ลงทุนก้าวแรก

คู่มือนักลงทุน: สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับดัชนี Hang Seng

1 Apr 24 12:00 AM
คู่มือนักลงทุน: สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับดัชนี Hang Seng
สรุปสาระสำคัญ

สำหรับตลาดการลงทุนในทวีปเอเชีย หนึ่งในดัชนีที่น่าสนใจที่สุดก็คือ ‘ดัชนี Hang Seng’ ซึ่งบทความนี้จะพาไปรู้จักแบบวิเคราะห์เจาะลึก ติดตามได้เลย

 

Hang Seng Index คืออะไร?…ตอบทุกข้อสงสัยในที่เดียว

 

หากจะกล่าวถึงดัชนีหุ้นของฝั่งทวีปเอเชีย นอกจากดัชนี Nikkei จากประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังมีอีกหนึ่งดัชนีที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนไม่แพ้กัน นั่นก็คือ ‘ดัชนี Hang Seng’ จากเกาะฮ่องกง ซึ่งหากนักลงทุนท่านใด ที่ต้องการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ยิ่งจำเป็นจะต้องทำความรู้จักกับดัชนี Hang Seng Index ว่าคืออะไรให้มากขึ้นในทุกแง่มุม เพราะยิ่งรู้จักละเอียดมากเท่าไร ก็จะสามารถใช้เป็นตัวช่วยในการวิเคราะห์เพื่อสร้างผลกำไรได้มากขึ้นเท่านั้น ดั่งวลีอมตะในตำราพิชัยสงครามของซุนวูที่กล่าวไว้ว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง”

 

บทความนี้จึงจะมาเป็นคู่มือนักลงทุน โดยเราจะหยิบยกสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับดัชนี Hang Seng มาอธิบายอย่างรอบด้าน เพื่อให้นักลงทุนสามารถนำไปต่อยอดในอนาคตได้ ติดตามได้เลย

 

ดัชนี Hang Seng คืออะไร น่าลงทุนไหม

 

 

ทำความเข้าใจดัชนี Hang Seng

 

Hang Seng Index หรือ HSI Index คือดัชนีที่อ้างอิงจากราคาตลาดของบริษัทที่ใหญ่ที่สุด 52 แห่ง ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ทรงอิทธิพล และมีนักลงทุนติดตามมากลำดับต้น ๆ ของเอเชียและในระดับโลก

 

จุดเริ่มต้นของ HSI Index ต้องย้อนกลับไปในปี ค.ศ.1969 ที่ก่อตั้งโดย Hang Seng Bank ซึ่งเป็นหนึ่งในธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในฮ่องกง โดยในขณะนั้น มีหุ้นที่อยู่ภายใต้ดัชนีนี้เพียง 33 ตัว ก่อนจะเพิ่มมาเป็น 52 ตัวในภายหลัง โดยตลอดเวลาที่ผ่านมา ดัชนี Hang Seng ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญมากมาย รวมถึงการเปิดตัวดัชนีย่อยรายสาขาในปี ค.ศ. 1985 และการเปลี่ยนไปใช้การปรับแบบลอยตัวฟรีในปี 2549

 

การคำนวณ HSI Index เป็นไปตามสูตรที่คำนึงถึงมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของหุ้นทั้ง 52 ตัว รวมถึงการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในจำนวนหุ้นที่มีการซื้อขาย จากนั้นหุ้นจะถูกถ่วงน้ำหนักตามมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่สัมพันธ์กัน โดยหุ้นที่ใหญ่ที่สุดจะมีน้ำหนักสูงสุด อีกทั้งดัชนีจะได้รับการทบทวนทุกไตรมาสเพื่อให้แน่ใจว่าหุ้นทุกตัวที่อยู่ในดัชนียังมีคุณสมบัติที่ครบถ้วน

 

ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของดัชนี Hang Seng คือการกระจุกตัวอย่างหนักในบางภาคส่วนของเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น ภาคการเงินในปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณ 40% ของดัชนี ในขณะที่ภาคการพาณิชย์และอุตสาหกรรมการผลิตมีสัดส่วนประมาณ 30% ซึ่งหมายความว่าการเปลี่ยนแปลงของดัชนีขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมประเภทนี้ค่อนข้างมาก ดังนั้นในช่วงที่เศรษฐกิจโลกแปรปรวน HSI Index จึงมีความผันผวนสูง แต่สำหรับระยะยาว ยังคงมีความน่าเชื่อถือกับนักลงทุนจากทั่วโลก

