ผลิตภัณฑ์

  1. หุ้น เป็นหุ้นส่วนบริษัท ด้วยเงินหลักร้อย
  2. กองทุน เปิดพอร์ตแบบอีซี่.. มีมืออาชีพคอยดูแลให้
  3. Intelligent Portfolios เปิดโหมดอัตโนมัติสำหรับดูแลการลงทุน
  4. สินทรัพย์ดิจิทัล การลงทุนบนสินทรัพย์แห่งอนาคต
  5. ตราสารหนี้และหุ้นกู้ ลงทุนเพื่อผลตอบแทนระยะยาว
  6. ตราสารอนุพันธ์ มองการณ์ไกล ด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
  7. บริการยืมและให้ยืมสินทรัพย์ ปล่อยเช่า-ขอยืมหุ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุน
  8. กองทุนส่วนบุคคล มีผู้จัดการช่วยให้การลงทุนของคุณง่ายขึ้น
  9. คู่มือการใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา

แหล่งความรู้ด้านการลงทุน

  1. เริ่มลงทุนก้าวแรก เริ่มลงทุนก้าวแรก
  2. ลงทุนตามสินทรัพย์ ลงทุนตามสินทรัพย์
  3. บทวิเคราะห์การลงทุน บทวิเคราะห์การลงทุน
  4. แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน

ข่าวสารและโปรโมชัน

  1. โปรโมชันและสิทธิพิเศษเพื่อคุณ
  2. อัปเดตข่าวสาร
  3. ประกาศ
  4. Point to invest
  5. INVX Point​
scbs image

โปรโมชันและสิทธิพิเศษ

พิเศษสำหรับลูกค้า Innovestx เท่านั้นใช้พอยต์แลกกองทุนรวมที่โดนใจ

ดูเพิ่มเติม

เกี่ยวกับเรา

  1. เกี่ยวกับเรา ร่วมเติบโตอย่างยั่งยืนไปกับเรา InnovestX
  2. ร่วมงานกับเรา ก้าวไปข้างหน้าแบบมีสไตล์
ค้นหาล่าสุด
เคลียร์
{{GetHitSearchValue.keywordTitle}}

INVX Wealth Weekend – มองเวลท์..รายวีค 15/12/2023

blog_list_heading
15 ธ.ค. 2566;
212
แชร์บทความนี้
test_blog_details_img

เนื้อหาโดยรวม

สรุปภาพรวมการลงทุนสัปดาห์นี้ 

สัปดาห์นี้ตลาดหุ้นโลกปรับตัวขึ้นร้อนแรงโดยเฉพาะสหรัฐ จาก (1) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมที่ 5.25%-5.5% ตามคาดซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 22 ปี แต่ส่งสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดว่าจะยุติการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว และจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยถึง 3 ครั้ง ในปีหน้า มากกว่าที่ตลาดคาดไว้ โดยมองว่าจะปรับลดไปสู่ 4.6% ในปี 2024 และ 3.6% ในปี 2025 (2) เงินเฟ้อสหรัฐลดลงต่อเนื่อง โดยเงินเฟ้อผู้บริโภคทั่วไปสหรัฐอยู่ที่ 3.1% ในเดือน พ.ย. จาก 3.2% ในเดือนก่อน ขณะที่เงินเฟ้อผู้ผลิตทั่วไปอยู่ที่ 0.9% ต่อปี จาก 1.2% ในเดือนก่อน (3) การจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐเพิ่มขึ้น199,000 ตำแหน่งในเดือน พ.ย. สูงกว่าที่ตลาดคาดที่ 1.8 แสนตำแหน่ง จากการกลับมาทำงานของแรงงานภาคยานยนต์หลังการประท้วงสิ้นสุดลง ขณะที่ภาคสาธารณสุขและรัฐบาลจ้างงานเพิ่มขึ้น  แต่ภาคค้าปลีกและการจ้างงานชั่วคราวลดลง ขณะที่อัตราการว่างงานลดลงต่ำกว่าคาดที่ 3.7% ด้านรายได้ต่อชั่วโมงเฉลี่ย ทรงตัวที่ 4.0% ต่อปี ขณะที่รายได้เฉลี่ยรายสัปดาห์ปรับเพิ่มขึ้น โดยอยู่ที่  3.7% จากเดือนก่อนที่ 3.1% (4) เงินเฟ้อผู้บริโภคของจีนตกต่ำต่อเนื่อง ทำให้เกิดความกลัวภาวะเงินฝืดเพิ่มสูงขึ้น ดัชนีราคาผู้บริโภคลดลง 0.5% ในเดือน พ.ย.  ต่อปี ลดลงรุนแรงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2020 และอ่อนแอกว่าการหดตัว -0.2% ที่ตลาดคาด ด้านราคาผู้ผลิตลดลง -3% ต่ำกว่าคาดที่ -2.8% ซึ่งเป็นการหดตัว 14 เดือนติดต่อกัน (5) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และอังกฤษ (BoE) มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 4.0% (Deposit rate) และ 5.25% ตาม ตลาดคาด แต่ยังคงมุมมองนโยบายการเงินที่ตึงตัวต่อไปในปี 2024 ซึ่งต่างจากตลาดคาดว่า ECB มีโอกาสลดดอกเบี้ยในช่วง 1H24 และลดทั้งปี 125 bps (6) ยอดค้าปลีก พ.ย. ของสหรัฐ +0.3%MoM, +4.1%YoY สวนทางที่ตลาดคาด -0.1%MoM ขณะที่ผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสัปดาห์ที่แล้วลดลงสู่ 2.02 แสนราย ต่ำสุดนับตั้งแต่ ต.ค. 

