จัดการภาษีส่วนบุคคล

กองทุนรวม SSF และ RMF ต่างกันยังไง เลือกอันไหนดี? | InnovestX

13 Nov 23 10:00 AM
กองทุนรวม SSF และ RMF ต่างกันยังไง เลือกอันไหนดี? | InnovestX
สรุปสาระสำคัญ

สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่กำลังมองหากองทุนรวมเพื่อลดหย่อนภาษี แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกกองทุนไหนดี รวมถึงควรเลือกลงทุนในกองทุนรวมเพื่อลดหย่อนภาษียังไง? เราจะขอพาไปทำความรู้จักกับกองทุนลดหย่อนภาษี SSF กับ RMF เพื่อเพิ่มความเข้าใจก่อนลงทุน เพื่อให้นักลงทุนได้รับประโยชน์สูงสุดในการลดหย่อนภาษี

 

กองทุนรวมลดหย่อนภาษี SSF และ RMF ต่างกันยังไง เลือกแบบไหน ต้องดูเงื่อนไขกันก่อนนะ!

กองทุนรวมลดหย่อนภาษี SSF กับ RMF คือกองทุนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับผู้ที่ใช้ลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา และต้องการลงทุนเพื่อตนเองในระยะยาว ซึ่งทั้งกองทุน SSF กับ RMF มีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน นักลงทุนควรทำความเข้าใจทั้งสองกองทุนก่อนการลงทุน เพื่อวางแผนภาษีได้อย่างเหมาะสมและเพื่อบรรลุเป้าหมายในอนาคต
 

กองทุนรวมลดหย่อนภาษี SSF และ RMF ต่างกันยังไง เลือกอันไหนดี?

 

 

ทำความรู้จัก SSF กับ RMF

 
กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว (SSF: Super Savings Fund) เป็นกองทุนที่เน้นการออม และยังเป็นตัวช่วยในการลดหย่อนภาษี ซึ่งกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว SSF เป็นกองทุนที่มาแทนกองทุนรวมหุ้นระยะยาวหรือ LTF ที่หมดอายุไปเมื่อปี 2562
 
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (RMF: Retirement Mutual Fund) เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการออมเงินไว้ใช้จ่ายยามเกษียณอายุ มีลักษณะคล้ายกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทเอกชน และกองทุนบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ ซึ่งมีสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีได้

 

 
เปรียบเทียบ SSF และ RMF มีเงื่อนไขแตกต่างหรือคล้ายกันอย่างไร?
 

สำหรับใครที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าระหว่าง SSF กับ RMF จะเลือกลงทุนอะไรดี เราจะมาเปรียบเทียบกองทุน SSF และ RMF ว่ามีเงื่อนไขที่แตกต่างหรือคล้ายกันอย่างไรบ้าง

 

ssf rmf ต่างกันอย่างไร

 

 

SSF และ RMF มีเงื่อนไขแตกต่างกันอย่างไร?

 

  • SSF ต้องถือไม่น้อยกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ โดยที่ RMF จะถือขั้นต่ำ 5 ปี และขายออกได้ตอนอายุครบ 55 ปี บริบูรณ์
  • SSF ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี แต่ RMF ต้องซื้อต่อเนื่องอย่างน้อยปีเว้นปี
  • SSF สามารถลดหย่อนภาษีไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี และไม่เกิน 200,000 บาท ส่วน RMF สามารถลดหย่อนไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี และไม่เกิน 500,000 บาท แต่ทั้งหมดนี้เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนออมแห่งชาติ ประกันหรือกองทุนบำนาญอื่น ๆ แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

 

 

 

SSF และ RMF มีเงื่อนไขคล้ายกันอย่างไร?

 

  • สามารถลงทุนได้ตลอดทั้งปี และมีหลากหลายนโยบายการลงทุน
  • ลงทุนในทุกสินทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ กองทุนทองคำ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ
  • ไม่มีเงินลงทุนขั้นต่ำ และหากลงทุนครบตามเงื่อนไข จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี

 

 

 

SSF และ RMF เหมาะกับใคร?

