ผลิตภัณฑ์

  1. หุ้น เป็นหุ้นส่วนบริษัท ด้วยเงินหลักร้อย
  2. กองทุน เปิดพอร์ตแบบอีซี่.. มีมืออาชีพคอยดูแลให้
  3. Intelligent Portfolios เปิดโหมดอัตโนมัติสำหรับดูแลการลงทุน
  4. สินทรัพย์ดิจิทัล การลงทุนบนสินทรัพย์แห่งอนาคต
  5. ตราสารหนี้และหุ้นกู้ ลงทุนเพื่อผลตอบแทนระยะยาว
  6. ตราสารอนุพันธ์ มองการณ์ไกล ด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
  7. บริการยืมและให้ยืมสินทรัพย์ ปล่อยเช่า-ขอยืมหุ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุน
  8. กองทุนส่วนบุคคล มีผู้จัดการช่วยให้การลงทุนของคุณง่ายขึ้น
  9. คู่มือการใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา

แหล่งความรู้ด้านการลงทุน

  1. เริ่มลงทุนก้าวแรก เริ่มลงทุนก้าวแรก
  2. ลงทุนตามสินทรัพย์ ลงทุนตามสินทรัพย์
  3. บทวิเคราะห์การลงทุน บทวิเคราะห์การลงทุน
  4. แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน

ข่าวสารและโปรโมชัน

  1. โปรโมชันและสิทธิพิเศษเพื่อคุณ
  2. อัปเดตข่าวสาร
  3. ประกาศ
  4. Point to invest
  5. INVX Point​
scbs image

โปรโมชันและสิทธิพิเศษ

พิเศษสำหรับลูกค้า Innovestx เท่านั้นใช้พอยต์แลกกองทุนรวมที่โดนใจ

ดูเพิ่มเติม

เกี่ยวกับเรา

  1. เกี่ยวกับเรา ร่วมเติบโตอย่างยั่งยืนไปกับเรา InnovestX
  2. ร่วมงานกับเรา ก้าวไปข้างหน้าแบบมีสไตล์
ค้นหาล่าสุด
เคลียร์
{{GetHitSearchValue.keywordTitle}}

INVX Wealth Weekend – มองเวลท์..รายวีค 26/01/2024

blog_list_heading
26 ม.ค. 2567;
225
แชร์บทความนี้
test_blog_details_img

เนื้อหาโดยรวม

สรุปภาพรวมการลงทุนสัปดาห์นี้ 

สัปดาห์นี้ตลาดปรับตัวดีขึ้น จากตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีต่อเนื่องและผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนกลุ่มเทคฯ สหรัฐที่ดี ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจดูดีขึ้น ทำให้โอกาสในการลดดอกเบี้ยในเดือน มี.ค. ลดลง โดย (1) ดัชนี US Flash PMI เดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 7 เดือน สู่ระดับ 52.3 ท่ามกลางการฟื้นตัวของ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing PMI) บ่งชี้ว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมเริ่มกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง (2) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐจาก U. of Michigan พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 30 เดือน โดยอยู่ที่ 78.8 โดยดัชนีย่อยด้านความคาดหวังเงินเฟ้อลดลงต่ำสุดตั้งแต่ปี 2020 (3) จีนเริ่มส่งสัญญาณช่วยเหลือเศรษฐกิจมากขึ้นหลังผู้ว่าฯ ธ. กลางจีนเตรียมลดอัตรากันสำรอง ธ. พาณิชย์ (RRR) ณ 5 ก.พ. ซึ่งจะเพิ่มสภาพคล่องอีก 1 ล้านล้านหยวน (4) ดัชนี Eurozone Flash composite PMI ปรับตัวขึ้นสู่ 47.9 จาก 47.6 ในเดือน ธ.ค. แต่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าตลาดคาดที่ 48.0 (5) GDP สหรัฐ ขยายตัว 3.3% ต่อปี เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยเครื่องจักรสำคัญในการขยายตัวได้แก่การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 2.8% ต่อปี โดยเป็นการบริโภคทั้งสินค้าและบริการ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารนอกบ้านและพักแรม (ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการใช้จ่ายในช่วงหยุดยาวและเทศกาล) และการใช้จ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้น 3.3% ต่อปี ซึ่งเป็นการใช้จ่ายของรัฐบาลท้องถิ่น (มลรัฐ) เป็นหลัก ซึ่งน่าจะเป็นการใช้จ่ายตามมาตรการ Build back better ของรัฐบาลไบเดน นอกจากนั้น การลงทุนเอกชนก็ขยายตัวที่ 2.1% โดยเป็นการลงทุนในอุปกรณ์เทคโนโลยีเป็นสำคัญ ขณะที่การส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่องขณะที่นำเข้าขยายตัวต่ำกว่า ทำให้การส่งออกสุทธิเป็นบวกต่อ GDP ถึง 0.43% (Percentage point) ซึ่งเศรษฐกิจที่ร้อนแรง และมีโมเมนตัมส่งต่อมายังไตรมาส 1 ทำให้โอกาสในการลดดอกเบี้ยในเดือน มี.ค. ลดลงเหลือ 46.2% ขณะที่การลดดอกเบี้ยในเดือน พ.ค. อยู่ที่ 51.2% (6) ธ. กลางยุโรป (ECB) คงดอกเบี้ยไว้ที่ 4% ขณะที่ประธาน ECB ส่งสัญญาณว่าเงินเฟ้อเสี่ยงลดลง แต่ ECB จะยังจับตาสถานการณ์ในตะวันออกกลางต่อเนื่อง (7) ธ. กลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังคงดอกเบี้ยท่ามกลางเงินเฟ้อที่ลดลง แต่ผู้ว่าการฯ ส่งสัญญาณว่าโอกาสที่เงินเฟ้อในระยะยาวจะเข้าสู่เป้าหมายที่ 2% เป็นไปได้มากขึ้น ทำให้ตลาดมองว่า BOJ จะขึ้นดอกเบี้ยในครึ่งปีแรกมีมาก 