 

 

 

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผันผวนของดัชนี Hang Seng

 

เมื่อได้ทราบไปแล้วว่า ‘Hang Seng Index คืออะไร?’ หัวข้อถัดไปที่ควรทราบเช่นกันก็คือปัจจัยที่ส่งผลต่อการผันผวนของดัชนี Hang Seng เนื่องจากดัชนีสัญชาติฮ่องกงดัชนีนี้ไม่ต่างจากดัชนีอื่น ๆ ทั่วโลก ที่เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

 

● ปัจจัยที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งที่ส่งผลต่อ HSI Index คือสภาวะเศรษฐกิจโลก เนื่องจากการเป็นรัฐที่มีรูปแบบเศรษฐกิจแบบเปิดและพึ่งพาการส่งออก ฮ่องกงจึงได้รับอิทธิพลอย่างมากจากการเติบโตของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจากจีนและสหรัฐอเมริกา การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศเหล่านี้จึงอาจส่งผลต่อ Hang Seng Index

 

● แน่นอนว่าอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการผันผวนของ HSI Index คือเหตุการณ์ทางการเมือง เนื่องจากฮ่องกงเป็นเขตกึ่งปกครองตนเองของจีน และการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในภูมิทัศน์ทางการเมืองของจีนหรือฮ่องกงอาจมีผลกระทบอย่างมากต่อดัชนี ตัวอย่างเช่น การประท้วง ‘ร่มเหลือง’ ในฮ่องกงเมื่อปี ค.ศ.2018 เป็นต้น

 

● อัตราดอกเบี้ยเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อ Hang Seng Index โดยการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยใด ๆ โดยธนาคารกลางฮ่องกงหรือธนาคารกลางสหรัฐอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการกู้ยืมและการปล่อยสินเชื่อ และส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของผู้เข้าร่วมตลาด

 

● อัตราแลกเปลี่ยนยังมีผลต่อการผันผวนของ HSI Index เช่นกัน เนื่องจากสกุลเงินของฮ่องกงผูกติดกับดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่การเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนอาจส่งผลต่อการทำกำไรของบริษัทที่มุ่งเน้นการส่งออก และความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อตลาด

 

● ประการสุดท้าย นโยบายของรัฐบาลอาจส่งผลกระทบต่อดัชนี Hang Seng ได้เช่นกัน เช่น นโยบายของรัฐบาลฮ่องกงในด้านภาษี การค้า และการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการทำกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โดยตรง

 

Hang Seng index คืออะไร

 

กลยุทธ์การลงทุนในดัชนี Hang Seng

 

ถึงตรงนี้ เชื่อว่านักลงทุนทุกท่านน่าจะได้รู้จักกับดัชนี Hang Seng กันไปอย่างรอบด้านพอสมควรแล้ว และสำหรับใครที่รู้สึกสนใจอยากลงทุนในดัชนี บทความนี้จะขอทิ้งท้ายด้วยกลยุทธ์การลงทุนที่สามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ดังต่อไปนี้

 

● หนึ่งในกลยุทธ์การลงทุนที่ได้รับความนิยมคือ การลงทุนแบบ Passive Investment ผ่านกองทุนติดตามดัชนี โดยกลยุทธ์นี้จะช่วยให้นักลงกระจายความเสี่ยงไปตามหุ้นทั้งหมดในดัชนี จึงมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ ในขณะเดียวกันผลตอบแทนก็ต่ำกว่ากลยุทธ์อื่นเช่นกัน

 

● ตรงกันข้ามกับการลงทุนแบบ Passive Investment ผ่านกองทุน คือการลงทุนแบบ Active Investment ผ่านการเลือกหุ้นรายตัว อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์นี้ต้องใช้ความเชี่ยวชาญมากพอสมควร แต่ก็มีโอกาสที่จะสร้างผลกำไรได้ดีเช่นกัน

 

● การกำหนดจังหวะตลาดเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่สามารถทำกำไรได้ใน HSI Index นั่นก็คือการซื้อและขายหุ้นในเวลาที่เหมาะสม โดยใช้ประโยชน์จากความผันผวนของตลาดให้เกิดประสิทธิภาพ แน่นอนว่ากลยุทธ์นี้อาจจะต้องอาศัยประสบการณ์ในการคาดการณ์ค่อนข้างมาก แต่ก็สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดี

