ผลิตภัณฑ์

  1. หุ้น เป็นหุ้นส่วนบริษัท ด้วยเงินหลักร้อย
  2. กองทุน เปิดพอร์ตแบบอีซี่.. มีมืออาชีพคอยดูแลให้
  3. Intelligent Portfolios เปิดโหมดอัตโนมัติสำหรับดูแลการลงทุน
  4. สินทรัพย์ดิจิทัล การลงทุนบนสินทรัพย์แห่งอนาคต
  5. ตราสารหนี้และหุ้นกู้ ลงทุนเพื่อผลตอบแทนระยะยาว
  6. ตราสารอนุพันธ์ มองการณ์ไกล ด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
  7. บริการยืมและให้ยืมสินทรัพย์ ปล่อยเช่า-ขอยืมหุ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุน
  8. กองทุนส่วนบุคคล มีผู้จัดการช่วยให้การลงทุนของคุณง่ายขึ้น
  9. คู่มือการใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา
  10. กลยุทธ์การลงทุน กลยุทธ์การลงทุนแนะนำ

แหล่งความรู้ด้านการลงทุน

  1. เริ่มลงทุนก้าวแรก เริ่มลงทุนก้าวแรก
  2. ลงทุนตามสินทรัพย์ ลงทุนตามสินทรัพย์
  3. บทวิเคราะห์การลงทุน บทวิเคราะห์การลงทุน
  4. แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน

ข่าวสารและโปรโมชัน

  1. โปรโมชันและสิทธิพิเศษเพื่อคุณ
  2. อัปเดตข่าวสาร
  3. ประกาศ
  4. Point to invest
  5. INVX Point​
scbs image

โปรโมชันและสิทธิพิเศษ

พิเศษสำหรับลูกค้า Innovestx เท่านั้นใช้พอยต์แลกกองทุนรวมที่โดนใจ

ดูเพิ่มเติม

เกี่ยวกับเรา

  1. เกี่ยวกับเรา ร่วมเติบโตอย่างยั่งยืนไปกับเรา InnovestX
  2. ร่วมงานกับเรา ก้าวไปข้างหน้าแบบมีสไตล์
ค้นหาล่าสุด
เคลียร์
{{GetHitSearchValue.keywordTitle}}

INVX Macro Making Sense – 12 ก.พ. 2567  สรุปประเด็นเรื่องภาคธุรกิจของสหรัฐเสี่ยงมากขึ้น, จีนกำลังเผชิญกับวิกฤตศรัทธา, วิกฤตหนี้เสียรถ-บ้านลาม

blog_list_heading
12 ก.พ. 2567;
248
แชร์บทความนี้
test_blog_details_img

เนื้อหาโดยรวม

สรุปประเด็นเรื่องภาคธุรกิจของสหรัฐเสี่ยงมากขึ้น, จีนกำลังเผชิญกับวิกฤตศรัทธา, วิกฤตหนี้เสียรถ-บ้านลาม

ภาคธุรกิจของสหรัฐเสี่ยงมากขึ้น บทวิเคราะห์ของ The Economist ระบุว่า แม้เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และเงินเฟ้อเริ่มลดลง แต่มองว่าในอนาคต มีปัจจัย 3 ประการที่จะฉุดให้ผลประกอบการของสหรัฐแย่ลง ปัจจัยแรกได้แก่ผู้บริโภคสหรัฐ ปัจจัยที่สองได้แก่ สุขภาพของผู้บริโภคในประเทศจีน และ ปัจจัยที่สาม ได้แก่ การชะลอลงของการลงทุนภาคอุตสาหกรรมสหรัฐ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่ดูจะเป็นความหวังของสหรัฐคือปัญญาประดิษฐ์ (AI) เราวิเคราะห์ว่า การบริโภคและลงทุนสหรัฐมีแนวโน้มจะชะลอลงจาก (1) การขยายตัวของค่าจ้างที่จะชะลอลง (จากอำนาจการต่อรองของนายจ้างที่มีมากขึ้น) ท่ามกลางเงินเฟ้อที่อาจลดลงได้ยากในระยะต่อไป ทำให้รายได้ที่แท้จริงของประชาชนเริ่มลดลง (2) ภาคธุรกิจที่จะเริ่มขยายตัวได้ลำบากท่ามกลางการตีตลาดของจีนที่จะมีมากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนทำให้รายได้ลดลง (3) ประโยชน์ของ AI ในการดำเนินธุรกิจยังมีไม่มากนักในปัจจุบัน ทำให้ความสามารถในการผลิตของเศรษฐกิจไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก ท่ามกลางค่าใช้จ่ายด้าน AI ที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งจะเป็นตัวฉุดรั้งเศรษฐกิจในระยะต่อไป

