาญในการพัฒนาโปรแกรมซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบ 2D และ 3D การสร้างแบบจำลอง และการจำลองข้อมูล เป็นต้น
  5. Marketaxess Holdings Inc บริษัทที่ให้บริการแพลตฟอร์มการซื้อขายตราสารหนี้แบบอิเล็กทรอนิกส์

 

ผลการดำเนินงานของกองทุนหลักย้อนหลัง (ณ 30 ก.ย. 2024)

  • ผลการดำเนินงานในช่วง 3 เดือน กองทุนหลักสร้างผลตอบแทน 11.9% เทียบกับดัชนี S&P500 ที่สร้างผลตอบแทน 5.9%
  • ผลการดำเนินงานในช่วง 1 ปี กองทุนหลักสร้างผลตอบแทน 29.0% เทียบกับดัชนี S&P500 ที่สร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ 36.4%
  • ผลการดำเนินงานในช่วง 3 ปี กองทุนหลักสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ 11.0% เทียบกับดัชนี S&P500 ที่สร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ 11.9%
  • ผลการดำเนินงานรายปีปฏิทิน 5 ปีย้อนหลัง (ปี 2019-2023) กองทุนหลักสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ 18.4% เทียบกับดัชนี S&P500 ที่สร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ 17.4%

09.jpg

 

กองทุนแนะนำเพิ่มเติม: KKP EWUS500-UH

 

นอกเหนือจากกองทุนที่เราได้กล่าวมาทั้งหมด ทาง KKPAM ได้มีการ IPO กองทุนออกมาช่วง 27 พ.ย. – 3 ธ.ค. 2024 โดยกองทุนนี้มีการเข้าลงทุนในกองทุนหลัก Invesco S&P 500 Equal Weight ETF ซึ่งอ้างอิงดัชนี S&P 500® Equal Weight หรือกระจายการลงทุนในหุ้น S&P500 ในลักษณะ Equal Weight หรือให้น้ำหนักของหุ้นในดัชนี S&P 500 ที่เท่าๆ กัน และมีการลงทุนในหุ้นกลุ่ม MAG7 เพียง 1.75% (as of 17 Dec 2024) ตรงตามกลยุทธ์การลงทุนของทางเรา
 
ดังนั้นทางเราจึงแนะนำเข้าลงทุนในกองทุน KKP EWUS500-UH เป็นทางเลือกเพิ่มเติมนอกเหนือจากการลงทุนในกองทุน AFMOAT-HA

 

อย่างไรก็ตามกองทุน KKP EWUS500-UH ไม่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (FX Unhedged) จึงเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้

 

คลิกที่นี่เพื่อดูกองทุนเคาะซื้อใน INVX Satellite Portfolio ล่าสุด

 

คำเตือน: ผลการดำเนินในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนที่ได้รับในอนาคต กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวนได้ที่บล.อินโนเวสท์ เอกซ์

Most Viewed Ideas
1/5
Related Ideas
Most Viewed Ideas
1/5