ผลิตภัณฑ์

  1. หุ้น เป็นหุ้นส่วนบริษัท ด้วยเงินหลักร้อย
  2. กองทุน เปิดพอร์ตแบบอีซี่.. มีมืออาชีพคอยดูแลให้
  3. Intelligent Portfolios เปิดโหมดอัตโนมัติสำหรับดูแลการลงทุน
  4. สินทรัพย์ดิจิทัล การลงทุนบนสินทรัพย์แห่งอนาคต
  5. ตราสารหนี้และหุ้นกู้ ลงทุนเพื่อผลตอบแทนระยะยาว
  6. ตราสารอนุพันธ์ มองการณ์ไกล ด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
  7. บริการยืมและให้ยืมสินทรัพย์ ปล่อยเช่า-ขอยืมหุ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุน
  8. กองทุนส่วนบุคคล มีผู้จัดการช่วยให้การลงทุนของคุณง่ายขึ้น
  9. คู่มือการใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา

แหล่งความรู้ด้านการลงทุน

  1. เริ่มลงทุนก้าวแรก เริ่มลงทุนก้าวแรก
  2. ลงทุนตามสินทรัพย์ ลงทุนตามสินทรัพย์
  3. บทวิเคราะห์การลงทุน บทวิเคราะห์การลงทุน
  4. แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน

ข่าวสารและโปรโมชัน

  1. โปรโมชันและสิทธิพิเศษเพื่อคุณ
  2. อัปเดตข่าวสาร
  3. ประกาศ
  4. Point to invest
  5. INVX Point​
scbs image

โปรโมชันและสิทธิพิเศษ

พิเศษสำหรับลูกค้า Innovestx เท่านั้นใช้พอยต์แลกกองทุนรวมที่โดนใจ

ดูเพิ่มเติม

เกี่ยวกับเรา

  1. เกี่ยวกับเรา ร่วมเติบโตอย่างยั่งยืนไปกับเรา InnovestX
  2. ร่วมงานกับเรา ก้าวไปข้างหน้าแบบมีสไตล์
ค้นหาล่าสุด
เคลียร์
{{GetHitSearchValue.keywordTitle}}

9 เทคนิค เลือกกองทุนรวม

blog_list_heading
21 ส.ค. 2565;
2730
แชร์บทความนี้
test_blog_details_img

เนื้อหาโดยรวม

Checklist “9 เทคนิค เลือกกองทุนรวม”💬

ข้อที่ 1 “นโยบายและสินทรัพย์ที่ลงทุน”
นโยบายและสินทรัพย์ที่ลงทุนเป็นขั้นตอนแรกของการเลือกกองทุนรวมที่ใช่ เพื่อให้ตรงตามสัดส่วนสินทรัพย์ที่กำหนดไว้ในพอร์ตการลงทุน เช่น กรอบสัดส่วนการลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ 70:30 เป็นต้น

ข้อที่ 2 “Sharpe Ratio”
Sharpe Ratio หรือ ผลตอบแทนต่อความเสี่ยง เป็นการวัดผลตอบแทนส่วนเกินเหนือผลตอบแทนสินทรัพย์ปราศจากความเสี่ยงปรับด้วยความเสี่ยงกองทุนรวม โดยผู้ลงทุนสามารถนำค่านี้มาใช้ในการเปรียบกองทุนรวมบนฐานเดียวกันได้ ค่ายิ่งสูงยิ่งดี เพราะสะท้อนความสามารถในการสร้างผลตอบแทนเทียบ 1 หน่วยความเสี่ยงได้ดีกว่า

เช่น กองทุน A และ B มีค่า Sharpe Ratio เท่ากับ 1.1 และ 0.9 ตามลำดับ หมายความว่า กองทุน A ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่ากองทุน B เมื่อเทียบความเสี่ยง 1 หน่วยเดียวกัน

ข้อที่ 3 “ความสม่ำเสมอของผลตอบแทน”
การสร้างผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควรใช้ในการพิจารณาเลือกกองทุนรวม เพราะแสดงถึงความสามารถในการสร้างผลตอบแทนของผู้จัดการกองทุนที่ไม่ได้จำกัดที่ไม่ได้จำกัดเพียงช่วงระยะสั้น ๆ

ในหลายครั้งกองที่เคยสร้างผลตอบแทนได้โดดเด่นในบางปี อาจกลายเป็นกองทุนที่มีผลการดำเนินแย่ในปีถัดไป ซึ่งสร้างผลกระทบสะท้อนกลับมาสู่ผู้ลงทุนในทางจิตวิทยา เพื่อเลี่ยงภาวะดังกล่าว นักลงทุนควรพิจารณาความสม่ำเสมอของผลตอบแทนกองทุนรวมในระยะเวลาที่นานขึ้น


