Macro Making Sense 2
PDF Available  
Macro Making Sense

Macro Making Sense – 2 ธ.ค. 2567

By ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์|2 Dec 24 8:12 AM
สรุปสาระสำคัญ

สรุปประเด็นทรูโดเยือนทรัมป์ IMF สนับสนุนลดดอกเบี้ยต่อเนื่อง สินเชื่อแบงก์ไตรมาส3 ติดลบสูงสุดรอบ 14 ปี ธุรกิจชะลอขอกู้

  • ทรูโดเยือนทรัมป์ ท่ามกลางวิกฤตความสัมพันธ์การค้าสหรัฐฯ-แคนาดา เรามองว่าทรัมป์ใช้มาตรการภาษีนำเข้าเป็นเครื่องมือต่อรองทางการค้า โดยในช่วงแรก ทรัมป์ไม่น่าจะใช้มาตรการดังกล่าวอย่างเต็มรูปแบบ แต่เป็นเพียงเครื่องมือที่จะดึงความสนใจจากประเทศคู่ค้า เรามองว่า จุดมุ่งหมายหลักของทรัมป์อาจเป็นการจำกัดการผลิตและการส่งออกน้ำมันของแคนาดา เพื่อให้สหรัฐสามารถผลิตและส่งออกทดแทนได้

  • IMF คาดเศรษฐกิจไทยโต 2.7% ปีนี้ สนับสนุนลดดอกเบี้ยต่อเนื่อง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เผยผลการประเมินเศรษฐกิจไทยประจำปี 2567 (Article 4 Consultation) โดบคาดการณ์การเติบโตที่ 2.7% และ 2.9% ในปีนี้และปีหน้า พร้อมเสนอแนะให้รัฐบาลลดการขยายตัวทางการคลังลงบ้างในระยะสั้น และและแนะนำให้พิจารณาลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รวมถึงเร่งแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนและปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อรับมือความท้าทายในอนาคต

  • เรามองว่าเศรษฐกิจไทยกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ โดยมีจุดแข็งจากภาวะเศรษฐกิจเชิงวัฐจักรที่เป็นขาขึ้น แต่ภาวะเศรษฐกิจเชิงโครงสร้างเป็นขาลง และมีความเสี่ยงจากภาคต่างประเทศ ดังนั้น จึงต้องทำนโยบาย (1) การคลังผ่อนคลายอย่างระมัดระวัง โดยเน้นการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และคำนึงถึงวินัยการคลัง (2) การเงินผ่อนคลายมากขึ้น แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้เป็นการเร่งหนี้ครัวเรือนให้เพิ่มขึ้น และ (3) การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจและเจรจาการค้าโดยคำนึงผลประโยชน์ประเทศเป็นสำคัญ
  • ธปท. ชี้สินเชื่อแบงก์ไตรมาส3 ติดลบสูงสุดรอบ 14 ปี ธุรกิจชะลอขอกู้ ธปท. เปิดภาพรวม “ธนาคารพาณิชย์” ไตรมาส 3 ปี 67 “สินเชื่อ” กลับมา “หดตัว” ครั้งแรกที่ 2% เป็นการ “ติดลบ” ในรอบ 14 ปี นับตั้งแต่ “วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์” เหตุ “ภาครัฐ-ธุรกิจ” คืนหนี้พุ่ง สินเชื่อปล่อยใหม่ชะลอตัว

  • เรามองว่า สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ที่หดตัว 2% ในไตรมาส 3/2567 ซึ่งเป็นการติดลบครั้งแรกนับตั้งแต่วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2553 สะท้อนให้เห็นถึงความเปราะบางของเศรษฐกิจที่กำลังเผชิญความท้าทายรอบด้าน นอกจากนั้น คุณภาพสินเชื่อที่เสื่อมลงอย่างต่อเนื่อง โดยหนี้เสีย (NPL) เพิ่มขึ้นเป็น 2.97% คิดเป็นมูลค่ากว่า 5.53 แสนล้านบาท และที่น่าห่วงคือการเพิ่มขึ้นนี้เกิดขึ้นในทุกกลุ่มสินเชื่อ โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบางที่มีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาทต่อเดือน ในขณะเดียวกัน ความเสี่ยงจากภายนอกก็เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะแรงกดดันจากสงครามการค้าที่อาจรุนแรงขึ้นหลังการชนะเลือกตั้งของทรัมป์ ความไม่แน่นอนอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการลงทุนของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

  • เรามองว่า ธปท. ควรพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยและผ่อนคลายมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ของภาคครัวเรือนและธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นการส่งสัญญาณสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การปรับลดดอกเบี้ย ควบคู่ไปกับมาตรการแก้หนี้ครัวเรือนที่กำลังจะออกมา จะเป็นแพ็กเกจนโยบายที่ช่วยประคองเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เผชิญความท้าทาย และเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันก่อนที่ผลกระทบจากสงครามการค้าจะรุนแรงขึ้น ทั้งนี้ เรามองว่า การทำนโยบายการเงินเชิงรุกจะช่วยป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจขาลง แต่หากรอช้าอาจทำให้ต้นทุนทางเศรษฐกิจและสังคมสูงเกินกว่าที่จะรับมือได้ในภายหลัง
Author
Slide3
ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์

หัวหน้านักวิจัยเศรษฐกิจ

Most Read
1/5
Related Articles
Most Read
1/5