Mock_Thumbnail_16-9_Research-13
PDF Available  
Macro Making Sense

Macro Making Sense ประจำวันที่ 9 ก.ย. 2567

By ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์|12 Sep 24 2:19 PM
สรุปสาระสำคัญ
  1. การจ้างงานสหรัฐเดือน ก.ค. ต่ำกว่าคาด: การจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 1.42 แสนตำแหน่ง ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 1.60 แสนตำแหน่ง และมีการปรับลดตัวเลขสองเดือนก่อนลง 8.6 หมื่นตำแหน่ง

  2. ผลของการลดดอกเบี้ย: การลดดอกเบี้ยของ Fed คาดว่าจะทำให้เส้นผลตอบแทนพันธบัตรกลับมาเป็นปกติในไตรมาส 4/2024 และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น

  3. เงินเฟ้อไทยเดือน ส.ค. ชะลอตัว: เงินเฟ้อผู้บริโภคไทยเพิ่มขึ้น 0.35% ต่อปี ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 0.5% โดยราคาสินค้ากลุ่มพลังงานลดลง

สรุปประเด็นการจ้างงานสหรัฐเดือน ก.ค. ต่ำกว่าคาด ผลของการลดดอกเบี้ยต่อตลาดการเงิน และ เงินเฟ้อไทยเดือน ส.ค. ชะลอตัวต่ำกว่าคาด

  • การจ้างงานสหรัฐเดือน ก.ค. ต่ำกว่าคาด การจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้น 1.42 แสนตำแหน่งในเดือนที่แล้ว ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 1.60 แสนตำแหน่ง และมีการ Revise 2 เดือนก่อนลง 8.6 หมื่นตำแหน่ง อัตราว่างงานลดลงเป็น 4.2% ตามคาด การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างรายชั่วโมงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (3.8% ต่อปี จาก 3.6% ต่อปีในเดือนก่อน) นอกจากนั้น การที่ตำแหน่งงานเปิดใหม่ (JOLT) ปรับลดลงต่ำกว่า 8 ล้านตำแหน่งอย่างต่อเนื่องติดกัน 2 เดือน (Revise down) ทำให้เรากังวลทิศทางตลาดแรงงานมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่า สถานการณ์ดังกล่าวจะยังเป็นการชะลอตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จาก 3 เหตุผล (1) เป็นผลจากเฮอริเคน Beryl ในช่วงปลายเดือน มิ.ย.-ต้นเดือน ก.ค. (2) การเตรียมปรับลดดอกเบี้ยจาก Fed ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรลดลง ช่วยลดต้นทุนทางการเงินภาคธุรกิจได้ระดับหนึ่ง (3) หาก Fed ลดดอกเบี้ยลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป จะช่วย maintain อัตราว่างงานให้ใกล้เคียง 4%+/-
  • ผลของการลดดอกเบี้ยต่อผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐและอัตราแลกเปลี่ยน ในส่วนของผลตอบแทนพันธบัตร เรามองว่า (1) เส้นผลตอบแทนจะกลับมาเป็นปกติ (Normal Yield Curve) จากภาวะกลับทิศ (Inverted Yield Curve) ในไตรมาส 4/2024 และ (2) ผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว (10 ปี) ไม่น่าจะลดลงมาก ผลจากการขาดดุลการคลังในระดับสูง ขณะที่ผลตอบแทนระยะสั้น (2ปี) จะลดลงเพื่อเข้าใกล้หรือเหนือกว่า FFR ทำให้เกิดสถานการณ์ Bull Steepening ในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยนเรามองว่า (1) DXY มีแนวโน้มที่จะอ่อนค่ากว่าค่าเงินสกุลอื่น (ทั้งเยนและยูโร) และ (2) ในส่วนของเงินบาท อาจมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในปี 2025 (จากเฉลี่ย 36 บาทต่อดอลลาร์ในปีนี้ เป็นเฉลี่ย 35.6 บาทต่อดอลลาร์ในปี 2025) จาก (2.1) ธปท. ลดดอกเบี้ยน้อยกว่า Fed ท่ามกลางเงินเฟ้อไทยที่ปรับขึ้นมาเล็กน้อย ทำให้ดอกเบี้ยที่แท้จริงยังคงใกล้กัน (2.2) เศรษฐกิจสหรัฐและจีนที่จะชะลอลง ทำให้การส่งออกไทยอาจไม่ขยายตัวดีในปีหน้า ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดไม่น่าจะเกินดุลมากนัก
  • เงินเฟ้อไทยเดือน ส.ค. ชะลอตัวเหลือ 0.35% ต่ำกว่าคาด
  • เงินเฟ้อผู้บริโภคไทยสูงขึ้น 0.35% ต่อปี (0.07% ต่อเดือน) ชะลอลงจากเดือน ก.ค. ที่ 0.83% และต่ำกว่าที่เราคาดที่ 0.5% โดยราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสูงขึ้น โดยเฉพาะผักสด ผลไม้สด และอาหารสำเร็จรูป แต่สินค้ากลุ่มพลังงาน (ค่ากระแสไฟฟ้าและแก๊สโซฮอล์) ราคาปรับลดลง ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน สูงขึ้น 0.62% ต่อปี และ 0.12% ต่อเดือน
  • เรามองว่า เงินเฟ้อไทยในระยะต่อไปจะเพิ่มขึ้น แต่น้อยกว่าคาด จาก (1) Momentum เงินเฟ้อที่ลดลงกว่าที่เคยคาดจากหมวดพลังงาน (2) ต้นทุนการผลิตที่ลดลง ซึ่งอาจเป็นผลจากจีนที่ลดราคาสินค้าส่งออกขั้นกลาง ทำให้ผู้ผลิตมีต้นทุนที่ลดลงและอาจส่งผ่านให้ผู้บริโภคต่อไป และ (3) กำลังซื้อประชาชนที่เปราะบาง ทั้งนี้ เราปรับประมาณการเงินเฟ้อปีนี้ลงเหลือ 0.6% จาก 0.8% และในปี 2025 จะอยู่ที่ 1.4% ด้วยเงินเฟ้อที่มี Momentum ชะลอลง ท่ามกลางการส่งสัญญาณของผู้ว่าการฯ ธปท. ว่าอาจปรับลดดอกเบี้ยหากกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงิน ทำให้เราปรับประมาณการดอกเบี้ยไทย ว่าสามารถลดได้ 1 ครั้งในปีนี้ และเป็นไปได้ว่าจะลดอีก 2 ครั้งในปีหน้า
Author
Slide3
ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์

หัวหน้านักวิจัยเศรษฐกิจ

Most Read
Related Articles
Most Read