ผลิตภัณฑ์

  1. หุ้น เป็นหุ้นส่วนบริษัท ด้วยเงินหลักร้อย
  2. กองทุน เปิดพอร์ตแบบอีซี่.. มีมืออาชีพคอยดูแลให้
  3. Intelligent Portfolios เปิดโหมดอัตโนมัติสำหรับดูแลการลงทุน
  4. สินทรัพย์ดิจิทัล การลงทุนบนสินทรัพย์แห่งอนาคต
  5. ตราสารหนี้และหุ้นกู้ ลงทุนเพื่อผลตอบแทนระยะยาว
  6. ตราสารอนุพันธ์ มองการณ์ไกล ด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
  7. บริการยืมและให้ยืมสินทรัพย์ ปล่อยเช่า-ขอยืมหุ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุน
  8. กองทุนส่วนบุคคล มีผู้จัดการช่วยให้การลงทุนของคุณง่ายขึ้น
  9. คู่มือการใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา

แหล่งความรู้ด้านการลงทุน

  1. เริ่มลงทุนก้าวแรก เริ่มลงทุนก้าวแรก
  2. ลงทุนตามสินทรัพย์ ลงทุนตามสินทรัพย์
  3. บทวิเคราะห์การลงทุน บทวิเคราะห์การลงทุน
  4. แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน

ข่าวสารและโปรโมชัน

  1. โปรโมชันและสิทธิพิเศษเพื่อคุณ
  2. อัปเดตข่าวสาร
  3. ประกาศ
  4. Point to invest
  5. INVX Point​
scbs image

โปรโมชันและสิทธิพิเศษ

พิเศษสำหรับลูกค้า Innovestx เท่านั้นใช้พอยต์แลกกองทุนรวมที่โดนใจ

ดูเพิ่มเติม

เกี่ยวกับเรา

  1. เกี่ยวกับเรา ร่วมเติบโตอย่างยั่งยืนไปกับเรา InnovestX
  2. ร่วมงานกับเรา ก้าวไปข้างหน้าแบบมีสไตล์
ค้นหาล่าสุด
เคลียร์
{{GetHitSearchValue.keywordTitle}}

INVX Wealth Weekend – มองเวลท์..รายวีค 01/12/2023

blog_list_heading
01 ธ.ค. 2566;
216
แชร์บทความนี้
test_blog_details_img

เนื้อหาโดยรวม

สรุปภาพรวมการลงทุนสัปดาห์นี้ 

สัปดาห์นี้ตลาดหุ้นโลกปรับตัวขึ้นได้จากการอ่อนตัวของผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ อย่างไรก็ตามตัวเลขเศรษฐกิจยังส่งสัญญาณชะลอลง เห็นได้จาก (1) ดัชนี Flash composite PMI ในเดือน พ.ย. ของประเทศพัฒนาแล้วเริ่มฟื้นตัวขึ้นบ้าง แต่ยังอยู่ในแดนหดตัวเป็นส่วนใหญ่ โดยดัชนีของเยอรมนีปรับขึ้นจาก 47.1 เป็น 45.9 อังกฤษปรับขึ้นจาก 48.7 เป็น 50.1 และยูโรโซนปรับขึ้นจาก 46.5 เป็น 48.2 ขณะที่สหรัฐทรงตัวที่ 50.7 แต่ญี่ปุ่นหดตัวลงเล็กน้อย  จาก 50.5 เป็น 50.0 (2) รายงาน "Beige Book" ของ Fed รายสาขาระบุว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ชะลอตัวในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย โดยเฉพาะยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าคงทน เช่น เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ลดลงโดยเฉลี่ย เนื่องจากผู้บริโภคมีความอ่อนไหวด้านราคามากขึ้น (3) ตัวเลขรายได้ และการใช้จ่ายส่วนบุคคลสหรัฐชะลอลงชัดเจน โดยขยายตัว 0.2% ต่อเดือน จาก 0.4% และ 0.7% ในเดือนก่อนตามลำดับ (4) เงินเฟ้อเริ่มชะลอลงอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากเงินเฟ้อสหรัฐ Core PCE ที่ลดลงตามคาดมาอยู่ที่ 3.5% และ เงินเฟ้อยุโรปเดือน พ.ย. ที่ขยายตัวต่ำกว่าคาดมากที่ 2.4% ท่ามกลางเศรษฐกิจประเทศสำคัญ เช่น เยอรมนีและฝรั่งเศสที่เข้าสู่ภาวะถดถอย (4) สัญญาณจากคณะกรรมการ FOMC ที่มีมุมมองที่เห็นแตกต่างด้านดอกเบี้ย โดยคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ ระบุว่านโยบายการเงินขณะนี้เข้มงวดมาก พอที่จะทำให้เงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมาย 2% สวนทางกับโธมัส บาร์กิน ประธาน Fed สาขาริชมอนด์ ที่ระบุไม่มั่นใจว่าเงินเฟ้อสหรัฐจะปรับลงสู่เป้าหมาย และ Fed จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยหากเงินเฟ้อดีดตัวขึ้น (5) ประมาณการ GDP 3Q23 (ประกาศครั้งที่ 2) ของสหรัฐขยายตัว 5.2% สูงสุดนับตั้งแต่ 4Q64 และสูงกว่าตัวเลขครั้งแรกที่ระดับ 4.9% และ สูงกว่าคาดที่ 5.0% (6) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตของทางการจีนลดลงเหลือ 49.4 ในเดือน พ.ย. จาก 49.5 ในเดือน ต.ค. ขณะที่ดัชนีภาคบริการอยู่ที่ 50.2 จาก 50.6 ในเดือนก่อน บ่งชี้เศรษฐกิจชะลอตัวต่อเนื่อง (7) ยอดขายของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่สุด 100 รายของจีนมีมูลค่ารวมเท่ากับ 54.7 พันล้านดอลลาร์ต่อเดือน ลดลง 30% ต่อปี และ 4% ต่อเดือน ทั้งนี้ China Real Estate Information Corp. ประเมินว่า ยอดขายบ้านใหม่จากผู้พัฒนา 100 อันดับแรกในปี 2023 จะลดลง 15%

