ผลิตภัณฑ์

  1. หุ้น เป็นหุ้นส่วนบริษัท ด้วยเงินหลักร้อย
  2. กองทุน เปิดพอร์ตแบบอีซี่.. มีมืออาชีพคอยดูแลให้
  3. Intelligent Portfolios เปิดโหมดอัตโนมัติสำหรับดูแลการลงทุน
  4. สินทรัพย์ดิจิทัล การลงทุนบนสินทรัพย์แห่งอนาคต
  5. ตราสารหนี้และหุ้นกู้ ลงทุนเพื่อผลตอบแทนระยะยาว
  6. ตราสารอนุพันธ์ มองการณ์ไกล ด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
  7. บริการยืมและให้ยืมสินทรัพย์ ปล่อยเช่า-ขอยืมหุ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุน
  8. กองทุนส่วนบุคคล มีผู้จัดการช่วยให้การลงทุนของคุณง่ายขึ้น
  9. คู่มือการใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา
  10. กลยุทธ์การลงทุน กลยุทธ์การลงทุนแนะนำ

แหล่งความรู้ด้านการลงทุน

  1. เริ่มลงทุนก้าวแรก เริ่มลงทุนก้าวแรก
  2. ลงทุนตามสินทรัพย์ ลงทุนตามสินทรัพย์
  3. บทวิเคราะห์การลงทุน บทวิเคราะห์การลงทุน
  4. แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน

ข่าวสารและโปรโมชัน

  1. โปรโมชันและสิทธิพิเศษเพื่อคุณ
  2. อัปเดตข่าวสาร
  3. ประกาศ
  4. Point to invest
  5. INVX Point​
scbs image

โปรโมชันและสิทธิพิเศษ

พิเศษสำหรับลูกค้า Innovestx เท่านั้นใช้พอยต์แลกกองทุนรวมที่โดนใจ

ดูเพิ่มเติม

เกี่ยวกับเรา

  1. เกี่ยวกับเรา ร่วมเติบโตอย่างยั่งยืนไปกับเรา InnovestX
  2. ร่วมงานกับเรา ก้าวไปข้างหน้าแบบมีสไตล์
ค้นหาล่าสุด
เคลียร์
{{GetHitSearchValue.keywordTitle}}

INVX Macro Making Sense – 4 มิ.ย. 2567 สรุปประเด็นเงินเฟ้อ Core PCE ของสหรัฐทรงตัว เงินเฟ้อยูโรโซนเพิ่มขึ้นเกินคาด มุมมองเศรษฐกิจไทยจากผลกระทบปัจจัยการเมือง

blog_list_heading
04 มิ.ย. 2567;
197
แชร์บทความนี้
test_blog_details_img

เนื้อหาโดยรวม

 

สรุปประเด็นเงินเฟ้อ Core PCE ของสหรัฐทรงตัว เงินเฟ้อยูโรโซนเพิ่มขึ้นเกินคาด มุมมองเศรษฐกิจไทยจากผลกระทบปัจจัยการเมือง