 

 

 

ตัวอย่างหุ้นและกองทุนในดัชนี Hang Seng

 

เพื่อให้นักลงุทนมองเห็นภาพของดัชนี Hang Seng ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น บทความนี้จึงจะขอยกตัวอย่างหุ้นและกองทุนที่มีบทบาทสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของดัชนีมาอธิบายเพิ่มเติม

 

ตัวอย่างหุ้น

 

● HSBC Holdings (0005.HK): HSBC เป็นหนึ่งในบริษัทการเงินและการธนาคารที่ใหญ่และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก นักลงทุนที่สนใจในภาคการเงินและธนาคารอาจพิจารณาเกี่ยวกับหุ้นตัวนี้มากเป็นพิเศษ

 

● Tencent Holdings (0700.HK): Tencent เป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ให้บริการแพลตฟอร์มต่าง ๆ รวมถึงโซเชียลมีเดีย เกม และการชำระเงินดิจิทัลแบบครบครัน ดังนั้น หุ้นของ Tencent จึงมีผลกระทบอย่างมากต่อดัชนี Hang Seng โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเทคโนโลยี

 

● CK Hutchison Holdings (0001.HK): CK Hutchison เป็นกลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับท่าเรือ การค้าปลีก โทรคมนาคม และโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน ดังนั้น ด้วยความยักษ์ใหญ่ของบริษัท จึงเป็นหุ้นอีกหนึ่งตัวที่ส่งผลกับการเคลื่อนไหวของดัชนี

 

● AIA Group (1299.HK): AIA เป็นบริษัทประกันภัยรายใหญ่ที่ดำเนินงานอยู่ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผลประกอบการของกลุ่มเอไอเอส่งผลกระทบต่อดัชนีโดยเฉพาะในกลุ่มประกันภัย

 

● Alibaba (9988.HK): Alibaba คือบริษัทยักษ์ใหญ่ด้าน E-Commerce แห่งเอเชีย ผู้อยู่เบื้องหลังชื่อที่เราคุ้นหูอย่าง Taobao และ Lazada ที่เรียกได้ว่าพุ่งแรงสุด ๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จึงเป็นหุ้นอีกตัวที่นักลงทุนไม่ควรมองข้าม

 

● BYD (1211.HK): สำหรับนักลงทุนที่มองว่ายานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นเทรนด์แห่งอนาคต หุ้น BYD ก็ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะนี่คือหุ้นของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของจีนที่ได้รับการสนับสนุนอย่างสูงจากรัฐบาล โดยมุ่งเน้นไปที่โซลูชันพลังงานหมุนเวียนเป็นหลัก

 

● JD.com (9618.HK): ในฐานะหนึ่งในบริษัทอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดของจีน JD.com ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและเป็นหนึ่งในผู้นำตลาด ด้วยเครือข่ายโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีการขยายธุรกิจไปยังตลาดใหม่ ๆ เช่น ตลาดด้านเทคโนโลยีและการดูแลสุขภาพ

 

● XIAOMI (1810.HK): ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีนที่เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเริ่มจากการผลิตสมาร์ตโฟน สู่การเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แทบทุกชนิดในปัจจุบัน กลายเป็นหุ้นอีกหนึ่งตัวที่น่าจับตามองในดัชนี Hang Seng ตัวอย่างกองทุน

 

● Pop Mart (9992.HK): Pop Mart ร้านขายของเล่นสะสม แบบกล่องสุ่ม สัญชาติจีนที่เพิ่งมาเปิดสาขาแรกในประเทศไทย เมื่อ 20 กันยายน 2023 ก่อตั้งโดยคุณ Wang Ning (หวางหนิง) และได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2020 ทั้งนี้เทรนด์ “ป๊อปคัลเจอร์ อาร์ตทอย”ที่มีคาแรคเตอร์สุดน่ารักอย่าง Molly (มอลลี) Labubu (ลาบูบู) Crybaby (ครายเบบี้) กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย

 

● Hang Seng Index ETFs: กองทุนซื้อขายแลกเปลี่ยน (ETFs) ที่จำลองประสิทธิภาพของดัชนี Hang Seng มีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนการเคลื่อนไหวโดยการถือหุ้นในพอร์ตที่สะท้อนถึงองค์ประกอบของดัชนี นักลงทุนสามารถซื้อหุ้นของ ETF เหล่านี้ได้ในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้สามารถลงทุนในดัชนีโดยรวมได้อย่างง่ายดาย

