ผลิตภัณฑ์

  1. หุ้น เป็นหุ้นส่วนบริษัท ด้วยเงินหลักร้อย
  2. กองทุน เปิดพอร์ตแบบอีซี่.. มีมืออาชีพคอยดูแลให้
  3. Intelligent Portfolios เปิดโหมดอัตโนมัติสำหรับดูแลการลงทุน
  4. สินทรัพย์ดิจิทัล การลงทุนบนสินทรัพย์แห่งอนาคต
  5. ตราสารหนี้และหุ้นกู้ ลงทุนเพื่อผลตอบแทนระยะยาว
  6. ตราสารอนุพันธ์ มองการณ์ไกล ด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
  7. บริการยืมและให้ยืมสินทรัพย์ ปล่อยเช่า-ขอยืมหุ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุน
  8. กองทุนส่วนบุคคล มีผู้จัดการช่วยให้การลงทุนของคุณง่ายขึ้น
  9. คู่มือการใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา

แหล่งความรู้ด้านการลงทุน

  1. เริ่มลงทุนก้าวแรก เริ่มลงทุนก้าวแรก
  2. ลงทุนตามสินทรัพย์ ลงทุนตามสินทรัพย์
  3. บทวิเคราะห์การลงทุน บทวิเคราะห์การลงทุน
  4. แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน

ข่าวสารและโปรโมชัน

  1. โปรโมชันและสิทธิพิเศษเพื่อคุณ
  2. อัปเดตข่าวสาร
  3. ประกาศ
  4. Point to invest
  5. INVX Point​
scbs image

โปรโมชันและสิทธิพิเศษ

พิเศษสำหรับลูกค้า Innovestx เท่านั้นใช้พอยต์แลกกองทุนรวมที่โดนใจ

ดูเพิ่มเติม

เกี่ยวกับเรา

  1. เกี่ยวกับเรา ร่วมเติบโตอย่างยั่งยืนไปกับเรา InnovestX
  2. ร่วมงานกับเรา ก้าวไปข้างหน้าแบบมีสไตล์
ค้นหาล่าสุด
เคลียร์
{{GetHitSearchValue.keywordTitle}}

เงินบาทแข็งค่า-อ่อนค่าเกิดจากอะไร? แชร์วิธีรับมือของนักลงทุน

blog_list_heading
InnovestX
01 เม.ย. 2567;
3573
แชร์บทความนี้
test_blog_details_img

เนื้อหาโดยรวม

    เงินแข็งค่า-อ่อนค่าคืออะไร? นักลงทุนต้องรับมืออย่างไร? 

    ใครบ้างที่จะได้ประโยชน์เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น มาหาคำตอบกันได้ในบทความนี้

ค่าเงินทุกสกุลมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกวัน รวมถึงค่าเงินบาทที่มีทั้งแข็งค่าและอ่อนลงตามความผันผวนด้วย ในบทความนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกันว่า การที่เงินแข็งค่าและอ่อนค่าคืออะไร รวมถึงเกิดจากปัจจัยใดบ้าง พร้อมทั้งหาคำตอบว่าผลกระทบจากการแข็งค่าและอ่อนค่าของเงินมีอะไร ทำไมนักลงทุนถึงควรเตรียมตัวรับมือกับความผันผวนของค่าเงินบาทที่เปลี่ยนแปลงไป

เงินบาทแข็งค่า และอ่อนค่ามีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน

การแข็งค่าและอ่อนค่าของเงินบาทคืออะไร?

การแข็งค่าและอ่อนค่าของเงินบาทนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลบาท กับสกุลเงินอื่น ๆ โดยสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ดังนี้

เงินแข็งค่าคืออะไร?

การที่เงินแข็งค่าขึ้น คือการที่เงินสกุลนั้น ๆ มีความแข็งแรง และมีมูลค่ามากกว่าเมื่อนำไปเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ ทำให้สามารถนำเงินสกุลที่แข็งค่าไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินสกุลอื่น ๆ ได้จำนวนมากขึ้น

ดังนั้น การที่เงินบาทแข็งค่า จึงหมายถึงการที่สามารถนำเงินบาทไปแลกซื้อเงินสกุลอื่น ๆ ได้มากขึ้น

เช่น สมมติให้เงิน 100 บาท เคยนำไปแลกได้ 300 เยน

หากเงินบาทแข็งค่าขึ้น เงิน 100 บาท อาจแลกได้ถึง 400 เยน

เงินอ่อนค่าคืออะไร?

