เนื้อหาโดยรวม
สรุปประเด็น (1) เงินเฟ้อ Core PCE สหรัฐลดลงต่อ (2) ส่งออกปี 66 หดตัว -1.0% (3) “ทะเลแดง” ฉุดเป้า |
เงินเฟ้อ Core PCE สหรัฐลดลงต่อเนื่อง ท่ามกลางการใช้จ่ายที่แข็งแกร่ง ดัชนี Core PCE ลดลงเหลือ 2.9% ต่อปีในเดือนที่แล้ว ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2021 ขณะที่การใช้จ่ายเพิ่มขึ้นติดต่อกันมากที่สุดในรอบเกือบหนึ่งปี เราวิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มส่งสัญญาณ Soft landing มากขึ้น โดยได้รับโมเมนตัมจากการใช้จ่ายที่ดีในช่วงปลายปี อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เศรษฐกิจชะลอตัวท่ามกลางเงินเฟ้อที่อาจกลับมาสูงขึ้นมีความเป็นไปได้จากปัญหาการขนส่งที่เริ่มมีมากขึ้น (ทั้งจากด้านทะเลแดง และจากคลองปานามา) ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคาน้ำมันเริ่มกลับมาสูงขึ้น นอกจากนั้น การผิดนัดชำระหนี้ที่ยังปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องก็จะเป็นปัจจัยที่ฉุดรั้งกำลังซื้อในสหรัฐด้วยเช่นกัน ส่งออก ธ.ค. 66 โต 4.7% จากน้ำมันและอัญมณี ทั้งปีหดตัว -1.0% การส่งออกเดือนนี้ เป็นการฟื้นตัวตามการส่งออกในภูมิภาค ขณะที่การฟื้นตัวของส่งออกในช่วง 5 เดือนหลัง ทำให้การส่งออกรวมหดตัว -1.0% ในปีนี้ โดยเป็นผลจากการส่งออกน้ำมันเป็นหลัก ขณะที่การส่งออกสินค้าสำคัญอื่น ๆ เช่น รถยนต์ อัญมณี รวมถึงสินค้าเกษตรอย่างข้าว ผัก และผลไม้ ส่งออกได้ต่อเนื่อง ขณะที่สินค้าที่สำคัญ เช่น ยางพารา และผลิตภัณฑ์ยาง รวมถึงเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เริ่มฟื้นตัว แต่อาหารทะเลกระป๋อง เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ รวมถึงรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ยังหดตัว บ่งชี้ว่าวัฐจักรอิเล็กทรอนิกส์อาจเริ่มกลับมาเป็นบวก แต่ยังคงต้องจับตาความต้องการต่อเนื่อง ท่ามกลางความเสี่ยงต้นทุนการขนส่งที่สูงขึ้นตามปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งนี้ หากพิจารณา Momentum ของการส่งออกไทยในภาพรวม พบว่า Momentum เริ่มชะลอลง ส่งออกไทยระสํ่า ! พิษ “ทะเลแดง” ฉุดเป้า 10 ล้านล้านสะเทือน ฐานเศรษฐกิจออกบทวิเคราะห์ ระบุว่า ส่งออกไทยเริ่มต้นปีมีสัญญาณที่ไม่ค่อยดี จากวิกฤตในทะเลแดง ส่งผลผู้ประกอบการมีต้นทุนค่าระวางเรือไปยุโรปเพิ่มขึ้น 3-4 เท่าตัวจากปลายปีที่ผ่านมา จับตาราคาน้ำมันโลกอาจจะกลับมาเพิ่มขึ้น หลังจีนกลับมาเปิดโรงงานผลิตหลังเทศกาลตรุษจีน ดันต้นทุนผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น ซัพพลายเชนดิสรัปชั่น และเงินเฟ้อของโลก อาจจะกลับมาอีกครั้ง |
ท่าน สามารถอ่านและดาวน์โหลดเอกสารได้จาก Macr making sense 29012024 |