ผลิตภัณฑ์

  1. หุ้น เป็นหุ้นส่วนบริษัท ด้วยเงินหลักร้อย
  2. กองทุน เปิดพอร์ตแบบอีซี่.. มีมืออาชีพคอยดูแลให้
  3. Intelligent Portfolios เปิดโหมดอัตโนมัติสำหรับดูแลการลงทุน
  4. สินทรัพย์ดิจิทัล การลงทุนบนสินทรัพย์แห่งอนาคต
  5. ตราสารหนี้และหุ้นกู้ ลงทุนเพื่อผลตอบแทนระยะยาว
  6. ตราสารอนุพันธ์ มองการณ์ไกล ด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
  7. บริการยืมและให้ยืมสินทรัพย์ ปล่อยเช่า-ขอยืมหุ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุน
  8. กองทุนส่วนบุคคล มีผู้จัดการช่วยให้การลงทุนของคุณง่ายขึ้น
  9. คู่มือการใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา

แหล่งความรู้ด้านการลงทุน

  1. เริ่มลงทุนก้าวแรก เริ่มลงทุนก้าวแรก
  2. ลงทุนตามสินทรัพย์ ลงทุนตามสินทรัพย์
  3. บทวิเคราะห์การลงทุน บทวิเคราะห์การลงทุน
  4. แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน

ข่าวสารและโปรโมชัน

  1. โปรโมชันและสิทธิพิเศษเพื่อคุณ
  2. อัปเดตข่าวสาร
  3. ประกาศ
  4. Point to invest
  5. INVX Point​
scbs image

โปรโมชันและสิทธิพิเศษ

พิเศษสำหรับลูกค้า Innovestx เท่านั้นใช้พอยต์แลกกองทุนรวมที่โดนใจ

ดูเพิ่มเติม

เกี่ยวกับเรา

  1. เกี่ยวกับเรา ร่วมเติบโตอย่างยั่งยืนไปกับเรา InnovestX
  2. ร่วมงานกับเรา ก้าวไปข้างหน้าแบบมีสไตล์
ค้นหาล่าสุด
เคลียร์
{{GetHitSearchValue.keywordTitle}}
22 ก.ย. 2566;
544
แชร์บทความนี้
test_blog_details_img

เนื้อหาโดยรวม

สรุปภาพรวมการลงทุนสัปดาห์นี้ ​ 

สัปดาห์นี้ตลาดปรับตัวลงแรงจาก  (1) การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ของสหรัฐที่แม้ว่าจะ (1.1) มีมติคงดอกเบี้ยที่ 5.25-5.50% ตามคาด แต่ส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในสิ้นปีนี้ (แต่แนวโน้มไม่เอกฉันท์ โดยคณะกรรมการ FOMC 7 ราย จาก 19 ราย ให้คงที่ไปจนถึงสิ้นปี) (1.2) ส่งสัญญาณนโยบายการเงินเข้มงวดโดยปรับการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย (Dot plot) ในปี 2023 และ 2024 เพิ่มขึ้น 50 bps ในแต่ละปีสู่ 5.1% และ 3.9% จากประมาณการเดิมที่ 4.6% และ 3.4% ตามลำดับ (1.3) ปรับประมาณการการขยายตัว GDP ในปีนี้ที่ 2.1% จาก 1.0% ขณะที่เงินเฟ้อปรับตัวลดลงกว่าที่เคยคาดไว้ (Core PCE จาก 3.9% เป็น 3.7% ในปีนี้) (1.4) ในการแถลงข่าวของประธาน Fed ส่งสัญญาณมุมมองค่อนข้างสมดุล (ไม่ Hawkish ตามการคาดการณ์ของ FOMC) โดยให้น้ำหนักทั้งความเสี่ยงของการเข้มงวดมากเกินไปเมื่อเทียบกับการเข้มงวดน้อยเกินไป นอกจากนี้ยังกล่าวว่าการคาดการณ์ของคณะกรรมการไม่ได้ผูกมัด  แต่ก็ยังยืนยันว่าจะต่อสู้เงินเฟ้อ (2) เงินเฟ้ออังกฤษในเดือนส.ค. ปรับลงแรง โดยขยายตัว 6.7% ต่อปี ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ 7.0%  ทำให้ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25% ทำให้นักวิเคราะห์มองว่า การที่ Fed และ BoE คงดอกเบี้ยครั้งนี้ ส่วน ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้าย อาจเริ่มเป็นสัญญาณการคงดอกเบี้ยของธนาคารกลางขนาดใหญ่ทั่วโลก หากเงินเฟ้อไม่ปรับขึ้นอีก (3) สภาคองเกรสสหรัฐกำลังพิจารณาร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราว (Continuing resolution) โดยสภาผู้แทนฯ ซึ่งพรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมากและวุฒิสภาสหรัฐซึ่งพรรคเดโมแครตครองเสียงข้างมาก มีเวลาจนถึงวันที่ 30 ก.ย.นี้ ในการหลีกเลี่ยงไม่ให้มีการปิดหน่วยงานบางส่วนของรัฐบาลสหรัฐหรือชัตดาวน์ครั้งที่ 4 ในรอบ 10 ปี (5) หนี้สาธารณะของสหรัฐเพิ่มสูงขึ้นเกิน 33 ล้านล้านดอลลาร์เป็นประวัติการณ์ครั้งแรก ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์ก่อนที่รัฐบาลอาจจะต้องปิดหน่วยงานของรัฐบาล เนื่องจากขาดงบประมาณในการดำเนินงาน (6) ผลสำรวจซึ่งจัดทำโดยสมาคมหอการค้าอเมริกัน (AmCham) ในเซี่ยงไฮ้ระบุว่า ปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้จำนวนบริษัทสหรัฐที่ดำเนินธุรกิจในจีนและมีมุมมองในเชิงบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจจีนในระยะ 5 ปีนั้น ลดลงแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ (7) เงินเฟ้อผู้บริโภคของยูโรโซนในเดือน ส.ค.อยู่ที่ 5.2% ต่อปี ต่ำกว่าที่คาดไว้เล็กน้อยที่ 5.3% แต่ยังคงสูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ของ ECB

