ลงทุนก้าวแรก

ค่าธรรมเนียมกองทุนรวม มีอะไรบ้าง? | InnovestX

22 Aug 22 12:00 AM
01_Beginner_corner_990x740px-09-20240912042525
สรุปสาระสำคัญ
ตอบคำถามยอดฮิต ค่าธรรมเนียมกองทุนในการลงทุนกองทุนรวมมีอะไรบ้าง? เหตุผลที่ซื้อกองทุนรวมแล้วได้ NAV แพงกว่าที่ประกาศเอาไว้ เพราะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมกองทุนจาก 2 ส่วน คือ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนโดยตรง และค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากสินทรัพย์ของกองทุนรวม

นักลงทุนที่สนใจการลงทุนในกองทุนรวมคนไหนเคยเป็นบ้าง? หลายครั้งที่เราซื้อกองทุนรวมแล้วได้ NAV หรือทรัพย์สินสุทธิ (Net Asset Value) แพงกว่า NAV ที่ทางกองทุนประกาศเอาไว้ ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าการลงทุนในกองทุนรวมนั้นมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมนั่นเอง โดยค่าธรรมเนียมที่กองทุนรวมเรียกเก็บ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุน และค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากสินทรัพย์ของกองทุนรวม แต่ละส่วนมีรายละเอียด ดังนี้

เปิดโลกค่าธรรมเนียมกองทุนรวมที่ต้องรู้ก่อนลงทุน

 

จะเก็บเมื่อลูกค้าซื้อ ขาย หรือสับเปลี่ยนกองทุนรวม โดยจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของจำนวนที่ทำรายการจริงตามหนังสือชี้ชวนระบุไว้ ซึ่งแต่ละกองทุนจะมีอัตราค่าธรรมเนียมแตกต่างกันไป แบ่งเป็นหลายประเภท เช่น

1. ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนโดยตรง จะเก็บเมื่อลูกค้าซื้อ ขาย หรือสับเปลี่ยนกองทุนรวม โดยจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของจำนวณที่ทำรายการจริงตามหนังสือชี้ชวนที่ระบุไว้ 

- ค่าธรรมเนียมการขาย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าค่าธรรมเนียมเมื่อซื้อ (Front-End Fee) คือ ค่าธรรมเนียมที่เก็บเมื่อกองทุนขายหน่วยลงทุนให้กับเรา หรือเมื่อเราซื้อกองทุน

- ค่าธรรมเนียมการซื้อคืน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าค่าธรรมเนียมเมื่อขาย (Back-End Fee) คือ ค่าธรรมเนียมที่เก็บเมื่อกองทุนรับซื้อหน่วยลงทุนคืนจากเรา หรือเมื่อเราขายกองทุนคืน

- ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนกองทุน (Switching-Out Fee) คือ ค่าธรรมเนียมที่เก็บเมื่อลูกค้าสับเปลี่ยนออกจากกองทุนหนึ่งไปยังอีกกองทุนหนึ่ง

- ค่าใช้จ่ายในการซื้อขายหลักทรัพย์ (Brokerage Fee) คือ ค่าธรรมเนียมที่เก็บเมื่อลูกค้าซื้อ หรือขายกองทุน คล้าย ๆ กับค่าธรรมเนียมเมื่อซื้อหรือค่าธรรมเนียมเมื่อขายข้างต้น แต่ค่าธรรมเนียมในส่วนนี้จะเข้าไปรวมอยู่ในสินทรัพย์ของกองทุน เพื่อให้ผู้จัดการกองทุนใช้ชำระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากการซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทุน ในขณะที่ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ จะถูกเก็บเพื่อเป็นรายได้ของ บลจ. และตัวแทนขายกองทุน ไม่ได้ถูกนำเข้าไปรวมในสินทรัพย์ของกองทุนรวม

- ค่าใช้จ่ายในการซื้อขายหลักทรัพย์ (Transaction Fee) คือ ค่าธรรมเนียมที่เก็บเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์อื่น ๆ ของกองทุน

2. ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากสินทรัพย์ของกองทุนรวม

ค่าธรรมเนียมประเภทนี้จะหักจากสินทรัพย์ของกองทุนโดยเฉลี่ยไปทุกวัน เราจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม โดยกองทุนจะทำการคำนวนและหักค่าธรรมเนียมไว้ก่อนที่จะประกาศ NAV ของแต่ละวัน

 

สำหรับค่าธรรมเนียมประเภทนี้จะมีการจำนวนเอาไว้เป็นเปอร์เซ็นต่อปี แล้วกองทุนรวมจะนำค่าธรรมเนียมส่วนนี้มาเฉลี่ยเป็นรายวัน ประกอบไปด้วยค่าธรรมเนียม 4 ประเภท ได้แก่

 

1. ค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee) คือ ค่าแรงสำหรับผู้จัดการกองทุนที่บริหารกองทุนให้เรา

2. ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ (Trustee Fee) ซึ่งเป็นผู้รับรองราคา NAV และควบคุมให้กองทุนดูแลผลประโยชน์ของนักลงทุนตามนโยบายที่กำหนด

3. ค่าธรรมเนียมนายทะเบียน (Registrar Fee) เป็นผู้ดูแลรายชื่อและรักษาสิทธิประโยชน์ให้กับนักลงทุน

4. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าใช้จ่ายในการโฆษณา

เปิดพอร์ตกองทุนรวมให้เงินงอกเงย เลือก InnovestX

อยากลงทุนในกองทุนรวม หรือกำลังมองหาแอปพลิเคชันที่ตอบโจทย์ เลือก InnovestX แอปพลิเคชันลงทุนกองทุนรวมที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการและครอบคลุมทุกสินทรัพย์การลงทุน ใช้งานง่าย มาพร้อมทุกฟีเจอร์ที่จำเป็นสำหรับนักลงทุน เช่น บริการ Intelligent Portfolios ช่วยคัด จัด และปรับพอร์ตให้อัตโนมัติ หรือบริการ Wealth Idea แนะนำช่องทางการลงทุนที่ใช่โดยผู้เชี่ยวชาญตัวจริง ดาวน์โหลดฟรีทั้งระบบ iOS และ Android

Content example

https://www.finnomena.com/tumsuphakorn/fund-fee/

Most Read
1/5
Related Articles
Most Read
1/5