สัปดาห์นี้ตลาดหุ้นโลกเริ่มชะลอการปรับเพิ่มขึ้น โดยตลาดหุ้นสหรัฐยังปรับขึ้นเล็กน้อย จากผลของ Stress Test ที่บ่งชี้ว่าธนาคารสหรัฐยังมีสถานะทางการเงินที่ดี ด้านตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐค่อนข้างผสมผสาน ยอดขายบ้านชะลอตัวลง
สัปดาห์นี้ตลาดหุ้นโลกเริ่มชะลอการปรับเพิ่มขึ้น โดยตลาดหุ้นสหรัฐยังปรับขึ้นเล็กน้อย จากผลของ Stress Test ที่บ่งชี้ว่าธนาคารสหรัฐยังมีสถานะทางการเงินที่ดี ด้านตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐค่อนข้างผสมผสาน ยอดขายบ้านชะลอตัวลง เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ขณะที่มีปัจจัยบวกจากตัวเลข PMI เบื้องต้นเดือน มิ.ย. ยังเร่งตัวขึ้นได้ และแกร่งกว่าภูมิภาคอื่น โดยเฉพาะยุโรปที่เริ่มชะลอลง จากความไม่แน่นอนหลังจากมีการยุบสภา ความเห็นเจ้าหน้าที่ Fed ยังออกมาในโทนกลางถึง Hawkish โดยมิเชล โบว์แมน สมาชิก FOMC ระบุขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาปรับลดดอกเบี้ยแต่เปิดกว้างต่อการปรับขึ้น หากเงินเฟ้อยังคงไม่ปรับตัวลง เริ่มเห็นการขายทำกำไรในกลุ่มเทคโนโลยี โดยเฉพาะหุ้นเซมิฯ ขณะที่จากความไม่ตลาดหุ้นยุโรปที่ยังคงปรับลดลงแน่นอนดังกล่าวข้างต้น ด้านตลาด EM ปรับตัวลงนำโดยตลาดหุ้นจีนหลังตัวเลขเศรษฐกิจเช่น กำไรภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลง สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่ยังอ่อนแอ ตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย โดยปรับขึ้นในต้นสัปดาห์จากแรงหนุนจากความคาดหวังมาตรการ Thai ESG และ Uptick rule อย่างไรก็ตามในช่วงปลายสัปดาห์ ตลาดกังวลค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น และแรงขายหุ้นที่มีประเด็นเฉพาะตัว ราคาน้ำมันยังคงปรับเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย จากความเสี่ยงในตะวันออกกางและสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ และเริ่มมีการโจมตีกันมากขึ้น ส่งผลให้กลุ่มพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้น 2% กลุ่มเทคโนโลยียังปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย แม้จะมีแรงขายทำกำไรในหุ้นเซมิฯ ขณะที่กลุ่มที่เกี่ยวกับกำลังซื้อและกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมลดลง
สัปดาห์นี้ ตลาดปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากภาพเศรษฐกิจสหรัฐ (วัดจาก PMI) ที่ยังค่อนข้างแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น ยุโรป อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเศรษฐกิจในช่วงกลางสัปดาห์ เช่น ยอดขายบ้าน คำสั่งซื้อสินค้าคงทน รวมถึง GDP ไตรมาส 1 ชะลอลง ทั้งนี้ เศรษฐกิจสหรัฐที่ยังแข็งแกร่งกว่าที่อื่นทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าต่อเนื่องท่ามกลางเงินสกุุลเอเชียที่อ่อนค่าลง
ตลาดหุ้นไทย
สัปดาห์นี้ ตลาดปรับขึ้นได้บ้าง โดยปรับขึ้นในต้นสัปดาห์จากแรงหนุนจากความคาดหวังมาตรการ Thai ESG และ Uptick rule อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสัปดาห์ ตลาดกังวลค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นขณะที่ค่าเงินเยนรวมถึงเงินบาทที่อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้น ยังมีประเด็นที่ธปท. ส่งสัญญาณไม่ลดดอกเบี้ย และไม่เห็นด้วยกับการปรับกรอบเงินเฟ้อขึ้น รวมถึงยืนยันไม่มีการปรับมาตรการ LTV
ตลาดพันธบัตร
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี เพิ่มเล็กน้อยที่ 4.3 % ขณะที่ ระยะสั้น 2 ปี ปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 4.72% ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ย 2-10 ปี อยู่ที่ -42 bps
ผลตอบแทนพันธบัตรไทยอายุ 10 ปี ปรับลงมาอยู่ที่ 2.70% ขณะที่ระยะสั้น อายุ 2 ปี ทรงตัวที่ 2.36% ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิที่ 5,521 ล้านบาท
ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์
ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวขึ้นจากราคาปิดวันศุกร์ที่ 21 มิ.ย. ที่ 85.24 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 86.59 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ด้านราคาทองคำ (spot) ปรับลดลงที่ 2,331.5 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์
ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (DXY) แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยที่ 106.03 จุด ขณะที่ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงที่ 160.98 เยน ด้านค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.07 ดอลลาร์ต่อยูโร ด้านค่าเงินเอเชีย ค่าเงินบาทอ่อนลงที่ 36.89 บาท ขณะที่เงินหยวนทรงตัวที่ระดับ 7.27 หยวน
กดอ่านเพิ่มเติมและดาวน์โหลดเอกสารได้จากปุ่มด้านล่าง