ตลาดหุ้นโลก 

สัปดาห์นี้ตลาดปรับตัวลงแรงจาก  การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ของสหรัฐที่แม้ว่าจะมีมติคงดอกเบี้ยที่ 5.25-5.50% ตามคาด แต่ส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในสิ้นปีนี้ และยังคงนโยบายการเงินเข้มงวดโดยปรับการคาดการณ์ (Dot plot) ว่าอัตราดอกเบี้ยจะสูงยาวนานขึ้น (Higher for longer) โดยปรับการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยในปี 2023 และ 2024 เพิ่มขึ้น 50 bps ในแต่ละปี ส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรสองปีของสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2006 และขณะที่หุ้นสหรัฐและทั่วโลกตกต่ำลง รวมถึงทำให้ราคาน้ำมันอ่อนตัวลงเล็กน้อย 

ตลาดหุ้นไทย

ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง โดยนักลงทุนกังวลประเด็นเงินบาทอ่อนค่ารุนแรงและผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับเพิ่มขึ้นจาก (1) กระแสข่าวเปลี่ยนตัวผู้ว่าการฯ ธปท.ที่ไม่เป็นความจริง  (2) ความกังวลว่ารัฐบาลจะต้องออกพันธบัตรมากขึ้นเพื่อชดเชยโครงการ Digital Wallet ขณะที่นายกฯ ร่วมประชุม UN ณ กรุงนิวยอร์ค โดยก่อนการประชุมใหญ่ได้หารือกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น BlackRock Microsoft-Google ชวนลงทุน ธุรกิจ Clean Energy และ Data Center ในไทย ด้านกกพ. หารือ ปตท.-กฟผ. ลดค่าไฟงวด ก.ย.-ธ.ค. 66 เหลือ 3.99 บาท/หน่วย โดยให้ ปตท. ปรับลดค่าก๊าซเพื่อผลิตไฟฟ้า ขณะที่ กฟผ. ให้รับภาระค่าไฟฟ้าคงค้างกว่า 1 แสนล้านบาทไปก่อน 

ตลาดพันธบัตร

ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้นที่ 4.51% หลังตลาดมองว่า Fed ส่งสัญญาณ Higher for longer ขณะที่ ระยะสั้น 2 ปี เพิ่มขึ้นที่ 5.14% สูงสุดตั้งแต่ปี 2006 ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ย 2-10 ปี ลดลงที่ -0.63 bps​

ผลตอบแทนพันธบัตรไทยอายุ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้นที่ 3.14% จากความกังวลว่ารัฐบาลจะต้องออกพันธบัตรมากขึ้นขณะที่ระยะสั้น อายุ 2 ปี เพิ่มขึ้นที่ 2.54% ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิที่ 1.8 พันล้านบาท

ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์

ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับลดลงจากราคาปิดวันศุกร์ที่ 15 ก.ย. ที่ 93.9 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 93.0 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ด้านราคาทองคำ (spot) ปรับลดลงเล็กน้อยที่ 1,938.9 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์

ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (DXY) แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยที่ 105.6 จุด  จากความเสี่ยงเงินเฟ้อที่กลับมาท่ามกลางราคาน้ำมันแพง ขณะที่ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงที่ 148.0 เยน ด้านค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.07 ดอลลาร์ต่อยูโร ด้านค่าเงินเอเชีย ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงแรงที่ 36.19 บาท กระแสข่าวเปลี่ยนตัวผู้ว่าการฯ ธปท.ที่ไม่เป็นความจริง ขณะที่เงินหยวนอ่อนค่าลงที่ระดับ 7.31 หยวน 

PDF คลิกอ่านเพิ่มเติม WealthWeekend_230922_T

กลับด้านบน