เกิดอะไรขึ้น - 1Q66 RJH มีกำไรสุทธิ 106 ลบ. (ดีกว่าตลาดคาด 12%) โดยหดตัว 77.5%YoY สาเหตุหลักมาจากรายได้ค่ารักษารวมที่ลดลง 52%YoY เนื่องจากมีการรับรู้รายได้ COVID-19 ใน 1Q65 สูงถึง 685 ลบ. อย่างไรก็ดีหากไม่รวมบริการ COVID-19 พบว่ารายได้คนไข้ทั่วไปและรายได้ประกันสังคมเติบโต 24%YoY และ 18%YoY ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนคนไข้ทั่วไปและผู้ประกันตน รวมทั้งการมีค่ารักษาเฉลี่ยต่อหัวที่เพิ่มขึ้นจากอัตราเข้ารักษาโรคซับซ้อนรุนแรงและมีเคสการผ่าตัดที่เพิ่มขึ้น
ความเห็นและกลยุทธ์การลงทุน - กำไร 1Q66 คิดเป็น 28% ของประมาณการทั้งปีซึ่งสูงกว่าคาด เนื่องจากรายได้คนไข้ทั่วไปและประกันสังคม (ไม่รวม COVID-19) ดีเกินคาดจากทั้งจำนวนผู้ป่วยและค่ารักษาที่เพิ่มขึ้น บวกกับ ตั้งแต่ 1 พ.ค. 66 สำนักงานประกันสังคมได้ปรับขึ้นค่าเหมาจ่ายรายหัวเป็น 1,808 บาท/คน/ปี เพิ่มขึ้น 2%YoY ซึ่งส่งผลดีต่อ RJH ที่มีสัดส่วนรายได้ประกันสังคมราว 44% ของรายได้ค่ารักษารวมและยังไม่อยู่ในประมาณการเดิมเพื่อสะท้อนปัจจัยบวกดังกล่าวเราจึงปรับเพิ่มประมาณการกำไรตั้งแต่ปี 2566 เฉลี่ยราว 7%
- ภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 2566 RJH จะมีกำไรสุทธิ 403 ลบ. ยังหดตัว 60.8%YoY เนื่องจากไม่มีการรับรู้รายได้เกี่ยวกับบริการ COVID-19 อย่างมีนัยฯ เช่นปี 2565 ราว 1.3 พันลบ. อย่างไรก็ดีคาดกำไรปกติจะเติบโต 18% จากปี 2562 (ก่อนเกิดสถานการณ์โรค COVID-19 แพร่ระบาดในไทย) ตามจำนวนคนไข้ทั่วไปและผู้ประกันตนที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งมีค่ารักษาเฉลี่ยต่อคนที่ปรับตัวสูงขึ้นจากจำนวนเคสโรคซับซ้อนที่มีมากขึ้น
- เนื่องจากกำไร 2Q66 คาดลดลง QoQ จากผลฤดูกาล และ YoY จากฐานปีก่อนสูง (2Q65 รับรู้รายได้ COVID-19 ราว 590 ลบ.) ดังนั้นสำหรับ tactical call ระยะ 3 เดือน จึงคงแนะนำ “ถือ” เพื่อรอการฟื้นตัว โดยยังคงประเมินราคาเป้าหมายปี 2566 อยู่ที่หุ้นละ 33 บาท อิงวิธี DCF (WACC ที่ 6.8% และอัตราการเติบโตระยะยาวที่ 1.0%) และคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2566 หุ้นละ 0.98 บาท คิดเป็น Yield 3.4%
Catalysts/Risks
(+/-) การเปลี่ยนนโยบายโครงการประกันสังคมทั้งค่าเหมาจ่ายและค่าบริการต่างๆ (+) ดีลความร่วมมือกับรพ. อื่นๆ รับส่งต่อผู้ป่วยมารักษาที่ศูนย์สวนหัวใจ, MRI (-) มาตรการคุมค่ารักษาของภาครัฐแต่มอง RJH เสี่ยงต่ำเพราะเป็น รพ. กลุ่มสีเขียว (-) หุ้นมีสภาพคล่องในการซื้อขายบนกระดานน้อย |