ตลาดหุ้นโลก

•สัปดาห์นี้ตลาดหุ้นโลกปรับตัวขึ้นร้อนแรงโดยเฉพาะสหรัฐ จากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) สหรัฐที่มีมติคงดอกเบี้ยตามคาด แต่ส่งสัญญาณ Pivot โดยจะลดดอกเบี้ยถึง 3 ครั้ง ในปีหน้า มากกว่าที่ตลาดคาดไว้ ท่ามกลางเงินเฟ้อที่ลดลงต่อเนื่อง โดยเงินเฟ้อสหรัฐอยู่ที่ 3.1% ในเดือน พ.ย. จาก 3.2% ในเดือนก่อน ด้านตลาดแรงงานยังคงร้อนแรง โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐเพิ่มขึ้น199,000 ตำแหน่งในเดือน พ.ย. สูงกว่าที่ตลาดคาดที่ 1.8 แสนตำแหน่ง จากการกลับมาทำงานของแรงงานภาคยานยนต์หลังการประท้วงสิ้นสุดลง ส่งผลบวกต่อการลงทุนต่อเนื่อง

ตลาดหุ้นไทย

•สัปดาห์นี้ตลาดทรงตัว แม้ว่าจะได้ผลบวกจากตลาดโลกที่ปรับตัวดีขึ้นหลังการประชุม Fed ขณะที่ในไทยมีปัจจัยจาก (1) ธปท. ประเมินเงินเฟ้อหดตัวชั่วคราว คาดกลับเพิ่มขึ้นใน 1Q24 ขณะที่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่องแต่ส่งออกเสี่ยงฟื้นตัวช้ากว่าคาด (2) นายกฯ เตรียมเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนในประเทศจาก 28% เป็น 50% ใน 5 ปี พร้อมหารือลาวรับซื้อไฟฟ้าทั้งหมด (3) สอท. ระบุดัชนีความเชื่อมั่นด้านอุตฯ เดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นครั้งแรกรอบ 5 เดือน (4) นายกฯ ประกาศจัดการหนี้ทั้งระบบ 16 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามสภาพหนี้ พร้อมโอนกลุ่มเรื้อรังไป AMC 3 ล้านราย

ตลาดพันธบัตร

•ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี ปรับลดลงแรงมาสู่ 3.95% หลัง Fed pivot ขณะที่ ระยะสั้น 2 ปี ลดลงแรงที่ 4.42% ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ย 2-10 ปี ลดลงที่ -38 bps

•ผลตอบแทนพันธบัตรไทยอายุ 10 ปี ปรับลดลงที่ 2.77% ขณะที่ระยะสั้น อายุ 2 ปี ลดลงที่ 2.34% ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิที่ 2,892 ล้านบาท

ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์

•ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากราคาปิดวันศุกร์ที่ 8 ธ.ค. ที่ 75.8 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 76.94 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ตามทิศทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงมากขึ้น ด้านราคาทองคำ (spot) ทรงตัวที่ 2,049.2 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์

ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

•ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (DXY) อ่อนค่าลงมากที่ 101.86 จุด  ขณะที่ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 141.5 เยน ด้านค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นที่ 1.09 ดอลลาร์ต่อยูโร ด้านค่าเงินเอเชีย ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นที่ 34.99 บาท ขณะที่เงินหยวนแข็งค่าขึ้นที่ระดับ 7.08 หยวน 

 

ท่านสามารถอ่านและดาวน์โหลดเอกสารได้จาก  WealthWeekend_231215_T

กลับด้านบน