ตลาดหุ้นโลก

•สัปดาห์นี้ตลาดหุ้นโลกปรับตัวขึ้นได้จากการอ่อนตัวของผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ อย่างไรก็ตามตัวเลขเศรษฐกิจยังส่งสัญญาณชะลอลง โดยเฉพาะ PMI ของยุโรป ญี่ปุ่นและจีน รายงาน "Beige Book" ของ Fed ที่ระบุว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐชะลอตัวเนื่องจากผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย  ขณะที่ตัวเลขการรายได้ และการใช้จ่ายส่วนบุคคลสหรัฐชะลอลงเช่นกัน ด้านเงินเฟ้อสหรัฐและยุโรปล่าสุดลดลงกว่าคาด ท่ามกลางความเสี่ยงเศรษฐกิจ และโอกาสที่จะลดดอกเบี้ยมีมากขึ้น โดย GDP ของฝรั่งเศส และเยอรมนี เข้าสู่ภาวะถดถอย 

ตลาดหุ้นไทย

•สัปดาห์นี้ตลาดปรับตัวลดลงจาก (1) ผลการประชุม กนง.ที่มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ต่อปี แต่ปรับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจและเงินเฟ้อลงรุนแรง (2) การส่งออก เดือน ต.ค. ของไทย ที่ขยายตัวดีที่ 8.0% จากฐานต่ำและการส่งออกน้ำมัน และอัญมณีเป็นหลัก ขณะที่ อย่างไรก็ตาม การนำเข้าที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นในทุกหมวดสินค้า (3) กกพ. มีมติปรับค่าไฟขึ้น 0.69 บ./หน่วย (4) ส.อ.ท. กังวลปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำกระทบต้นทุนผลิต (5) S&P คงอันดับความน่าเชื่อถือไทยที่ BBB+ และคง Outlook ในระดับ มีเสถียรภาพ คาด ศก. ไทยปีนี้โต 2.5% ปีหน้าโต 4.2%

ตลาดพันธบัตร

•ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี ปรับลดลงมาสู่ 4.34% หลังความเสี่ยงเศรษฐกิจมีมากขึ้น ขณะที่ ระยะสั้น 2 ปี ลดลงที่ 4.68% ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ย 2-10 ปี ลดลงที่ -34 bps

•ผลตอบแทนพันธบัตรไทยอายุ 10 ปี ปรับลดลงที่ 2.97% ขณะที่ระยะสั้น อายุ 2 ปี ลดลงที่ 2.44% ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิที่ 5.3 พันล้านบาท

ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์

•ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลดลงจากราคาปิดวันศุกร์ที่ 24 พ.ย. ที่ 82.7 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 80.6 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจาก OPEC+ ตกลงจะลดกำลังการผลิตเพิ่มอีก 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ด้านราคาทองคำ (spot) ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ 2,034.1 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์

ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

•ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (DXY) ทรงตัวที่ 103.4 จุด  ขณะที่ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 148.3 เยน ด้านค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นที่ 1.09 ดอลลาร์ต่อยูโร ด้านค่าเงินเอเชีย ค่าเงินบาททรงตัวที่ 35.28 บาท ขณะที่เงินหยวนทรงตัวที่ระดับ 7.09 หยวน 

ท่านสามารถอ่านและดาวน์โหลดเอกสารได้จาก  WealthWeekend_231201_T

กลับด้านบน