ผลิตภัณฑ์

  1. หุ้น เป็นหุ้นส่วนบริษัท ด้วยเงินหลักร้อย
  2. กองทุน เปิดพอร์ตแบบอีซี่.. มีมืออาชีพคอยดูแลให้
  3. Intelligent Portfolios เปิดโหมดอัตโนมัติสำหรับดูแลการลงทุน
  4. สินทรัพย์ดิจิทัล การลงทุนบนสินทรัพย์แห่งอนาคต
  5. ตราสารหนี้และหุ้นกู้ ลงทุนเพื่อผลตอบแทนระยะยาว
  6. ตราสารอนุพันธ์ มองการณ์ไกล ด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
  7. บริการยืมและให้ยืมสินทรัพย์ ปล่อยเช่า-ขอยืมหุ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุน
  8. กองทุนส่วนบุคคล มีผู้จัดการช่วยให้การลงทุนของคุณง่ายขึ้น
  9. คู่มือการใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา

แหล่งความรู้ด้านการลงทุน

  1. เริ่มลงทุนก้าวแรก เริ่มลงทุนก้าวแรก
  2. ลงทุนตามสินทรัพย์ ลงทุนตามสินทรัพย์
  3. บทวิเคราะห์การลงทุน บทวิเคราะห์การลงทุน
  4. แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน

ข่าวสารและโปรโมชัน

  1. โปรโมชันและสิทธิพิเศษเพื่อคุณ
  2. อัปเดตข่าวสาร
  3. ประกาศ
  4. Point to invest
  5. INVX Point​
scbs image

โปรโมชันและสิทธิพิเศษ

พิเศษสำหรับลูกค้า Innovestx เท่านั้นใช้พอยต์แลกกองทุนรวมที่โดนใจ

ดูเพิ่มเติม

เกี่ยวกับเรา

  1. เกี่ยวกับเรา ร่วมเติบโตอย่างยั่งยืนไปกับเรา InnovestX
  2. ร่วมงานกับเรา ก้าวไปข้างหน้าแบบมีสไตล์
ค้นหาล่าสุด
เคลียร์
{{GetHitSearchValue.keywordTitle}}

เทคนิคการจัดสรรเงินเดือน เก็บก่อนใช้ สร้างวินัยทางการเงิน

blog_list_heading
21 ส.ค. 2565;
2324
แชร์บทความนี้
test_blog_details_img

เนื้อหาโดยรวม

    หัวใจการจัดสรรบริหารเงินเดือนของเราให้ดี ต้องเริ่มที่ “วินัย” อย่างสม่ำเสมอ และควรเริ่มแบ่งเงินบริหารตั้งแต่วินาทีแรกที่เรามีรายรับเข้ามาด้วยกฎง่าย ๆ “50-30-20” หรือเทคนิคโหล 6 ใบ มีเงินใช้สบาย ๆ บรรลุเป้าหมายทางการเงิน

วิธีจัดสรรเงินเดือนก่อนใช้ สร้างความมั่งคั่ง

เปลี่ยนตัวเองเป็นคนใหม่ จัดสรรเงินเดือนก่อนใช้ทุกครั้ง

เพราะเรื่องเงินเรื่องทองรอไม่ได้ เริ่มก่อนเท่ากับได้เปรียบ การบริหารจัดการเงินไม่ได้แค่ช่วยบริหารพื้นฐานทางการเงินของคุณให้แข็งแรง แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ช่วยให้เราไปถึงเป้าหมายทางการเงินในลำดับต่อไปได้เร็วขึ้นด้วย

แล้ววิธีไหนล่ะที่จะช่วยให้เราจัดสรรเงินเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ?

กฎเลข “50-30-20” พื้นฐานการบริหารเงินเดือน

สำหรับมือใหม่ในการบริหารเงินเดือน เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้กับตัวเอง ให้เริ่มจากกฎ “50-30-20” โดยแบ่งเงินออกเป็น 3 ส่วนง่าย ๆ ที่สามารถช่วยบริหารการเงินให้มั่นคง เพียงแค่จำกฎเลข “50 30 20” ช่วยให้เรื่องบริหารเงินกลายเป็นเรื่องง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

1. เงินส่วนที่ 1 หรือ “50% ของเงินเดือน” ไว้สำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็นทั้งหมด เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต ค่าบัตรเครดิต ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ซึ่งเงินส่วนนี้ถ้าเราจัดสรรเงินเดือนแล้วพบว่าใช้ไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ก็สามารถนำไปเพิ่มเป็นสัดส่วนของการออมและการลงทุน หรือเก็บไว้เป็นเงินสำรองได้

2. เงินส่วนที่ 2 หรือ “30% ของเงินเดือน” แบ่งไว้สำหรับใช้จ่ายในสิ่งที่เราอยากได้ เป็นการให้รางวัลตัวเอง เพื่อกำลังใจในการทำงานหาเงินกันต่อไป

