สัปดาห์นี้ตลาดหุ้นโลกปรับตัวลดลงจากตัวเลขเศรษฐกิจโดยเฉพาะตลาดแรงงานสหรัฐชะลอตัวต่อเนื่อง โดย (1) ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน (ADP) เดือน พ.ย. ขยายตัวลดลงต่ำกว่าคาดที่ 1.06 แสนตำแหน่ง โดยอยู่ที่ 1.03 แสนตำแหน่ง โดยการจ้างงานภาคสันทนาการปรับลดลง 7 พันตำแหน่ง เป็นครั้งแรกตั้งแต่หลังปี 2021 (2) ตัวเลขตำแหน่งงานเปิดใหม่ (JOLTs) เดือน ต.ค. ที่เปิดรับตำแหน่งงานที่ 8.73 ล้านตำแหน่ง ต่ำกว่าคาดที่ 9.3 ล้านตำแหน่ง ขณะที่สัดส่วนตำแหน่งงานเปิดใหม่ต่อผู้ว่างงานลดลงมาอยู่ที่ 1.3 เท่า (จากจุดสูงสุดที่ 2 เท่าเมื่อปี 2022) (3) ดัชนี ISM Service PMI เพิ่มขึ้นที่ 52.7 จาก 51.8 ในเดือน ต.ค. (4) สถาบันจัดอันดับ Moody’s ปรับลดมุมมองความน่าเชื่อถือพันธบัตรรัฐบาลจีนเป็น Negative นั้น จากการใช้จ่ายภาคการคลังที่เพิ่มขึ้น หลังจากที่ทางการประกาศอัดฉีดมาตรการการคลังเพิ่มขึ้น 1 ล้านล้านหยวน ซึ่งจะทำให้การขาดดุลการคลังของรัฐบาลกลางอยู่ที่ 3.8% ของ GDP ในปี 2023 (5) Moody’s ปรับลดมุมมองความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินจีน เช่น ธนาคารรัฐ 26 แห่ง จากความกังวลระดับหนี้ รวมถึงปรับลดแนวโน้มอันดับเครดิตของฮ่องกงและมาเก๊า (6) ประธานาธิบดีปูตินเดินทางเยือนตะวันออกกลางเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เริ่มทำสงครามกับยูเครน เพื่อหารือเรื่องพลังงาน (7) นักลงทุน คาด ECB จะเริ่มปรับลดดอกเบี้ยนโยบายช่วงไตรมาส 1/24 ประเมินทั้งปีปรับลดลง 1.50% หลังจากที่นางอิซาเบล ชนาเบล กรรมการบริหารของ ECB ระบุไม่มีความจำเป็นที่ ECB จะขึ้นดอกเบี้ยอีก หลังจากเงินเฟ้อลดลงเกินคาด (8) เรียวโซ ฮิมิโนะ รองผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ส่งสัญญาณว่า BOJ กำลังเข้าใกล้ ‘การเลิกใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ’ (9) ตัวเลขการค้าจีนยังคงอ่อนแอ โดยตัวเลขส่งออกเดือน พ.ย. กลับมาฟื้นตัวที่ 0.5% ต่อปี สูงกว่าคาดที่หดตัว -1.1% แต่ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานต่ำ ขณะที่นำเข้าจีนกลับมาหดตัวที่ -0.6% ต่อปี จากที่ตลาดคาดว่าจะขยายตัว 3.3% บ่งชี้ความต้องการในประเทศที่ยังคงเปราะบาง
•สัปดาห์นี้ตลาดหุ้นโลกปรับตัวลดลงเล็กน้อย จากตัวเลขเศรษฐกิจโดยเฉพาะตลาดแรงงานสหรัฐชะลอตัวต่อเนื่อง โดยการจ้างงานภาคเอกชน (ADP) ขยายตัวลดลงต่ำกว่าคาด เช่นเดียวกับตัวเลขตำแหน่งงานเปิดใหม่ (JOLTs) ภาพดังกล่าวทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐลดลงรุนแรง โดยพันธบัตร 10 ปี อยู่ที่ 4.12% ลงอย่างต่อเนื่องจากระดับ 4.3% ในสัปดาห์ก่อน ด้านตลาดการเงินจีนมีความเสี่ยงมากขึ้นหลังจาก Moody’s ปรับลดมุมมองความน่าเชื่อถือพันธบัตรรัฐบาลจีนเป็น Negative หลังรัฐบาลประกาศอัดฉีดมาตรการการคลัง ทำให้ตลาหุ้นจีนดปรับตัวลดลงแรง
•สัปดาห์นี้ตลาดผันผวนจาก (1) เงินเฟ้อไทยเดือน พ.ย. -0.44% ติดลบหนักสุดในรอบ 33 เดือน จากมาตรการภาครัฐ และเงินเฟ้อพื้นฐานที่ลดลง กระทรวงพาณิชย์คาดเงินเฟ้อปีหน้าที่ -0.3-1.7% (ค่ากลาง 0.7%) (2) กกร.เคาะกรอบประมาณการศก.ไทยปี 2567 คาด GDP จะเติบโตได้ 2.8-3.3% ขณะที่มองภาพเศรษฐกิจยังเปราะบางเสี่ยงที่จะโตต่ำกว่า 3% (3) ททท. ระบุจำนวนนักท่องเที่ยวสะสม YTD อยู่ที่ 25 ล้านคน สร้างรายได้ 1.07 ล้านล้านบาท (4) ก.พลังงานระบุหากรัฐบาลกำหนดค่าไฟงวด ม.ค.-เม.ย. 67 ไม่เกิน 4.2 บาทต่อหน่วย อาจต้องผลักภาระให้ กฟผ. อีก 1.3 หมื่นล้านบาท
•ผลตอบแทนพันธบัตรไทยอายุ 10 ปี ปรับลดลงที่ 2.87% ขณะที่ระยะสั้น อายุ 2 ปี ลดลงที่ 2.41% ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิที่ 859 ล้านบาท
•ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลดลงจากราคาปิดวันศุกร์ที่ 1 ธ.ค. ที่ 78.8 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 75.1 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจาก ตลาดกังวลว่า OPEC+ จะไม่สามารถลดกำลังการผลิตเพิ่มตามมติการประชุม ด้านราคาทองคำ (spot) ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ 2,049.2 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์
•ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (DXY) แข็งขึ้นเล็กน้อยที่ 103.6 จุด ขณะที่ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 143.8 เยน ด้านค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงที่ 1.08 ดอลลาร์ต่อยูโร ด้านค่าเงินเอเชีย ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นที่ 35.14 บาท ขณะที่เงินหยวนอ่อนค่าลงที่ระดับ 7.11 หยวน
ท่านสามารถอ่านและดาวน์โหลดเอกสารได้จาก WealthWeekend_231208_T (1)