- โอกาสการลงทุนในคาร์บอนเครดิต ยังมีอีกมาก สำหรับเติบโตในระยะยาว การเติบโตของตลาดคาร์บอนเครดิตยังมีแนวโน้มสูงขึ้น สาเหตุหลักมาจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คาร์บอนไดออกไซด์ ระดับองค์กร และรัฐบาลทั่วโลกยังคงมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่รัฐบาลของประเทศต่างๆทั่วโลก มีความมุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง ตามข้อตกลงในการประชุม COP 26 ที่ผ่านมา
- ซึ่งคาดว่าจะมีการออกมาตรการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาษีคาร์บอน ภาษีสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นตัวเร่งให้ปริมาณความต้องการคาร์บอนเครดิตเพิ่มสูงมากในอนาคต ทั้งนี้ Bloomberg คาดการณ์ว่าตลาดคาร์บอนเครดิตจะเติบโตเป็น 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปีค.ศ. 2030 จาก 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปีค.ศ. 2023
- หุ้นน่าสนใจ ส่วนใหญ่หุ้นได้ประโยชน์จะเป็นหุ้นที่มีการลดคาร์บอนสุทธิ (Carbon negative) ได้แก่ GUNKUL (แสงอาทิตย์ และลม) TPCH (ชีวมวล) TMI (ชีวภาพ) SKE (ชีวมวล) TGE (ชีวมวล) และ WHAUP (แสงอาทิตย์) และธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตแบตเตอร์รี่/EV อาทิ หุ้น EA NEX BYD GPSC และ PTT รวมถึงบริษัทที่มีโครงการปลูกป่า ได้แก่ DITTO ACE AIT และ BRR
ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการบังคับใช้ภาษีคาร์บอน ทำให้การซื้อขายคาร์บอนเครดิต ยังเป็นภาคสมัครใจ ราคาคาร์บอนเครดิตของประเทศไทยจึงยังมีราคาที่ต่ำกว่าในตลาดโลก โดยเฉพาะในทวีปยุโรปที่ออกเป็นกฎหมายแล้ว อย่างไรก็ตามรัฐบาลมีแนวโน้มจะประกาศร่างพรบ.โลกร้อนเป็นภาคบังคับมากขึ้น คาดว่าจะส่งผลให้ราคาคาร์บอนเครดิตจะเพิ่มขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ความต้องการคาร์บอนเครดิต ที่เพิ่มขึ้นจาก และอุปทานเครดิตลดลงเนื่องจากโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีความซับซ้อนและต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก จะทำให้ราคาคาร์บอนเครดิต เพิ่มสูงขึ้น อาทิ แนวโน้มราคาคาร์บอนเครดิตสำหรับโครงการปลูกป่าจะสูงกว่าราคาคาร์บอนเครดิตสำหรับโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากโครงการในป่ามีต้นทุนที่สูงขึ้นและมีความเป็นไปได้ที่จะถูกทำลายโดยไฟป่าหรือภัยธรรมชาติ
ผลกระทบต่อกลุ่มอุตสาหกรรมกระจายตัวอยู่ในธุรกิจที่หลากหลาย ดังนั้นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ต้องมีการปรับกลยุทธ์ในสอดรับกับความเปลี่ยนแปลง ที่คาดจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากนี้ไป ดังนั้นจึงมองเป็นได้ทั้งโอกาสและเป็นความเสี่ยงสำหรับผู้ประกอบการ ขึ้นกับการปรับตัว โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน และขนส่ง ซึ่งเป็นกลุ่มหลักในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่วนกลุ่มได้ประโยชน์จะเป็นกลุ่มโรงไฟฟ้า แลภาคขนส่งที่เน้นพลังงานสะอาด ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และรถยนต์ไฟฟ้า
ส่วนใหญ่หุ้นได้ประโยชน์จะเป็นหุ้นที่มีการลดคาร์บอนสุทธิ (Carbon negative) ซึ่งจะเป็นโรงไฟฟ้าหมุนเวียน โรงไฟฟ้าชีวภาพ โรงไฟฟ้าชีวมวล ได้แก่ GUNKUL (แสงอาทิตย์ และลม) TPCH (ชีวมวล) TMI (ชีวภาพ) SKE (ชีวมวล) TGE (ชีวมวล) และ WHAUP (แสงอาทิตย์) และธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตแบตเตอร์รี่/EV อาทิ หุ้น EA NEX BYD GPSC และ PTT รวมถึงบริษัทที่มีโครงการปลูกป่า ได้แก่ DITTO ACE AIT และ BRR นอกจากนี้ยังมี THCOM ที่พัฒนาระบบดาวเทียมให้สามารถสำรวจพื้นที่ป่าไม้ และใช้ AI ช่วยให้เกิดความแม่นยำมากขึ้น อย่างไรก็ตามการลงทุนในคาร์บอนเครดิตเป็นปัจจัยระยะยาว ระยะสั้นอาจจะยังต้องติดตามประเด็นข่าวอย่างต่อเนื่อง โดยเชื่อว่าหุ้นที่เกี่ยวข้องกับคาร์บอนเครดิตจะเข้าไปอยู่ในการคัดเลือกของ theme ESG มากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต สวนหุ้นที่จะมีผลกระทบเชิงลบคือหุ้นที่มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ อาทิ
PTT Group (ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 44.5 ล้านตัน ในปี 2022) PTTEP (ปล่อย 36.2 ล้านตัน SCC (22.1 ล้านตัน) SCCC (11 ล้านตัน) เป็นต้น
ท่านสามารถอ่านและดาวน์โหลดเอกสารได้จาก carbon credit_Cluster