3. เงินส่วนที่ 3 หรือ “20% ของเงินเดือน” แบ่งไว้สำหรับอนาคตที่สดใสของเรา นั่นคือการเก็บออมเพื่อการลงทุน ให้เงินได้งอกเงย ชนะเงินเฟ้อ และเป็นเงินที่เราเก็บไว้ใช้ในยามเกษียณ ซึ่งสามารถนำมาจัดสรรลงทุนตามความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ ไม่ว่าจะเป็น ตราสารหนี้ กองทุนรวมประเภทต่าง ๆ ทั้งหุ้นไทย และหุ้นต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม หากว่าเราต้องการจัดสรรสัดส่วนบริหารเงินเดือนใหม่ ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน โดยอาจจะให้น้ำหนักในเรื่องค่าใช้จ่ายจำเป็นสัก 60% ค่าใช้จ่ายในสิ่งที่เราอยากได้ 25% แล้วเก็บออมอีก 15% ขึ้นอยู่กับจังหวะในการใช้ชีวิตของเรา

เก็บเงินไว้ในโหล 6 ใบ หรือ 6 JARS System

ใครที่รู้สึกว่าการเก็บเงินด้วยกฎ 50-30-20 อาจจะดูกว้างไป หรือไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในชีวิตของเรา ขอแนะนำเทคนิคการเก็บเงินไว้ในโหล 6 ใบ ของ T. Harv Eker โดยในโหล 6 ใบแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้

1. โหลใบที่ 1 คือ ค่าใช้จ่ายจำเป็น 55% ของเงินเดือน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่าอาหาร ค่าเช่า/ผ่อนบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต โดยพยายามจัดสรรเงินเดือนไม่ให้เกินไปกว่านี้ โดยพยายามลดค่าใช้จ่ายที่จำเป็น หรือแพงเกินความจำเป็นออกไป

2. โหลใบที่ 2 คือ รางวัลชีวิต 10% อย่าใช้ชีวิตตึงจนเกินไป มองหาความสุขของตัวเองให้เจอ แล้วให้รางวัลกับตัวเองบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง หรือแม้กระทั่งการตระเวนกินหมาล่าทั่วประเทศก็ได้เช่นเดียวกัน

3. โหลใบที่ 3 คือ การต่อยอดการลงทุน 10% โดยนำเงินจำนวนนี้ไปลงทุนทางการเงิน หรือต่อยอดการทำธุรกิจอื่น ๆ ที่เรามีความเชี่ยวชาญและสนใจ เพื่อให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้

4. โหลใบที่ 4 คือ เงินเก็บสำรอง 10% โดยปกติแล้ว เราจะต้องมีเงินสำรองสำหรับฉุกเฉินต่าง ๆ เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายที่เราไม่คาดคิด อย่างค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมแซมบ้าน ค่าซ่อมรถ หรือแม้แต่การตกงานกะทันหัน โดยนอกจากการเก็บเงินปกติแล้ว เรายังสามารถจัดสรรเงินเดือนส่วนนี้ไปซื้อประกันเพื่อป้องกันความเสี่ยงได้อีกด้วย

5. โหลใบที่ 5 คือ การแสวงหาความรู้เพิ่มเติม 10% เพราะชีวิตคือการเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ด้านการเงิน หรือความรู้ในวิชาชีพ ทำให้เราต้องนำเงินมาเรียนเพิ่มเติม เพื่อที่จะต่อยอดความรู้ หาเงินได้เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

6. โหลใบที่ 6 คือ การบริจาคและของขวัญ 5% การบริจาคเงินตามมูลนิธิ เป็นการช่วยแบ่งปันให้กับผู้ด้อยโอกาสในสังคม และยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ นอกจากนี้ เงินที่มอบของขวัญ ช่วยซอง ก็จะอยู่ในส่วนนี้ด้วย

ทำไมเวลาเงินเดือนเข้าบัญชีเราต้องบริหารก่อนทุกครั้ง

หลายคนอาจจะคิดว่าเหลือใช้แล้วค่อยเก็บ นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้เงินเดือนชนเดือน ไม่มีเงินเก็บสักที ดังนั้น เราจึงควรจัดสรรเงินเดือนตาม Budget ที่ตั้งเอาไว้ เป็นการสร้างวินัยทางการเงินอย่างแท้จริง ซึ่งหากว่าเราสามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง ทรัพย์สินของเราก็จะเพิ่มพูนได้อย่างแน่นอน

ทั้งนี้อย่าลืมว่า หัวใจในการจัดสรรบริหารเงินเดือนของเราให้ดี ต้องเริ่มที่ “วินัย” อย่างสม่ำเสมอ และควรเริ่มแบ่งเงินบริหารตั้งแต่วินาทีแรกที่เรามีรายรับเข้ามาด้วยกฎง่าย ๆ 50 30 20! หรือใช้หลักโหล 6 ใบก็ได้เช่นเดียวกัน

หัวข้ออื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
กลับด้านบน