 

● กองทุนรวมดัชนี: กองทุนรวมหลายแห่งได้รับการออกแบบมาเพื่อติดตามดัชนี Hang Seng โดยกองทุนเหล่านี้มักถือพอร์ตหุ้นที่หลากหลาย ซึ่งการลงทุนในกองทุนรวมดัชนี นักลงทุนจะสามารถลงทุนกับดัชนี Hang Seng โดยได้รับการจัดการและกระจายความเสี่ยงแบบมืออาชีพ

 

● ETF แบบเลเวอเรจ: นอกเหนือจาก ETF แบบติดตามดัชนีแล้ว ยังมี ETF แบบเลเวอเรจสำหรับดัชนี Hang Seng ETF แบบเลเวอเรจยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มผลตอบแทนของดัชนี อีกทั้งกองทุนพิเศษตัวนี้ยังเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการกลยุทธ์แบบเชิงรุก

 

 

 

 

ความแตกต่างระหว่าง H-Shares กับ A-Shares ที่นักลงทุนควรทราบ

 

ปิดท้ายบทความนี้ด้วยการอธิบายถึงความแตกต่างระหว่าง H-Shares กับ A-Shares ซึ่งเป็น 2 คำที่นักลงทุนจะได้ยินผ่านหูอยู่บ่อย ๆ เมื่อลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกงหรือดัชนี Hang Seng ดังนั้น ถ้าเข้าใจสิ่งนี้ก็ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนในระยะยาว

 

H-Shares และ A-Shares เป็นหุ้นทั้งสองประเภทที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจีน แต่มีความแตกต่างกันในแง่ของตลาดที่จดทะเบียนและนักลงทุนที่สามารถซื้อขายได้ โดย A-Shares หมายถึงหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในจีนแผ่นดินใหญ่และซื้อขายใน Shanghai Stock Exchange (SSE) หรือ Shenzhen Stock Exchange (SZSE) ในอดีต A-Shares มีไว้สำหรับนักลงทุนชาวจีนในประเทศเท่านั้น แต่ด้วยการเปิดโปรแกรม Qualified Foreign Institutional Investor (QFII) และโปรแกรม Stock Connect ทำให้นักลงทุนต่างชาติบางรายสามารถลงทุนในหุ้นเหล่านี้ได้เช่นกัน

 

ในทางกลับกัน H-Shares คือหุ้นของบริษัทจีนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง (HKEx) และเปิดให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศได้เข้ามาลงทุน ซึ่งหุ้นเหล่านี้มักจะอยู่ภายใต้ข้อบังคับและข้อกำหนดในการรายงานที่แตกต่างกันเมื่อเทียบกับหุ้น A-Share

 

ความแตกต่างหลักระหว่าง H-Shares และ A-Shares อยู่ที่โครงสร้างความเป็นเจ้าของ H-Shares ซึ่งเป็นหุ้นของบริษัทจีนที่เปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ ในขณะที่ A-Shares นั้นจำกัดไว้สำหรับนักลงทุนชาวจีนแผ่นดินใหญ่เป็นหลัก ทำให้ความแตกต่างในการเข้าถึงนี้มีผลกับสภาพคล่อง การประเมินมูลค่า และการมีส่วนร่วมของนักลงทุนในตลาด

 

 

 

 

ลงทุนดัชนี Hang Seng ต้องที่ InnovestX

 

การลงทุนมีความเสี่ยง แต่หากไม่ลงทุนเลยอาจเสี่ยงกว่า ดังนั้นหากสนใจเปิดพอร์ตหุ้นต่างประเทศ และลงทุนใน Hang Seng Index รวมถึงดัชนีและหุ้นต่างประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป โดยสามารถศึกษาและลงทุนได้ผ่านแอปพลิเคชัน InnovestX ที่เรียกได้ว่ารวมจักรวาลการลงทุนมาอยู่ในมือคุณ ซื้อได้หลากหลายประเภท ทั้งกองทุนรวมต่างประเทศ และหุ้น สามารถเลือกลงทุนได้ตามใจ พิชิตเป้าหมายทางการเงินได้อย่างที่ตั้งใจ

 

 

ที่มา : Wikipedia, Bloomberg

Most Read
1/5
Related Articles
Most Read
1/5