การที่เงินบาทอ่อนค่าลง เป็นเหตุการณ์ที่ตรงข้ามกับเงินแข็งค่าขึ้น หรือหมายความว่า เงินสกุลนั้น ๆ มีมูลค่าที่ลดลงเมื่อนำไปเทียบกับสกุลเงินอื่น ส่งผลให้สามารถแลกซื้อเงินสกุลอื่นได้น้อยลงด้วย

ดังนั้น การที่เงินบาทอ่อนค่า จึงหมายถึงการที่เงินบาทสามารถแลกซื้อเงินสกุลอื่น ๆ ได้น้อยลง

เช่น สมมติให้เงิน 100 บาทเคยนำไปแลกได้ 300 เยน

หากเงินบาทอ่อนค่าลง เงิน 100 บาท อาจแลกได้เพียง 200 เยน

จะรู้ได้อย่างไรว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นหรืออ่อนค่าลง?

หากอยากรู้ว่าตอนนี้ค่าเงินบาทกำลังแข็งค่าหรืออ่อนค่า สามารถดูได้จากอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินสกุลอื่น ๆ ในตลาดการเงินโลก แต่โดยส่วนมากเงินบาท มักจะนำไปเทียบกับเงินสกุล USD หรือเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ

ปัจจัยที่มีผลต่อการแข็งค่า และอ่อนค่าของเงินบาท

การที่เงินบาทแข็งค่า หรืออ่อนค่าลงเกิดจาก 2 ปัจจัยหลักคือ

● ปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทานในการซื้อ และขายเงินบาท

หากตลาดโลกมีความต้องการซื้อเงินบาทมากขึ้น ค่าเงินบาทก็จะแข็งค่า แต่หากความต้องการขายเงินบาทสูงขึ้นก็จะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลง

● ปัจจัยด้านนโยบาย ในประเทศ

นโยบายการเงิน และนโยบายการคลังของไทยเป็นปัจจัยที่ทำให้เงินบาทแข็งหรืออ่อนค่าได้ เพราะนักลงทุนต้องการถือเงินสกุลของประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงเพื่อรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น

ดังนั้นหากประเทศไทยมีนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดและมีความสมดุล ก็จะทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่หากนโยบายการเงินผ่อนคลาย หรือ มีการดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลมาก ก็จะทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นและทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง

ผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อเงินบาทแข็งค่าและอ่อนค่าลง

1. การส่งออกและนำเข้า

การนำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างไทยกับต่างชาติ จะได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่า หรืออ่อนตัวลง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเงินบาทแข็งค่า สินค้าของไทยจะแพงขึ้นทำให้การส่งออกน้อยลง แต่ในขณะเดียวกัน จะสามารถขายสินค้าส่งออกได้ในราคาที่สูงขึ้น และมีการนำเข้าสินค้ามากขึ้น ในขณะที่หากค่าเงินอ่อนตัวลง การส่งออกจะสูงขึ้นเพราะต่างประเทศมีกำลังซื้อมากกว่า แต่การนำเข้าสินค้าจะน้อยลงเนื่องจากราคาสินค้าในต่างประเทศสูงขึ้น

2. การท่องเที่ยว

ผลกระทบจากการที่เงินบาทแข็งค่าต่อการท่องเที่ยว คือนักท่องเที่ยวจะเดินทางมายังประเทศไทยน้อยลง แต่เมื่อเงินบาทอ่อนตัวลงก็จะมีนักท่องเที่ยวจากต่างชาติเดินทางเข้ามาเที่ยว และใช้จ่ายในไทยมากขึ้น

3. ตลาดหุ้น

ค่าเงินบาทกับตลาดหุ้นนั้นมีความสัมพันธ์กัน เพราะหากเงินบาทแข็ง ค่า นักลงทุนจากทั่วโลกก็จะหันมาลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น และทำให้ดัชนีหุ้นของไทยสูงขึ้นด้วย ในทางกลับกันหากเงินบาทอ่อนตัวลงก็อาจทำให้ดัชนีหุ้นในตลาดหุ้นไทยต่ำลงได้เช่นกัน

4. เงินเฟ้อ

การแข็งค่าของเงินบาทจะช่วยลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเพราะทำให้สินค้านำเข้ามีราคาถูกลง ในขณะที่การอ่อนค่าของเงินบาทจะเพิ่มแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเพราะทำให้สินค้านำเข้ามีราคาแพงขึ้น 5. อัตราดอกเบี้ย โดยทั่วไปแล้ว หากเงินบาทแข็งค่าขึ้น ธนาคารกลางจะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เนื่องจากต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ในขณะที่หากเงินบาทอ่อนค่าลง ธนาคารกลางมักจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ หรือเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ

นักลงทุนต้องวางแผนการลงทุนเมื่อเงินบาทแข็งค่า หรืออ่อนค่าลง


เมื่อเงินบาทแข็งค่าหรืออ่อนค่า ใครบ้างที่ได้ประโยชน์?

เมื่อค่าของเงินมีการเปลี่ยนแปลงไป แน่นอนว่าย่อมทำให้เกิดผลกระทบ ลองมาดูกันว่าหากเงินบาทแข็งค่าขึ้นใครจะได้ประโยชน์ หรือเมื่อเงินบาทอ่อนตัวลงประโยชน์จะไปตกอยู่ที่ใครบ้าง

เงินอ่อนค่าคืออะไร?

