สัปดาห์นี้ตลาดปรับตัวลดลงจาก (1) ความกังวลในภาวะสงครามตะวันออกกลางที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ โดยกองทัพอิสราเอลระดมโจมตีทางอากาศเข้าสู่ฉนวนกาซา รวมถึงปิดล้อมต่อเนื่อง รวมถึงเหตุระเบิดโรงพยาบาลในฉนวนกาซา ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 500 ราย โดยทางการอิสราเอลกล่าวว่า กองทัพไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดที่โรงพยาบาลดังกล่าว แต่เหตุระเบิดเป็นผลมาจากกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ ที่ยิงจรวดใส่โรงพยาบาลเอง สถานการณ์ดังกล่าวทำให้รัฐบาลจอร์แดนยกเลิกแผนการจัดประชุมสุดยอด 4 ฝ่าย ระหว่าง ผู้นำสหรัฐ จอร์แดน อียิปต์ และปาเลสไตน์ เพื่อหาทางยุติความขัดแย้งร่วมกัน ขณะที่ (2) ตัวเลขเศรษฐกิจจีนปรับตัวดีขึ้นเกินคาด โดย GDP ในไตรมาส 3/66 ขยายตัว 4.9% ต่อปี (1.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน) แข็งแกร่งกว่าที่ตลาดคาดที่ 4.6% ทำให้หลายฝ่ายมองว่า GDP จีนจะขยายตัวได้ 5.0% ในปีนี้ นอกจากนั้น ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ย. ขยายตัว 4.5% เท่ากับเดือน ส.ค. และสูงกว่าคาดที่ 4.3% ขณะที่ยอดค้าปลีกขยายตัว 5.5% สูงกว่าเดือนก่อนที่ 4.6% และสูงกว่าคาดที่ 4.9% อย่างไรก็ตาม ยอดการลงทุนสินทรัพย์ถาวร ขยายตัว 3.1% ต่ำกว่าคาดที่ 3.2% ด้านอัตราว่างงานเดือน ก.ย.ลดลงสู่ระดับ 5% จาก 5.2% ในเดือน ส.ค. ซึ่งหลายฝ่ายมองว่า ตัวเลขเศรษฐกิจจีนทีดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการเงิน ทั้งนี้ ก่อนหน้าการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ ทางธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้ประกาศเพิ่มสภาพคล่องครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2020 โดยเพิ่มเงินสุทธิ 2.89 แสนล้านหยวน หรือประมาณ 4 หมื่นล้านดอลลาร์ เข้าสู่ระบบการเงินผ่านเงินกู้นโยบายระยะเวลา 1 ปี (One-year Policy Loan) และอัดฉีดเงินกว่า 1.34 แสนล้านหยวนผ่านการซื้อคืนพันธบัตรผ่านช่องทางตลาดการเงิน (Open-market Operations) ซึ่งมาตรการทางการจีนต่าง ๆ ทำให้ภาคการบริโภคดีขึ้นบ้าง (3) ยอดค้าปลีกสหรัฐขยายตัวเกินคาดที่ 0.7% ต่อเดือนและ 3.8% ต่อปี ขยายตัวต่อเนื่องจาก 0.8% ต่อเดือนและ 2.9% ต่อปี ตามลำดับ ผลจากราคาที่ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้การใช้จ่ายโดยรวมเพิ่มขึ้นตาม โดยเฉพาะด้านอาหาร ยานยนต์ และค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเชื้อเพลิง (4) เงินเฟ้อผู้บริโภคสหรัฐเดือน ก.ย. ขยายตัว 3.7% เท่ากับเดือนก่อน แต่สูงกว่าที่ตลาดคาดที่ 3.8% เล็กน้อย ผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาเชื้อเพลิง ทำให้เงินเฟ้อการขนส่งเพิ่มขึ้น 2.4% แต่เงินเฟ้อจากภาคบริการชะลอตัวต่อเนื่อง ทั้งนี้ พัฒนาการเงินเฟ้อภาคบริการเริ่มลดลงต่อเนื่อง แต่เงินเฟ้อจากภาคการผลิต เช่น เงินเฟ้อผู้ผลิต (PPI) และเงินเฟ้อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เริ่มเพิ่มขึ้น บ่งชี้ว่า แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปทานเริ่มกลับมา (5) ตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีเกินคาดและเงินเฟ้อที่ยังอยู่ระดับสูงทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรเพิ่มขึ้น โดยผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีสหรัฐพุ่งขึ้นทะลุ 4.9% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2007 ตอกย้ำท่าทีของ Fed ว่าจะตรึงดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ระดับสูงเป็นเวลานาน หลัง Christopher Waller สมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ระบุยังจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยในการ ประชุมเดือน พ.ย. แต่อาจเพิ่มขึ้นหลังจากนั้น
ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์
ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
PDF คลิกอ่านเพิ่มเติม WealthWeekend_231020_T