
เนื้อหาโดยรวม
การเริ่มลงทุนแบบมีผู้ช่วยเป็นหนึ่งในประโยชน์ของ AI ด้านการเงินที่ใครหลายคนทราบ แต่นอกจากด้านการลงทุนแล้ว AI ยังมีประโยชน์กับการเงินอีกมากมาย อ่านต่อ
การเริ่มลงทุนแบบมีผู้ช่วยเป็นหนึ่งในฟีเจอร์การลงทุนที่หลายสถาบันการเงินพัฒนาด้วยการนำเทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อช่วยให้นักลงทุนเลือกสินทรัพย์การลงทุนที่ตอบโจทย์เป้าหมายทางการเงินได้สูงสุด
อย่างไรก็ดี นอกจากประโยชน์ในด้านการลงทุนแล้ว เทคโนโลยี AI ยังมีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมทางการเงินในหลากหลายด้าน ทั้งยังสามารถปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกรรมและบริการทางการเงินอื่น ๆ อีกมากมาย มาทำความรู้จักประโยชน์ของ AI ด้านการเงินให้มากขึ้นในบทความนี้กัน
การใช้งาน AI ในสถาบันทางการเงิน
การนำเทคโนโลยี AI มาใช้กับการเงินมีจุดเริ่มต้นมายาวนานกว่า 10 ปี นอกจากจุดประสงค์ด้านการลงทุนแล้ว สถาบันทางการเงินชั้นนำหลายแห่งทั่วโลกต่างก็ได้นำเทคโนโลยี AI มาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ บริหารความเสี่ยง ตลอดจนลดข้อผิดพลาดและการฉ้อโกง ทั้งในธุรกรรมทางการเงินและการทำงานภายในองค์กร
สำหรับใครที่ยังไม่เห็นภาพว่า สถาบันทางการเงินจะนำ AI มาใช้งานภายในองค์กรได้อย่างไร ลองมาพิจารณาถึงประโยชน์ของ AI ด้านการเงินเพิ่มเติมได้ตามตัวอย่าง ดังนี้
1. ประเมินและบริหารความเสี่ยง
สถาบันทางการเงินแต่ละแห่งจะมีการพัฒนาและสร้างฐานข้อมูลสำหรับเทคโนโลยี AI ที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี เมื่อได้อัปเดตข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ระบบ AI ที่มีการประมวลผลผ่าน Machine Learning Algorithms (MLAs) และ Deep Learning Models (DLMs) จะสามารถช่วยสถาบันทางเงินประเมินและบริหารความเสี่ยงในธุรกรรมทางการเงินได้
Case Study:
สถาบันทางการเงินสามารถนำ AI มาช่วยตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินที่ผิดปกติได้ ทำให้ทราบถึงความเสี่ยงในการฉ้อโกง การฟอกเงิน รวมไปถึงการทุจริตทางการเงินในองค์กร ซึ่งในปัจจุบันนี้ ธนาคารในสหรัฐอเมริกาหลายแห่งเริ่มนำระบบ AI มาใช้ตรวจสอบการทำธุรกรรมภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง
อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.worldfinance.com/banking/how-artificial-intelligence-is-changing-the-face-of-banking
2. ตรวจสอบเครดิตและความน่าเชื่อถือ
ไม่เพียงแต่จะช่วยประเมินความเสี่ยงทางการเงินเท่านั้น แต่สถาบันทางการเงินยังสามารถนำเทคโนโลยี AI มาตรวจสอบเครดิตและความน่าเชื่อถือทางการเงินของลูกค้าก่อนพิจารณาปล่อยสินเชื่อและอนุมัติธุรกรรมได้เช่นกัน
Case Study:
เช่น บริษัทสินเชื่อจากสหรัฐอเมริกาอย่าง Kabbage ได้มีการนำ AI มาวิเคราะห์เครดิตและความน่าเชื่อถือของลูกค้าก่อนจะปล่อยสินเชื่อ โดยจะพิจารณาจากทั้งคะแนนเครดิต ประวัติ รายได้และอาชีพของผู้กู้ รวมไปถึงประวัติในการผิดชำระหนี้ เพื่อคาดการณ์ถึงความเสี่ยงในการอนุมัติสินเชื่อและโอกาสในการเกิดเป็นหนี้เสียให้แก่บริษัท
นอกจากนี้ ในปี 2020 ที่ผ่านมา ธนาคารยักษ์ใหญ่อย่าง JPMorgan Chase ยังได้สร้างข้อมูลส่วนกลางขึ้นมา จากนั้นให้ระบบอัลกอริทึมดึงข้อมูลส่วนกลางมาวิเคราะห์การใช้งานบัตรเครดิตและธุรกรรมอื่น ๆ เพื่อจุดประสงค์ในการเพิ่มความปลอดภัยให้กับเจ้าของบัญชีธนาคาร JPMorgan Chase
อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.forbes.com/sites/geristengel/2019/10/30/kabbage-the-care-and-feeding-of-a-fintech-unicorn/?sh=6f73e5bcc212
3. ตัวช่วยบริหารความคาดหวังของลูกค้า
ประโยชน์ของ AI ด้านการเงิน ไม่ได้มีเพียงแค่ช่วยบริหารความเสี่ยงและตรวจสอบความน่าเชื่อถือเท่านั้น แต่สถาบันทางการเงินยังสามารถใช้ AI เพื่อช่วยบริหารความคาดหวังของลูกค้าได้เช่นกัน
Case Study:
เทคโนโลยี AI มีระบบประมวลผลที่ทำงานได้อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ นอกจากนี้ ธนาคารบางแห่งยังได้มีการพัฒนาแชทบอทที่มีเทคโนโลยี NLP ที่ช่วยให้ประมวลผลตามธรรมชาติภาษาของมนุษย์คอยตอบคำถามและให้คำปรึกษาด้านการเงินตลอด 24 ชั่วโมงได้
นอกจากนี้ สถาบันการทางเงินยังมีการนำระบบ AI มาใช้เพื่อแจ้งเตือนธุรกรรมที่น่าสงสัย ทำให้ผู้ใช้บริการลดความเสี่ยงการโดนล้วงข้อมูล ตลอดจนการโดนสวมรอยและธุรกรรมทางไซเบอร์อีกด้วย อย่างเช่นที่บริษัท Capital One จากสหรัฐอเมริกาสร้างผู้ช่วยเสมือนทางการเงินอย่าง Eno ขึ้นมาเพื่อแจ้งเตือนข้อมูลเชิงลึกให้กับลูกค้าผ่าน SMS
อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.capitalone.com/tech/machine-learning/capital-ones-intelligent-assistant-why-we-built-enos-nlp-tech-in-house/
การใช้งาน AI ด้านการเงินส่วนบุคคล
นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันทางการเงินแล้ว เทคโนโลยี AI ยังสามารถปรับใช้เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับการเงินส่วนบุคคลได้ ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นตัวช่วยเริ่มลงทุนแบบมีผู้ช่วยเท่านั้น แต่เทคโนโลยี AI ยังสามารถช่วยบริหารและสร้างแผนการเงินที่มีประสิทธิภาพได้ ดังนี้
1. ช่วยวางแผนการเก็บออม
ระบบอัลกอริทึมสามารถประมวลผลจากแผนการเงินที่มีประสิทธิภาพในอดีตเพื่อสร้างแผนการออมเงินที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานได้ ส่วนใหญ่แล้ว มักจะวิเคราะห์และสร้างแผนขึ้นเพื่อให้รายได้สอดคล้องกับรายจ่ายมากที่สุด จากนั้นจึงมองหาช่องว่างที่จะช่วยให้ออมเงินได้มากขึ้น ทั้งนี้ผู้พัฒนาแต่ละแห่งอาจมีการปรับแต่งฟีเจอร์และใช้ AI เพื่อแนะนำการออมเงินที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานมากที่สุด
Case Study:
Qapital เป็นแอปวางแผนการออมเงินจากประเทศสวีเดนที่มีการใช้ระบบ AI ร่วมกับการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้จ่าย ทำให้ผู้ใช้งานสามารถมองเห็นพฤติกรรมการใช้เงิน จากนั้นผู้ใช้งานจะสามารถตั้งค่าระบบแจ้งเตือน หรือ แนะนำการออมเงินในวิธีที่ต้องการได้ เช่น ตั้งกฎการเก็บเงินขึ้นมา (Rules-Based Saving) เพื่อให้ AI วิเคราะห์รายได้ การใช้จ่าย และรูปแบบการออม ทำให้ออมเงินได้โดยไม่กระทบต่อรายจ่ายในส่วนอื่น
อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.fool.com/the-ascent/personal-finance/qapital-review/
2. ช่วยบริหารค่าใช้จ่าย
นอกจากจะช่วยวางแผนเก็บออมแล้ว เทคโนโลยี AI ยังสามารถนำมาปรับใช้เป็นตัวช่วยบริหารค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอำนวยความสะดวกในด้านการทำรายรับรายจ่าย
แอปทางการเงินที่มีการใช้งานระบบ AI สามารถช่วยติดตามรายรับรายจ่ายได้จากหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการใส่รายรับรายจ่ายด้วยตนเอง การเชื่อมต่อแอปเข้ากับบัญชีธนาคาร ไปจนถึงฟีเจอร์การสแกนใบเสร็จอัตโนมัติ จากนั้นระบบ AI จะสามารถคำนวณและวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้เงิน
