หากไม่รวมรายการพิเศษ พบว่ากำไรปกติของ AH อ่อนแอที่ 301 ลบ. ลดลงแรง 50% YoY และ 29% QoQ ต่ำกว่าตลาดคาด 14% จากยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นที่อ่อนแอ ผลประกอบการ 1Q67 ที่อ่อนแอและการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยที่ชะลอตัวลงส่งผลทำให้เราปรับประมาณการกำไรปกติของ AH ลดลง 31% ในปี 2567 และ 30% ในปี 2568 เราปรับลดคำแนะนำ tactical call ระยะ 3 เดือน สำหรับ AH ลงสู่ NEUTRAL (จาก OUTPERFORM) เนื่องจากยังขาดปัจจัยกระตุ้นราคาหุ้นในระยะสั้น ราคาเป้าหมายสิ้นปี 2567 ที่เราปรับใหม่อยู่ที่ 23 บาท/หุ้น (ลดลงจาก 38 บาท/หุ้น)
1Q67: กำไรต่ำกว่าคาด AH รายงานกำไรสุทธิ 1Q67 ที่ 319 ลบ. (ลดลง 43% YoY แต่เพิ่มขึ้น 132% QoQ) หากไม่รวมรายการพิเศษ พบว่ากำไรปกติอ่อนแอที่ 301 ลบ. ลบ. ลดลงแรง 50% YoY และ 29% QoQ ต่ำกว่าตลาดคาด 14% จากยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นที่อ่อนแอ
รายการที่สำคัญ:
ยอดขายจากธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ OEM (69% ของยอดขาย) ลดลง 14% YoY แต่เพิ่มขึ้น 1% QoQ สู่ 5.1 พันลบ. หลักๆ ถูกฉุดรั้งโดยการดำเนินงานในประเทศไทยที่อ่อนแอลงจากการผลิตรถยนต์ลดลง โดยเฉพาะรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ในขณะที่การดำเนินงานในโปรตุเกสและจีนแข็งแกร่งขึ้น (ยอดขายเติบโต YoY และ QoQ)
อัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 9.5% ใน 1Q67 ลดลงจาก 12.6% ใน 1Q66 และ 11.5% ใน 4Q66 ต่ำกว่าเป้าของ AH ที่ 10-12% ในปี 2567
ส่วนแบ่งกำไรอยู่ที่ 44 ลบ. (-64% YoY, -35% QoQ) เพราะไม่มีส่วนแบ่งกำไรจากบริษัท ฮุนได มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งแต่ 2Q66 และบริษัทร่วม SACL หลังจากขายเงินลงทุนออกไปตั้งแต่ 1Q67
ปรับประมาณการกำไรลดลง ผลประกอบการ 1Q67 ที่อ่อนแอและการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยที่ชะลอตัวลงส่งผลทำให้เราปรับประมาณการกำไรปกติของ AH ลดลง 31% ในปี 2567 และ 30% ในปี 2568 หลังจากปรับประมาณการ เราคาดว่ากำไรปกติปี 2567 จะลดลง 28% สู่ 1.3 พันลบ. เราปรับราคาเป้าหมายสิ้นปี 2567 ลดลงสู่ 23 บาท/หุ้น (จาก 38 บาท/หุ้น) ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับประมาณการกำไรและการปรับ PE เป้าหมายลดลงสู่ 6.4 เท่า หรือ -1SD ของ PE เฉลี่ยย้อนหลังตั้งแต่ปี 2556 (จาก 7.7 เท่า หรือ -0.5SD) เพื่อสะท้อนกำไรที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลง
ปรับคำแนะนำลงสู่ NEUTRAL เนื่องจากขาดปัจจัยกระตุ้นราคาหุ้น เราปรับลดคำแนะนำ tactical call ระยะ 3 เดือน สำหรับ AH ลงจาก OUTPERFORM สู่ NEUTRAL ในขณะที่เรามองว่า valuation ของ AH ไม่แพงที่ PE ปี 2567 ระดับ 5.8 เท่า แต่ AH จะได้รับแรงกดดันอย่างต่อเนื่องจากกำไรที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงในปี 2567 เรามองว่าภาพรวมน่าจะดูดีขึ้นในปี 2568 จากการดำเนินงานที่ดีขึ้นที่บริษัทร่วมทุนแห่งใหม่: AAPICO Avee (ถือหุ้น 60% โดย AH และที่เหลือ 40% ถือโดยบริษัทย่อยของ Proton Holdings Berhad) และ JV Purem AAPICO (บริษัทร่วมทุนที่ประกอบธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายระบบควบคุมการปล่อยไอเสียและส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องสำหรับยานยนต์เพื่อการพาณิชย์และรถยนต์ส่วนบุคคล, AH ถือ 49%)
ปัจจัยเสี่ยง 1) ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความต้องการซื้อรถยนต์ 2) การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งส่งผลทำให้ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยานยนต์หยุดชะงัก และ 3) ข้อพิพาททางกฎหมาย เรามองว่าความเสี่ยง ESG ที่สำคัญ คือ ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม (E) แต่ AH มุ่งมั่นขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยกำหนดเป้าหมายไว้อย่างชัดเจน
ท่าน สามารถอ่านและดาวน์โหลดเอกสารได้จาก AH240515_T
Excluding extra items, AH’s core profit was weak at Bt301mn, plummeting 50% YoY and 29% QoQ, 14% below market estimates from weak sales and gross margin. The weak 1Q24 and slowdown in Thai auto production leads us to slash our core earnings forecast by 31% in 2024 and 30% in 2025. We downgrade our 3-month tactical call to Neutral (from Outperform) as the stock lacks a near-term catalyst. Our new end-2024 TP is Bt23/share (down from Bt38/share). Earnings cut. The weak 1Q24 and slowdown in Thai auto production leads us to cut our core earnings forecast by 31% in 2024 and 30% in 2025. After the revision, we forecast a drop in 2024 core earnings of 28% to Bt1.3bn. Our end-2024 TP is brought down to Bt23/share (from Bt38/share) from both the earnings revision and a lower assigned PE multiplier of 6.4x or -1SD of historical average since 2013 (from 7.7x or -0.5SD) to reflect the earnings downtrend. Downgrade to Neutral as the stock lacks near-term catalyst. We downgrade our 3-month tactical call on AH to Neutral from Outperform. While we view AH’s valuation as undemanding at 5.8x 2024PE, the stock will continue to be pressured by an earnings downtrend in 2024. The picture should brighten in 2025 on better operations at new investments: AAPICO Avee (60% held by AH, 40% held by a subsidiary of Proton Holdings Berhad) and the JV Purem AAPICO (49% held by AH, a JV which makes exhaust emission control systems and components for commercial vehicles and passenger cars). Risks. 1) Economic uncertainty derailing auto demand, 2) semiconductor shortages that disrupt auto supply chains, 3) litigation cases. We see the key ESG risk as environmental issues (E), but AH is clearly moving on its sustainability development with committed targets. |
---|