ตลาดหุ้นโลก

สัปดาห์นี้ตลาดปรับตัวดีขึ้น จากตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีต่อเนื่องและผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนกลุ่มเทคฯ สหรัฐ (Magnificent 7) ที่ดี ขณะที่ดัชนี US Flash PMI เดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 7 เดือน ท่ามกลางการฟื้นตัวของ Manufacturing PMI บ่งชี้ว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมเริ่มกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐจาก U. of Michigan พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 30 เดือน ด้านจีนเริ่มส่งสัญญาณช่วยเหลือเศรษฐกิจมากขึ้นหลังผู้ว่าฯ ธ. กลางจีนเตรียมลดอัตรากันสำรอง ธ. พาณิชย์ (RRR) ณ 5 ก.พ. ซึ่งจะเพิ่มสภาพคล่องอีก 1 ล้านล้านหยวน ​

ตลาดหุ้นไทย

สัปดาห์นี้ตลาดปรับตัวลดลงต่อเนื่องจาก (1) ตลาดกังวลเศรษฐกิจไทยชะลอกว่าคาด หลังมีข่าว สศค. ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี '23-24 ลงต่ำกว่า 2% (2) แรงเทขายหุ้นกลุ่มธนาคารหลังผลประกอบการแย่กว่าคาด และ (3) ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว โดยมีเงินไหลออกทั้งผ่านตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรกว่า 1.1 หมื่นล้านบาทในสัปดาห์นี้

ตลาดพันธบัตร

ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4.10% หลังตัวเลขเศรษฐกิจร้อนแรง ขณะที่ ระยะสั้น 2 ปี ทรงตัวที่ 4.27% ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ย 2-10 ปี อยู่ที่ -17 bps​
ผลตอบแทนพันธบัตรไทยอายุ 10 ปี ปรับลดลงที่ 2.70% จากประมาณการเศรษฐกิจของ สศค. ที่ปรับลดลงมาก ขณะที่ระยะสั้น อายุ 2 ปี ทรงตัวที่ 2.33% ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิที่ 3,375 ล้านบาท

ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์

ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวขึ้นจากราคาปิดวันศุกร์ที่ 5 ม.ค. ที่ 78.6 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 82.3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังอากาศหนาวจัดทำให้การผลิตน้ำมันในสหรัฐลดลง และการก่อวินาศกรรมในทะเลแดงยืดเยื้อ ด้านราคาทองคำ (spot) ปรับเพิ่มขึ้นที่ 2,021.5 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์

ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (DXY) แข็งค่าขึ้นที่ 103.47 จุด  ขณะที่ค่าเงินเยนอ่อนค่ามาอยู่ที่ 147.6 เยน ด้านค่าเงินยูโรอ่อนลงที่ 1.08 ดอลลาร์ต่อยูโร ด้านค่าเงินเอเชีย ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงที่ 35.67 บาท ขณะที่เงินหยวนแข็งค่าขึ้นที่ระดับ 7.10 หยวน


ท่านสามารถอ่านและดาวน์โหลดเอกสารได้จาก  Wealth weekend_InnovestX_240126_T

กลับด้านบน