Macro Making Sense

INVX Macro Making Sense – 1 ก.ค. 2567 สรุปประเด็นเงินเฟ้อ Core PCE ของสหรัฐชะลอตัว กนง.ส่องเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวสู่ ‘ระดับศักยภาพ‘เศรษฐกิจไทยเริ่มชะลอลงในเดือน พ.ค.

1 Jul 24 9:00 AM
Macro Making Sense 3

สรุปประเด็นเงินเฟ้อ Core PCE ของสหรัฐชะลอตัว กนง.ส่องเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวสู่ ‘ระดับศักยภาพ‘เศรษฐกิจไทยเริ่มชะลอลงในเดือน พ.ค.

 

เงินเฟ้อ Core PCE ของสหรัฐชะลอตัว

  • Core PCE เพิ่มขึ้น 0.08% ต่อเดือน ในเดือน พ.ค. ต่ำสุดนับตั้งแต่ปลายปี 2020 และ 2.6% ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนที่ 2.8% ขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 0.3% เพิ่มขึ้นจาก 0.1% ในเดือน เม.ย. ซึ่งการเพิ่มขึ้นดังกล่าวได้รับแรงหนุนจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น (เพิ่มขึ้น 0.5% ต่อเดือน)

กนง.ส่องเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ถึงปีหน้า เริ่มฟื้นตัวสู่ ‘ระดับศักยภาพ‘

กนง. เปิดภาพรวม “เศรษฐกิจไทย” ครึ่งปีหลัง คาดมีสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง แรงหนุน “ท่องเที่ยว-ส่งออก-การบริโภคเอกชน-การลงทุนภาครัฐ” ที่เริ่มเห็นการฟื้นตัวดีขึ้น ส่งผลทั้งปีเศรษฐกิจไทยโตตามคาด 2.6% รับห่วงปรับกรอบ “เงินเฟ้อ” หวั่นซ้ำเติมกลุ่มเปราะบาง

 

เราวิเคราะห์ว่า


1. ธปท. ส่งสัญญาณว่า 2 เป้าหมายนโยบายการเงิน คือ เป้าหมายเศรษฐกิจ และเป้าหมายเงินเฟ้อ กำลังบรรลุแล้ว จึงเหลือเป้าหมายเสถียรภาพการเงิน ซึ่งวัดจากหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ดังนั้น ธปท. จะทำให้เป้าหมายนี้เข้าเป้าผ่านการใช้เครื่องมือต่าง ๆ
2. ธปท. ไม่เห็นด้วยกับการปรับกรอบเงินเฟ้อขึ้น เพราะจะทำให้รายได้ประชาชน (Disposable income) ลดลง และปัจจุบันเงินเฟ้อคาดการณ์ก็อยู่ในกรอบเป้าหมายอยู่แล้ว
3. ธปท. มองว่า LTV ไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้ภาคอสังหาฯ ตกต่ำ จึงไม่จำเป็นต้องปรับ
4. ธปท. เห็นว่าความสามารถในการแข่งขันไทยสินค้าส่งออกไทยที่ลดลง เป็นปํญหาโครงสร้าง ไม่ใช่ผลจากนโยบายการเงิน และเห็นว่านโยบายการเงินปัจจุบันถูกต้องและเหมาะสมกับประเทศไทยแล้ว

 

เศรษฐกิจไทยเริ่มชะลอลงในเดือน พ.ค.

ตัวเลขเศรษฐกิจไทยเดือน พ.ค. เริ่มชะลอลงอีกครั้ง โดยปัจจัยบวกได้แก่รายได้เกษตรที่ฟื้นตัวจากผลผลิตทุเรียนเป็นหลัก ขณะที่ราคาข้าวและยางดีขึ้นจากผลผลิตขาดแคลน ด้านส่งออกยังขยายตัวแต่ชะลอตัว MoM โดยเฉพาะยานยนต์ (รถกระบะ) เครื่องใช้ไฟฟ้า (เครื่องปรับอากาศ) และสินค้าเกษตร (น้ำตาล) ด้านการผลิตภาคอุตฯ กลับมาหดตัวจากปิโตรเลียม ยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่อาหารและเครื่องดื่มยังดี (ดูสไลด์แยก) การลงทุนกลับมาหดตัวทั้งเครื่องมือเครื่องจักรและก่อสร้าง การท่องเที่ยวฟื้นตัวจากนักท่องเที่ยวระยะใกล้ (Short-haul) เป็นหลัก แต่นักท่องเที่ยวตะวันตกลดลง ด้าน INVX GDP-Now ลดลงจาก 2.2% สู่ 1.3%

การวิเคราะห์ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของไทยบ่งชี้ว่า


(1) การผลิตภาคอุตฯ ไทยยังไม่ฟื้นตัวหลังวิกฤต Covid-19
(2) อุตสาหกรรมไทยที่ยังมีความสามารถในการแข่งขัน มีประมาณ 1 ใน 4 ของอุตสาหกรรมทั้งหมด เช่น เชื้อเพลิงอากาศยาน เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอลล์ ผลไม้สดและแช่แข็ง และกระเป๋า (แต่เริ่มลดลงในระยะหลัง)
(3) อุตสาหกรรมที่สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง สินค้าอโลหะ Hard-disk drive อัญมณี การผลิตเหล็กและโลหะต่าง ๆ เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์การแพทย์ขั้นต้น อุปกรณ์สุขภัณฑ์ ยางและผลิตภัณฑ์พลาสติกด้านปิโตรเคมี (PE หรือ โพลีเอทิลิน (Polyethylene))

 

ท่าน สามารถอ่านและดาวน์โหลดเอกสารได้จาก  Macro making sense 240701_T

Most Read
Related Articles
Most Read