ข้อที่ 4 “Standard Deviation”
Standard Deviation หรือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือค่าที่บอกถึงความผันผวนของกองทุนรวม ยิ่งค่าต่ำยิ่งดี เพราะแสดงถึงความผันผวนของกองทุนรวมที่ต่ำตามไปด้วย และสามารถนำมาใช้เปรียบเทียบเพื่อดูได้ว่ากองทุนใดมีความผันผวนสูงกว่ากันในช่วงที่ผ่านมา

ข้อที่ 5 “Maximum Drawdown”
Maximum Drawdown คือ การขาดทุนสูงสุดที่เกิดขึ้นในอดีต วัดจาก NAV กองทุนรวมจากจุดสูงสุด (historical peak) ไปยังจุดต่ำสุด (historical trough) ซึ่งมีได้หลายค่าในแต่ละช่วงเหตุการณ์ในอดีต แต่ Maximum Drawdown จะเลือกค่าที่มีการขาดทุนสูงสุดจากทุกค่าในรอบที่มีการขาดทุน


ข้อที่ 6 “Up Capture Ratio และ Down Capture Ratio”
Up Capture Ratio เป็นการเปรียบเทียบผลตอบแทนกองทุนกับดัชนีอ้างอิงในช่วงที่ตลาดปรับตัวขึ้น ขณะที่ Dow Capture Ratio เป็นการเปรียบเทียบผลตอบแทนกองทุนกับดัชนีอ้างอิงในช่วงที่ตลาดปรับตัวลง ซึ่งทั้งสองค่าเป็นการวัดว่ากองทุนสามารถทำผลการดำเนินงานได้ดีหรือแย่กว่าดัชนีอ้างอิง (benchmark)
• ตัวอย่าง Up Capture 130 คือ หากตลาดปรับตัวขึ้น 1% กองทุนสามารถปรับตัวขึ้นได้ถึง 1.3% (Outperform อยู่ +0.3%)
• ตัวอย่าง Down Capture 80 คือ หากตลาดปรับตัวลง -1% กองทุนปรับตัวลงแค่ -0.8% (Outperform อยู่ +0.2%)
• ตัวอย่าง Down Capture -20 คือ หากตลาดปรับตัวลง -1% กองทุนปรับตัวขึ้นสวนทาง 0.2% (Outperform อยู่ +1.2%)

ข้อที่ 7 “ทีมบริหาร หรือ Fund Manager”
ทีมบริหารการลงทุน หรือ ทีมผู้จัดการกองทุน มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการบริหารและสร้างผลตอบแทนส่วนเกินให้แก่กองทุนรวม เช่น หากเป็นกองทุนเวียดนามที่มีผู้จัดการกองทุนและทีมนักวิเคราะห์เป็นคนท้องถิ่น ก็จะช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลเป็นไปได้ง่ายขึ้น เป็นต้น

ข้อที่ 8 “ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย” 
ผู้ลงทุนควรพิจารณาค่าธรรมเนียมการซื้อขาย (Front-end and Back-end Fee) ที่ไม่ควรสูงจนเกินไปเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ที่ลงทุน โดยหากเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศด้วยนโยบายเชิงรุก มักมีค่าธรรมเนียมการซื้ออยู่ที่ 1.5% และไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมขายคืน

บางกรณีที่กองทุนรวมมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมในบางช่วงเวลา ก็มักเป็นประโยชน์แก่ผู้ลงทุนเช่นกัน ซึ่งส่วนนี้ก็สามารถใช้เป็นหนึ่งในปัจจัยการพิจารณาเลือกกองทุนรวมได้อีกด้วย


ข้อที่ 9 “ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บเข้ากองทุน” 
ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บเข้ากองทุน เปรียบเสมือนค่าใช้จ่ายที่หักจาก NAV ในแต่ละวัน และเก็บเข้ากองทุนรวมเพื่อเป็นการบริหารจัดการภายใน บลจ.และกองทุน ผู้ลงทุนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยได้พิจารณาข้อมูลส่วนนี้มากนัก แต่เป็นการดีหากผู้ลงทุนทราบข้อมูลส่วนนี้เพิ่ม เพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกกองทุนรวม

อย่างไรก็ดี การที่กองทุนรวมเรียกเก็บค่าธรรมเนียมส่วนนี้สูงไม่ได้หมายความว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการสร้างผลการดำเนินงานเสมอไป

 

กลับด้านบน