เราคาดว่า CPF จะรายงานขาดทุนปกติ 3.4 พันลบ. ใน 1Q67 (ขาดทุนปกติติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5) เทียบกับขาดทุนปกติ 3.3 พันลบ. ใน 1Q66 และ 8 พันลบ. ใน 4Q66 เพราะได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยจ่ายที่สูงขึ้นและธุรกิจสุกรในประเทศที่อ่อนแอลง YoY ทั้งนี้ ในเดือนเม.ย. ถึงปัจจุบัน เราพบว่าราคาไก่เนื้อในประเทศไทยและราคาสุกรในประเทศเวียดนามปรับตัวเพิ่มขึ้น ท่ามกลางราคาสุกรในประเทศไทยและประเทศจีนที่ปรับตัวดีขึ้น MoM อย่างค่อยเป็นค่อยไป (แม้ราคายังต่ำกว่าจุดคุ้มทุนที่ระดับกำไรขั้นต้น) ซึ่งทำให้เราคาด CPF จะมีขาดทุนปกติใน 2Q67 ที่ลดลง QoQ เมื่อใช้สมมติฐานว่าธุรกิจสัตว์บกในประเทศและธุรกิจในต่างประเทศปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เราคาดว่าผลประกอบการจะฟื้นตัวเป็นกำไรใน 2H67 เรายังคงคำแนะนำ NEUTRAL สำหรับ CPF โดยให้ราคาเป้าหมายสิ้นปี 2567 อ้างอิงวิธี SOTP ที่ 22.5 บาท ซึ่งประกอบด้วย 0.5 บาทจากธุรกิจของ CPF (PE 14x สำหรับธุรกิจอาหารสัตว์, PE 12x สำหรับธุรกิจฟาร์ม และ PE 16x สำหรับธุรกิจอาหาร) และ 22 บาทจากการถือหุ้นใน CPALL และ CPAXT คาดขาดทุนสุทธิ 1.4 พันลบ. ใน 1Q67 เทียบกับขาดทุนสุทธิ 2.7 พันลบ. ใน 1Q66 และขาดทุนสุทธิ 121 ลบ. ใน 4Q66 หากไม่รวมกำไรพิเศษ 2 พันลบ. (กำไรจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ชีวภาพในประเทศเวียดนามและการขายเงินลงทุน) CPF จะมีขาดทุนปกติ 3.4 พันลบ. ใน 1Q67 ใกล้เคียงกับขาดทุนปกติ 3.3 พันลบ. ใน 1Q66 แต่ดีกว่าขาดทุนปกติ 8 พันลบ. ใน 4Q66 ค่อนข้างมาก ขาดทุนปกติที่แทบไม่เปลี่ยนแปลง YoY เป็นผลมาจากดอกเบี้ยจ่ายที่สูงขึ้น (+14% YoY) และธุรกิจสุกรในประเทศไทยที่อ่อนแอลง (ราคาสุกรลดลง 25% YoY สู่ 66 บาท/กก. เนื่องจากอุปทานสูง แต่เพิ่มขึ้น 1% QoQ) ซึ่งไปหักล้างกับธุรกิจไก่เนื้อในประเทศไทยที่ดีขึ้น (การส่งออกดีขึ้น, ราคาไก่เนื้อค่อนข้างทรงตัว YoY ที่ 41 บาท/กก., +1% YoY และ +8% QoQ, ท่ามกลางต้นทุนอาหารสัตว์ที่ลดลง) และธุรกิจในต่างประเทศที่ดีขึ้น สำหรับประเทศจีน เราคาดส่วนแบ่งขาดทุนจาก CTI ลดลง หลังจากขายกำลังการผลิตฟาร์มสุกรที่สร้างผลขาดทุนจำนวนมากออกไป 20% ใน 4Q66 แต่ยังคงมีผลขาดทุนต่อเนื่อง จากกำลังการผลิตฟาร์มที่เหลืออยู่ 80% เนื่องจากราคาสุกรในประเทศจีนอยู่ในระดับต่ำที่ CNY15/กก. (-5% YoY และ -2% QoQ) รวมถึงธุรกิจไก่เนื้อใน CPP HK ดีขึ้นหลังจากขายกำลังการผลิตฟาร์มไก่ที่สร้างผลขาดทุนออกไป 30% ใน 4Q66 นอกจากนี้ เราคาด Bellesio ขาดทุนลดลง เนื่องจากยอดขายสินค้า OEM ในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น และ Hylife มีผลประกอบการดีขึ้น หลังขายธุรกิจในสหรัฐฯ ที่สร้างผลขาดทุนออกไปใน 3Q66 ทั้งนี้ การปรับตัวดีขึ้น QoQ ได้รับการสนับสนุนจากผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นของธุรกิจสุกรและธุรกิจไก่เนื้อในประเทศไทย ประเทศเวียดนาม และประเทศจีน และราคาที่ดีขึ้น/ทรงตัว ท่ามกลางต้นทุนอาหารสัตว์ที่ลดลง สถานการณ์ใน 2Q67TD: ราคาผลิตภัณฑ์ปรับตัวดีขึ้น MoM อย่างค่อยเป็นค่อยไป ท่ามกลางต้นทุนอาหารสัตว์ระดับต่ำราคาสัตว์บกในประเทศ ในเดือนเม.ย. ถึงปัจจุบัน ราคาสุกรและไก่เนื้อในประเทศเพิ่มขึ้น MoM โดยราคาสุกรปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ 66 บาท/กก. (+8% MoM แต่ -22% YoY เทียบกับจุดคุ้มทุนที่ระดับกำไรขั้นต้นสำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ 68 บาท/กก.) เนื่องจากอากาศร้อนส่งผลกระทบต่ออุปทาน และราคาไก่เนื้ออยู่ที่ 44 บาท/กก. (+2% MoM และ +12% YoY เทียบกับจุดคุ้มทุนที่ระดับกำไรขั้นต้นที่ 38-39 บาท/กก.) จากความต้องการส่งออกที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น (อุปสงค์ฟื้นตัวหลัง COVID-19) และยุโรป (อุปสงค์ดีขึ้น เพราะมีการกลับมาเก็บสต๊อกเพิ่ม จากฐานต่ำของปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาการระบายสต๊อกสินค้าที่เก็บสะสมไว้) ต้นทุนอาหารสัตว์ ในเดือนเม.ย. ถึงปัจจุบัน ต้นทุนข้าวโพดในประเทศและกากถั่วเหลืองนำเข้าอยู่ที่ 10 บาท/กก. (ทรงตัว MoM แต่ -20% YoY) และ 21 บาท/กก. (-2% MoM และ -13% YoY) จากสภาวะการเพาะปลูกที่ดีขึ้น การดำเนินงานต่างประเทศ ในเดือนเม.ย. ถึงปัจจุบัน ราคาสุกรในประเทศเวียดนามปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ VND60,000/กก. (+9% MoM และ +19% YoY เทียบกับจุดคุ้มทุนที่ระดับกำไรขั้นต้นที่ VND45,000/กก.) จากอุปทานที่ลดลง เนื่องจากโรค ASF เริ่มกลับมาระบาดอีกครั้งในช่วงปลายปี 2566; ราคาสุกรในประเทศจีนปรับขึ้นสู่ CNY15/กก. +3% MoM และ +5% YoY เทียบกับจุดคุ้มทุนที่ระดับกำไรขั้นต้นที่ CNY16.5/กก. ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ อุปสงค์และราคาที่ลดลงจากเศรษฐกิจที่เปราะบางและอุปทานที่มากขึ้น และต้นทุนอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น ปัจจัยเสี่ยง ESG ที่สำคัญ คือ การบริหารจัดการพลังงาน ของเสีย และน้ำ ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน (E) นโยบายด้านสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค/พนักงาน (S) | |||
ท่านสามารถอ่านและดาวน์โหลดเอกสารได้จาก CPF240419_T
|