Case Study:
ในปัจจุบันนี้ ต่างประเทศได้มีการใช้งานแอปบริหารค่าใช้จ่ายที่มีการใช้เทคโนโลยี AI มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Mint, Empower Personal Wealth และ PocketGuard ที่เชื่อมต่อกับบัญชีธนาคาร ทำให้สามารถติดตามการใช้จ่ายได้แบบเรียลไทม์ พร้อมวิเคราะห์และแนะนำการปรับปรุงพฤติกรรมการใช้เงิน เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางการเงิน รายจ่าย และภาระทางการเงินแบบรอบด้าน
อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.nerdwallet.com/article/finance/best-budget-apps
3. ช่วยวางแผนภาษี
ประโยชน์ของ AI ด้านการเงินยังครอบคลุมไปถึงการวางแผนภาษีอีกด้วย แม้ในประเทศไทยยังไม่มีแอป หรือ ฟีเจอร์สำหรับการวางแผนภาษีโดยเฉพาะ แต่หลายประเทศทั่วโลกได้มีการสร้างแอปพลิเคชันสำหรับการวางแผนภาษีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
Case Study:
TurboTax เป็นแอปจัดการภาษีจากสหรัฐอเมริกาที่มีการใช้เทคโนโลยี AI ที่ช่วยแนะนำการยื่นภาษีในสหรัฐฯ ทั้งยังมีอัลกอริทึมที่ช่วยตอบคำถามทางภาษีทุกรูปแบบ รวมไปถึงแนะนำการลดหย่อนภาษี ระบุการหักเงินและเครดิต เพื่อเพิ่มการคืนเงินสูงสุดและถูกต้องตามกฎหมาย ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการและบริหารภาษีได้อย่างถูกกฎหมาย
อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.cnbc.com/select/turbotax-review/
4. ผู้ช่วยวางแผนการลงทุน
นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการเงินส่วนบุคคลแล้ว เทคโนโลยี AI ยังสามารถนำมาใช้เพื่อสร้างแผนการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านของการกำหนดเงินลงทุน การเลือกสินทรัพย์ ตลอดจนช่วยซื้อขายสินทรัพย์ตามความเสี่ยงและเป้าหมายทางการเงินที่ต้องการได้
การเริ่มลงทุนโดยมี AI เป็นผู้ช่วยนี้ สามารถช่วยให้นักลงทุนสร้างผลตอบแทนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในแต่ละช่วงเวลา ทั้งยังเป็นผู้ช่วยบริหารความเสี่ยงจากอารมณ์และประสบการณ์ของนักลงทุนอีกด้วย
Case Study:
Robo Advisor เป็นผู้ช่วยการลงทุนที่นักลงทุนสามารถกำหนดเป้าหมายทางการเงินที่ต้องการ ตลอดจนผลลัพธ์ เงินลงทุน และความเสี่ยงที่รับไหว จากนั้น AI จะเป็นผู้แนะนำกองทุนรวมให้นักลงทุนพิจารณา เมื่อเลือกสินทรัพย์เป็นที่เรียบร้อย ตัวระบบจะเป็นผู้ตัดสินใจซื้อขายในช่วงเวลาต่าง ๆ เพื่อสร้างผลตอบแทนตามเงื่อนไขที่นักลงทุนกำหนดเอาไว้
อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.scbs.com/th/roboadvisor
นับตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน การใช้ AI กับการเงินได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และในอนาคตก็จะยิ่งมีผลิตภัณฑ์ที่ช่วยตอบโจทย์การเงินส่วนบุคคลและอำนวยความสะดวกให้กับภาคธุรกิจมากยิ่งขึ้น
สำหรับในประเทศไทย InnovestX มาพร้อมเทคโนโลยี AI ช่วยวางแผนการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ทุกคนเริ่มลงทุนแบบมีผู้ช่วยส่วนตัว ตอบโจทย์เป้าหมายที่ต้องการได้อย่างครอบคลุม เลือกแผนการลงทุน พร้อมเรียนรู้ข้อมูลเชิงลึกจากกูรูตัวจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เริ่มต้นลงทุนด้วยเงินเพียง 5,000 บาทก็สามารถสร้างผลตอบแทนที่มีประสิทธิภาพได้จาก กองทุนรวมศักยภาพสูงทั้งไทยและต่างประเทศ ดาวน์โหลดแอปฯ ได้แล้ววันนี้ที่ App Store และ Google Play Store