Macro Making Sense 1
PDF Available  
Macro Making Sense

Macro Making Sense – 4 พ.ย. 2567

By ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์|4 Nov 24 8:17 AM
สรุปสาระสำคัญ

สรุปประเด็นการจ้างงานสหรัฐชะลอแรง ความเสี่ยงที่ไทยจะถูกปรับลดอันดับเครดิตต่ำ สรุปผลการประชุม Monetary Policy Forum

  • การจ้างงานสหรัฐชะลอลงรุนแรงจากปัจจัยชั่วคราว คาด Fed ลดดอกเบี้ยต่อ การจ้างงานเดือนที่แล้วเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าที่สุดนับตั้งแต่ปี 2020 จากผลของเฮอริเคนและการประท้วงของ Boeing โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) เพิ่มขึ้นเพียง 12,000 ตำแหน่ง หลังจากมีการปรับลดตัวเลขสองเดือนก่อนหน้า อัตราการว่างงานทรงตัวที่ 4.1% และค่าจ้างรายชั่วโมงและรายสัปดาห์ยังคงแข็งแกร่ง โดยขยายตัว 4.0% เรามองว่า อัตราเงินเฟ้อที่ชะลอ ขณะที่ตลาดแรงงานทรงตัว (วัดจากอัตราว่างงาน) ทำให้ Fed น่าจะลดดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป

  • ความเสี่ยงที่ไทยจะถูกปรับลดอันดับเครดิตต่ำ INVX ได้จัดทำดัชนีความเสี่ยงการถูกปรับลดอันดับเครดิตของพันธบัตรรัฐบาลไทย INVX พิจารณาจากเกณฑ์การปรับลดอันดับเครดิตของ Moody’s และ S&P เป็นหลัก โดยแบ่งความเสี่ยงออกเป็น 5 ด้าน คือ (1) ด้านการคลัง (2) ด้านเศรษฐกิจ (3) ด้านการเงินภายนอก (4) ด้านความเสี่ยงเชิงสถาบันและการเมือง และ (5) ความเสี่ยงเชิงระบบ

  • โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ยความเสี่ยงถูกปรับลดอันดับเครดิต ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ 1.95 หรือเสี่ยงเล็กน้อย โดยปัจจัยที่เสี่ยงต่ำ ได้แก่ ภาคการเงินภายนอก และภาคเศรษฐกิจ เนื่องจากเสถียรภาพด้านการเงินต่างประเทศของไทยดีมาก ขณะที่เศรษฐกิจไทยไม่มีความเสี่ยงวิกฤตในระยะใกล้ แต่มีปัญหาด้านการเติบโต

  • สำหรับความเสี่ยงด้านการคลังอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยที่เสี่ยงด้านการคลังสูงสุดได้แก่การขาดดุลงบประมาณเกิน 3% GDP ต่อเนื่อง ขณะที่ภาระดอกเบี้ยต่อรายได้ ความสามารถในการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ รวมถึงระดับหนี้สาธารณะไม่เสี่ยงมากนัก ขณะที่ภาคที่กลับมีความเสี่ยงสูงสุดได้แก่ความเสี่ยงเชิงระบบ ที่เกิดจากหนี้ภาคเอกชน (โดยเฉพาะครัวเรือน) และหนี้ภาคอสังหาฯ ที่สูงและกระทบภาคการเงิน
  • โดยสรุป เรามองว่าความเสี่ยงที่ตราสารหนี้รัฐบาลไทยจะถูกปรับลดอันดับเครดิตค่อนข้างต่ำ เนื่องจากสถานะความเสี่ยงด้านการคลัง (โดยเฉพาะการจัดทำงบประมาณ) การเมือง (รัฐบาลดูมีเสถียรภาพขึ้น) และเศรษฐกิจ (นโยบายการเงินการคลังเริ่มผ่อนคลาย) ดีขึ้น แต่ความเสี่ยงของตราสารหนี้ไทย คือความเสี่ยงเชิงระบบและความเสี่ยงเชิงสถาบันมากกว่า

  • สรุปผลการประชุม Monetary Policy Forum ครั้งที่ 3/2567 เรามองว่า มีความเป็นไปได้ที่ ธปท. จะลดดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 18 ธ.ค. เนื่องจาก (1) เป้าหมายนโยบายการเงินคือการเติบโตของเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพในระยะยาว โดยหากปล่อยให้เงินเฟ้อสูงขึ้นบ้างแต่ทำให้เศรษฐกิจกลับไปขยายตัวเต็มศักยภาพ ธปท. ก็รับได้ (2) การลดเพียงครั้งเดียว อาจยังไม่ทำให้ภาวะการเงินผ่อนคลายขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และ (3) การที่กระทรวงการคลัง ไม่ปรับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อขึ้น หรือเลือกค่าเดียว (เช่น 2%) แต่ยังให้เป็นกรอบแบบเดิมนั้น หากวิเคราะห์ในเชิง political economy อาจเป็นการแลกเปลี่ยนกับ ธปท. ให้มีช่องว่างในการทำนโยบายได้ แลกกับการที่ ธปท. ลดดอกเบี้ย เพื่อทำให้เศรษฐกิจกลับมาขยายตัวดีขึ้น ท่ามกลางเงินเฟ้อที่ต่ำกว่ากรอบและภาวะการเงินที่ยังตึงตัวในปัจจุบัน
  •  
Author
Slide3
ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์

หัวหน้านักวิจัยเศรษฐกิจ

Most Read
1/5
Related Articles
Most Read
1/5