ตลาดเงินตลาดทุนจีนกำลังเผชิญกับวิกฤตศรัทธา เราวิเคราะห์ว่า วิกฤตอสังหาฯ นโยบายที่เน้นเสถียรภาพมากกว่าการเติบโต และสงครามเย็นระหว่างจีนและชาติตะวันตก ทำจีนเสี่ยงเข้าสู่วงจรเงินฝืดมากขึ้น โดยนโยบายที่เน้นการเติบโตในกลุ่มอุตสาหกรรมที่รัฐสนับสนุน เช่น อุตสาหกรรมการผลิต แต่ละเลยภาคอื่น ๆ เช่น ภาคเทคฯ Software ภาคอสังหาฯ และภาคบริการอื่นๆ ทำให้ภาคเศรษฐกิจโดยรวมชะลอลงต่อเนื่อง ขณะที่อุตสาหกรรมการผลิตก็ยังไม่สามารถเติบโตแทนที่ได้ ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจจีนในภาพรวมในระยะต่อไป

วิกฤตหนี้เสียรถ-บ้านลาม ดอกเบี้ยสูงซ้ำเติมครัวเรือนกระอัก ประชาชาติธุรกิจออกบทวิเคราะห์ “วิกฤตหนี้ครัวเรือน” โดยเครดิตบูโรเปิดข้อมูล ปิดปี 2566 “หนี้เสีย+หนี้ SM” รวมทะลุ 1.6 ล้านล้านบาท และให้จับตา “หนี้บ้าน” ค้างชำระพุ่ง 31% “หนี้รถ” NPL กระฉูด 28% ดันหนี้เสียรถยนต์แตะ 2.3 แสนล้านบาท แถมกลุ่มหนี้กำลังจะเสียวิ่งไล่มาอีก 2 แสนล้านบาท ขณะที่ธนาคารกังวลหนี้เสียลุกลาม จึงคุมเข้มการปล่อยกู้ฉุดตลาดรถ-บ้านขายไม่ออก ซึ่งภาวะดอกเบี้ยสูง จะกดดันปัญหาหนี้ครัวเรือน ให้เป็นปัญหาไปอีกนาน ฝาก ธปท.ปรับวิธีคิดสูตรแก้หนี้ ด้านศูนย์วิจัยกสิกรฯย้ำดอกเบี้ยสูงกดทับปัญหาความสามารถชำระหนี้คนไทย ขณะที่รายได้ต่อหัวลดลง หนี้ภาคธุรกิจยังจัดการได้ ยอมรับบางเซ็กเตอร์ความเสี่ยงเพิ่ม ขระที่เราวิเคราะห์ว่า นโยบายการเงินที่ตึงตัวเกินไป ทำให้ความเสี่ยงภาคการเงินของไทย-สินเชื่อลด NPL พุ่ง และทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอลง

                                                                                                         

                                                                                                        ท่าน สามารถอ่านและดาวน์โหลดเอกสารได้จาก  Macro making sense 240212_T

                                                                                                        หัวข้ออื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
                                                                                                        กลับด้านบน