การที่เงินบาทอ่อนค่าลง เป็นเหตุการณ์ที่ตรงข้ามกับเงินแข็งค่าขึ้น หรือหมายความว่า เงินสกุลนั้น ๆ มีมูลค่าที่ลดลงเมื่อนำไปเทียบกับสกุลเงินอื่น ส่งผลให้สามารถแลกซื้อเงินสกุลอื่นได้น้อยลงด้วย

ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากเงินบาทแข็งค่าขึ้นมีใครบ้าง?

● ผู้นำเข้าสินค้าและบริการ ผู้นำเข้าสินค้าและบริการจะได้ประโยชน์จากค่าเงินที่แข็งขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าและบริการจากต่างประเทศมีราคาถูกลง ช่วยลดต้นทุนการนำเข้าทำให้ได้กำไรมากขึ้น

● ผู้บริโภคทุกคน ประชาชนทุกคนจะได้รับประโยชน์เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น เพราะสินค้าและบริการจากต่างประเทศมีราคาถูกลง ทำให้ซื้อสินค้าและบริการได้สะดวกขึ้น

● ผู้ที่มีหนี้สินต่างประเทศ เมื่อค่าเงินบาทแข็งขึ้น ผู้มีหนี้สินในต่างประเทศจะได้ประโยชน์เนื่องจากเงินบาทมีมูลค่ามากขึ้น ทำให้สามารถใช้เงินบาทชำระหนี้ได้มากขึ้น

● นักลงทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ นักลงทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศสามารถได้ประโยชน์จากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น เพราะจะทำให้ใช้เงินบาทมีจำนวนมากขึ้น ช่วยให้การลงทุนในต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น

ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่าลงมีใครบ้าง?

● ผู้ส่งออกสินค้าและบริการ ผู้ส่งออกสินค้าและบริการของไทยไปต่างประเทศ จะได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเนื่องจากราคาสินค้าและบริการของไทยมีราคาถูกลงต่อผู้บริโภคในต่างประเทศ จึงมีโอกาสที่จะสามารถส่งออกสินค้าได้เพิ่มมากขึ้น

● ผู้ที่มีรายได้จากต่างประเทศ เมื่อเงินบาทอ่อนตัวลงผู้ที่มีรายได้จากต่างประเทศจะได้ประโยชน์เนื่องจากรายได้ที่อยู่ในสกุลเงินต่างประเทศจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น

เมื่อเงินบาทแข็งค่า และอ่อนค่า นักลงทุนควรทำอย่างไร?

นักลงทุนควรทำอย่างไรเมื่อเงินบาทแข็งค่า?

หากเงินบาทแข็งค่าขึ้น นักลงทุนควรพิจารณาการลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ เช่น หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ต่างประเทศ เป็นต้น

นักลงทุนควรทำอย่างไรเมื่อเงินบาทอ่อนค่า?

หากเงินบาทอ่อนค่าลง นักลงทุนควรพิจารณาการลงทุนในสินทรัพย์ในประเทศ เช่น หุ้นไทย ตราสารหนี้ไทย เป็นต้น การคอยสังเกตการแข็งค่าและอ่อนค่าของเงินบาทเอาไว้ จะช่วยให้คุณรับมือและวางแผนการลงทุนได้อย่างดีที่สุด

โดยไม่ว่าจะลงทุนในประเทศหรือต่างประเทศ ก็สามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายรูปแบบได้เลยในแอปเดียวที่ InnovestX พร้อมเรียนรู้เทคนิค และมุมมองการลงทุนจากผู้เชี่ยวชาญผ่านบทความดี ๆ มากมายของเรา

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน InnovestX ได้ฟรีทั้งระบบ iOS และ Android

หากต้องการสอบถามข้อมูลด้านการใช้งานเพิ่มเติมโทร 02-949-1999

คำเตือน * การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศโดยตรงมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน

ข้อมูลอ้างอิง:

1. เงินบาท “อ่อนค่า” VS “แข็งค่า” คืออะไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 จาก https://thunhoon.com/article/267300

2. ทำไม ค่าเงิน แข็งค่า-อ่อนค่า ปัจจัยอะไรที่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยน. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 จาก https://www.moneybuffalo.in.th/economy/what-factors-determine-the-currency

3. ปัจจัยกำหนด “ค่าเงิน” (แข็งค่า-อ่อนค่า). สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 จาก https://www.gpf.or.th/thai2019/2Member/main.php?page=31-3&subject=สังคมสูงวัยทำไมต้องออม&pk=1664&mid=37&menu=knowledgeoom&lang=th

 

หัวข้ออื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
กลับด้านบน