เงินเฟ้อ Core PCE ของสหรัฐทรงตัว ขณะที่การใช้จ่ายของครัวเรือนหดตัวเกินคาด
  • - อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core PCE) สหรัฐขยายตัวชะลอลงในเดือน เม.ย. ขณะที่ผู้บริโภคลดการใช้จ่ายลง โดยเงินเฟ้อ Core PCE เพิ่มขึ้น 0.2% จากเดือนก่อน ชะลอลงจาก 0.3% ต่อเดือน ในเดือน ก.พ. และ มี.ค. และ 0.5% ในเดือน ม.ค. ด้านการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ปรับตามอัตราเงินเฟ้อหดตัว -0.1% จากเดือนก่อน (ขณะที่ไม่หักเงินเฟ้อขยายตัว 0.2% จาก 0.7% เดือนก่อน) ผลจากการใช้จ่ายด้านสินค้าและบริการ รวมถึงการขยายตัวของค่าจ้างลดลง
  • - เรามองว่า ทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มชะลอตัวลงมากขึ้น โดยแม้ว่าเงินเฟ้อที่เทียบกับปีก่อนจะทรงตัว แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนเริ่มชะลอตัว ท่ามกลางการใช้จ่ายที่เริ่มชะลอลง จากหนี้สินที่อยู่ระดับสูง นอกจากนั้น แม้รายได้ของครัวเรือน(ที่ไม่หักเงินเฟ้อ) หรือ Personal Income ยังคงขยายตัวที่ 0.3% ต่อเดือน แต่รายได้สุทธิสำหรับการใช้จ่าย (Disposable income) เริ่มหดตัวลง -0.1% ในเดือน เม.ย. บ่งชี้ว่าการจับจ่ายในระยะถัดไปมีความเสี่ยงท่ามกลาง (1) เงินออมส่วนเกินที่หมดลง (2) อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่สูงเป็นประวัติการณ์ และ (3) อัตราการผิดนัดชำระหนี้ที่พุ่งสูงเกินระดับก่อนเกิด Covid แล้ว ทำให้เรายังคงมุมมองว่า Fed จะลดดอกเบี้ยเดือน พ.ย. และ ธ.ค. นี้
  •  
เงินเฟ้อยูโรโซนเพิ่มขึ้นเกินคาดก่อนที่ ECB จะลดดอกเบี้ย
  • - อัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคทั่วไปของยูโรโซนเพิ่มขึ้น 2.6% ต่อปีในเดือน พ.ค. จาก 2.4% ในเดือน เม.ย. มากกว่าตลาดคาดที่ 2.5%
  • - เรามองว่า (1) เงินเฟ้อของยุโรปจะยังคงลดลง แต่ยากมากขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นทำให้เงินเฟ้อจากภาคอุปสงค์ (Demand-pull inflation) จะมีส่วนดึงไม่ให้เงินเฟ้อลดลงได้รวดเร็ว (2) เรายังเชื่อว่า ECB จะลดดอกเบี้ยลงได้ 3 ครั้งในปีนี้ (3) การที่ ECB ลดดอกเบี้ยได้เร็วกว่า Fed ของสหรัฐ ทำให้ค่าเงินยูโรมีสิทธิอ่อนค่าต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์
  •  
มุมมองเศรษฐกิจไทยจากผลกระทบปัจจัยการเมือง
  • - เราได้ตั้งสมมุติฐานด้านการเมืองไทยและภูมิรัฐศาสตร์โลก 5 ประการ ดังนี้ (1) มีโอกาส 80% ที่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน จะได้บริหารราชการต่อไป (2) เราเชื่อว่า ในคดีทางการเมืองอื่น ๆ ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อการบริหารราชการของรัฐบาลชุดปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญ (3) เราเชื่อว่า ผลโพลสำรวจความนิยมพรรคการเมือง ของสถาบันพระปกเกล้า ที่พบว่า คะแนนนิยมพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้น 37% จะทำให้รัฐบาลจะหันมามุ่งเน้นการบริหารเศรษฐกิจมากขึ้น (4) เราเชื่อว่า กระบวนการจัดตั้งวุฒิสภาฯ ชุดใหม่จะเป็นไปตามกำหนดการเดิม และ (5) เราเชื่อว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ จะเป็นการขับเคี่ยวอย่างเข้มข้นของ 2 อดีตประธานาธิบดี
  • - ด้วยสมมุติฐานทั้ง 5 ทำให้เราได้ทำการวิเคราะห์เศรษฐกิจไทยในสถานการณ์ต่าง ๆ (Scenario analysis) ดังนี้ (1) ในสถานการณ์ฐาน (Base case) ที่ศาลฯ ตัดสินเป็นคุณกับนายกฯ เศรษฐา เศรษฐกิจจะขยายตัวที่ 2.5% ในปี 2024 และ 3.0% ในปี 2025 ตามลำดับ (2) ในสถานการณ์เลวร้าย (Worse case) ที่หากศาลฯ ตัดสินไม่เป็นคุณกับนายกฯ เศรษฐา แต่ยังได้นายกฯ ที่มาจากพรรคเพื่อไทย เศรษฐกิจจะขยายตัวที่ 2.3% ในปี 2024 และ 2.7% ในปี 2025 ตามลำดับ และ (3) ในสถานการณ์เลวร้ายที่สุด (Worst case) ที่หากศาลฯ ตัดสินไม่เป็นคุณกับนายกฯ เศรษฐา และไม่สามารถสรรหานายกฯ ภายในไตรมาส 3 เราคาดการณ์เศรษฐกิจจะขยายตัวที่ 2.0% ในปี 2024 และ 2.5% ในปี 2025 ตามลำดับ
 
ท่าน สามารถอ่านและดาวน์โหลดเอกสารได้จาก Macro making sense 240604_T

 

กลับด้านบน