 

ในการตัดสินใจเลือกกองทุนเพื่อการลดหย่อนภาษีนั้น จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ มาประกอบการพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายในการลงทุน หรือระยะเวลาในการลงทุน เพื่อให้ได้กองทุนที่ตอบโจทย์กับความต้องการมากที่สุด โดย SSF กับ RMF ก็มีความเหมาะสมและตอบสนองความต้องการในการลงทุนที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

 

  • SSF เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษี และต้องการลงทุนระยะยาวมากกว่า 10 ปี
  • RMF เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษี และต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณโดยเฉพาะผู้ที่ประกอบวิชาชีพอิสระ หรือ ลูกจ้าง พนักงาน ที่ไม่มีสวัสดิการและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และยังเหมาะสำหรับลูกจ้าง พนักงาน หรือ ข้าราชการที่ต้องการจะออมเพิ่มมากขึ้น

 

 

 

เช็กรายได้และอัตราภาษี ก่อนลงทุนลดหย่อนภาษี

 

เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่า ระหว่าง SSF กับ RMF จะเลือกลงทุนกองทุนใด ก็ต้องไม่ลืมเช็กรายได้ก่อนลงทุนลดหย่อนภาษี เพื่อให้คุณสามารถวางแผนการลงทุนได้อย่างเหมาะสม พร้อมรับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีที่ครอบคลุมมากที่สุด

 

 

 

อัตราการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2567

 

  • เงินได้สุทธิ 0 - 150,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี
  • เงินได้สุทธิ 150,000-300,000 บาท มีอัตราภาษีอยู่ที่ 5% เสียภาษีสูงสุด 7,500 บาท
  • เงินได้สุทธิ 300,001-500,000 บาท มีอัตราภาษีอยู่ที่ 10% เสียภาษีสูงสุด 20,000 บาท
  • เงินได้สุทธิ 500,001-750,000 บาท มีอัตราภาษีอยู่ที่ 15% เสียภาษีสูงสุด 37,500 บาท
  • เงินได้สุทธิ 750,001-1,000,000 บาท มีอัตราภาษีอยู่ที่ 20% เสียภาษีสูงสุด 50,000 บาท
  • เงินได้สุทธิ 1,000,001-2,000,000 บาท มีอัตราภาษีอยู่ที่ 25% เสียภาษีสูงสุด 250,000 บาท
  • เงินได้สุทธิ 2,000,001-5,000,000 บาท มีอัตราภาษีอยู่ที่ 30% เสียภาษีสูงสุด 900,000 บาท
  • เงินได้สุทธิ 5,000,001 บาทขึ้นไป มีอัตราภาษีอยู่ที่ 35%

 

 

 

เมื่อเตรียมพร้อมแล้ว ก็เลือกกองทุนลดหย่อนภาษีกันเลย ไม่อยากพลาดสิทธิลดหย่อนภาษี อย่าลืมซื้อ SSF กับ RMF ที่ InnovestX นะ! มีให้เลือกถึง 19 บลจ. ดาวน์โหลดเลยคลิก

 

 

อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเลือกกองทุนไหน นักลงทุนควรเลือกตามความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้และเลือกตามความเหมาะสมของเป้าหมายและความต้องการของตัวเองเพื่อประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีอย่างสูงสุด

 

 

พิเศษสำหรับลูกค้า InnovestX เราได้รวมสูตรกองทุนลดหย่อนภาษี SSF กับ RMF ไว้ในที่เดียว ทั้งยังรวมกองทุนแนะนำของเราไว้อีกด้วย เพื่อให้นักลงทุนได้วางแผนการลดหย่อนภาษีในปี 2567 และจัดพอร์ตกองทุนได้ตามที่ต้องการ ตอบสนองทุกสไตล์การลงทุน พร้อมกับหลากหลายสูตรการลงทุน ที่จัดสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ ช่วยกระจายความเสี่ยง ตอบทุกโจทย์การลงทุน รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก

 

 

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF หรือ RMF ก่อนตัดสินใจลงทุน กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษีจะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน รวมถึงควรลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนและยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้ ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต สอบถามรายละเอียดและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการที่ บล.อินโนเวสท์ เอกซ์

Most Read
1/5
Related Articles
Most Read
1/5