ภาพรวมตลาด ก.ย. – แนวโน้มตลาด ต.ค.
|
||
คาด SET ในเดือน ต.ค. ฟื้นตัวกลับ หลังตลาดปรับลงสะท้อนการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมเดือนพ.ย. แล้ว ขณะที่ SET ที่ปรับลงต่ำกว่า 1500 จุด มองว่ามี downside จำกัด ขณะที่ภาพรวมแนวโน้มผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในครึ่งปีหลังของตลาดจะปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก รวมถึงภาวะเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลัง และปีหน้ามีแนวโน้มดี จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ ด้านแนวโน้ม SET มีกรอบล่างแนวรับบริเวณ 1450 และ 1430 จุด ตามลำดับ ที่คาดมี downside ส่วนกรอบบนมีแนวต้านอยู่ที่ 1520 และ 1540 จุด ตามลำดับ
SET เดือน ก.ย. ปรับลดลงตลอดแทบทั้งเดือน ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวในทิศทางปรับลงตลอดแทบทั้งเดือน โดยดัชนีลดลงจากความกังวลมาตรการลดค่าไฟฟ้าและลดราคาน้ำมันของรัฐบาลใหม่จะกดดันหุ้นพลังงาน รวมทั้งกังวลเงินบาทอ่อนค่ามากสุดในรอบกว่า 10 เดือน และผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับเพิ่มขึ้นจากการที่รัฐบาลจะต้องออกพันธบัตรมากขึ้นเพื่อชดเชยโครงการ Digital Wallet ส่งผลให้ดัชนีไหลลงมาหลุด 1500 จุด และทำจุดต่ำสุดในรอบกว่า 3 เดือน
เดือน ก.ย. ต่างชาติขายสุทธิเป็นเดือนที่ 8 ที่ 2.20 หมื่นลบ. จากเดือนก่อนหน้าที่ขายสุทธิ 1.54 หมื่นลบ. โดยเพิ่มสัดส่วนการถือครองในหุ้นกลุ่ม ICT พลังงาน ธนาคาร แต่ลดสัดส่วนการถือครองในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ performance ของดัชนี MSCI Thailand แย่กว่า MSCI APAC ex. Japan ในทุกช่วงเวลาทั้ง 1, 3, 6 และ 12 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในส่วนของประมาณการกำไรฯ ปี 2566 ของ SET นั้น consensus มีการปรับลง 0.41% เช่นเดียวกับ อินโดนีเซีย จีน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ มาเลเซีย และฮ่องกง ที่ปรับลง 2.44%, 2.09%, 1.69%, 1.35%, 1.08%, 0.76% และ 0.53% ตามลำดับ ตรงข้ามกับไต้หวันที่ปรับขึ้น 0.46%
เข้าสู่ไตรมาส 4 - แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ เราคาดกำไรของตลาดไทยใน 2H66 น่าจะดีกว่า 1H66 โดยคาดจะเห็นการปรับขึ้นได้ดีที่สุดใน 4Q66 ทั้งนี้ การหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยของสหรัฐและ Fed น่าจะพักการปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือน พ.ย. ช่วยจำกัด downside risk ขณะที่เศรษฐกิจไทยคาดหวังได้ถึงการขยายตัวในปีหน้าที่ดีกว่าปีนี้อันเป็นผลมาจากเสถียรภาพทางการเมืองที่เพิ่มขึ้น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลใหม่ รวมทั้งคาดหวังกระแสเงินทุนต่างชาติจะไหละกลับเข้าสู่ตลาดไทยอีกครั้ง เราโฟกัสไปที่หุ้นที่แนวโน้มกำไรฟื้นตัวอย่างชัดเจนและได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ประเด็นสำคัญในเดือนนี้ ในประเทศ : 5 ต.ค. – อัตราเงินเฟ้อ (ก.ย.) ; 12 ต.ค. - ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ก.ย.) ; 26 ต.ค. - ยอดส่งออก-นำเข้า (ก.ย.) ต่างประเทศ : 2 ต.ค. - ดัชนี ISM PMI ภาคการผลิต (ก.ย.) ของสหรัฐ ; 4 ต.ค. - ดัชนี ISM PMI ภาคบริการ (ก.ย.), การจ้างงานภาคเอกชน (ก.ย.) ของสหรัฐ ; 6 ต.ค. – การจ้างงานนอกภาคเกษตร, อัตราว่างงาน (ก.ย.) ของสหรัฐ ; 11 ต.ค. – ดัชนีราคาผู้ผลิต (ก.ย.) ของสหรัฐ ; 12 ต.ค. – อัตราเงินเฟ้อ (ก.ย.) ของสหรัฐ ; 26 ต.ค. – ประชุม ECB, GDP 3Q66 ของสหรัฐ
|
PDF คลิกอ่านเพิ่มเติม DatabookOctober2023