ผลิตภัณฑ์

  1. หุ้น เป็นหุ้นส่วนบริษัท ด้วยเงินหลักร้อย
  2. กองทุน เปิดพอร์ตแบบอีซี่.. มีมืออาชีพคอยดูแลให้
  3. Intelligent Portfolios เปิดโหมดอัตโนมัติสำหรับดูแลการลงทุน
  4. สินทรัพย์ดิจิทัล การลงทุนบนสินทรัพย์แห่งอนาคต
  5. ตราสารหนี้และหุ้นกู้ ลงทุนเพื่อผลตอบแทนระยะยาว
  6. ตราสารอนุพันธ์ มองการณ์ไกล ด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
  7. บริการยืมและให้ยืมสินทรัพย์ ปล่อยเช่า-ขอยืมหุ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุน
  8. กองทุนส่วนบุคคล มีผู้จัดการช่วยให้การลงทุนของคุณง่ายขึ้น
  9. คู่มือการใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา

แหล่งความรู้ด้านการลงทุน

  1. เริ่มลงทุนก้าวแรก เริ่มลงทุนก้าวแรก
  2. ลงทุนตามสินทรัพย์ ลงทุนตามสินทรัพย์
  3. บทวิเคราะห์การลงทุน บทวิเคราะห์การลงทุน
  4. แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน

ข่าวสารและโปรโมชัน

  1. โปรโมชันและสิทธิพิเศษเพื่อคุณ
  2. อัปเดตข่าวสาร
  3. ประกาศ
  4. Point to invest
  5. INVX Point​
scbs image

โปรโมชันและสิทธิพิเศษ

พิเศษสำหรับลูกค้า Innovestx เท่านั้นใช้พอยต์แลกกองทุนรวมที่โดนใจ

ดูเพิ่มเติม

เกี่ยวกับเรา

  1. เกี่ยวกับเรา ร่วมเติบโตอย่างยั่งยืนไปกับเรา InnovestX
  2. ร่วมงานกับเรา ก้าวไปข้างหน้าแบบมีสไตล์
ค้นหาล่าสุด
เคลียร์
{{GetHitSearchValue.keywordTitle}}

ซื้อกองทุนรวมให้ตอบโจทย์ง่าย ๆ แค่อ่าน Fund Fact Sheet เป็น

blog_list_heading
02 ส.ค. 2566;
3230
แชร์บทความนี้
test_blog_details_img

เนื้อหาโดยรวม

    อยากซื้อกองทุนรวมที่ตอบโจทย์เป้าหมายการลงทุน ใคร ๆ ก็แนะนำให้อ่าน Fund Fact Sheet ก่อน แล้ว Fund Fact Sheet คืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง อ่านต่อ

การเลือกซื้อกองทุนรวมเป็นอีกหนึ่งโจทย์หินสำหรับนักลงทุนหลายคน เพราะนอกจากจะมีความหลากหลายสูงแล้ว กองทุนรวมยังเป็นสินทรัพย์การลงทุนที่มีความเสี่ยงให้เลือกลงทุนมากถึง 8 ระดับ ทำให้ตอบโจทย์ความต้องการด้านเป้าหมายทางการเงินได้อย่างครอบคลุม

อย่างไรก็ดี การเลือกซื้อกองทุนรวมให้เหมาะสมนั้น ไม่เพียงแต่จะต้องพิจารณาถึงเป้าหมายที่ต้องการ ตลอดจนความเสี่ยงที่รับไหวเท่านั้น แต่นักลงทุนยังควรตัดสินใจเลือกลงทุนกองทุนรวมจากการพิจารณาข้อมูลบน Fund Fact Sheet ด้วยเช่นกัน

แล้ว Fund Fact Sheet คืออะไร? มีองค์ประกอบอะไรบ้าง และควรเริ่มอ่าน Fund Fact Sheet อย่างไรให้สามารถวางแผนและเลือกกองทุนรวมที่เหมาะกับตัวเองได้มากที่สุด มาทำความรู้จักทุกแง่มุมของ Fund Fact Sheet ให้มากขึ้นในบทความนี้กัน

Fund Fact Sheet คืออะไร

Fund Fact Sheet คืออะไร?

เช่นเดียวกับการเพิ่มเพื่อนใหม่บนโลกออนไลน์ การซื้อกองทุนรวมตัวใหม่เข้ามาในพอร์ตก็จำเป็นที่จะต้องดู ‘โปรไฟล์’ ของตัวกองทุนรวมที่สนใจด้วยเช่นกัน

แต่แทนที่จะเข้าไปดูหน้าตาและจำนวนเพื่อนที่มีร่วมกันเหมือนกับการเพิ่มเพื่อนบนโลกออนไลน์ นักลงทุนจะต้องศึกษา ‘โปรไฟล์’ ของกองทุนรวมที่สนใจผ่าน Fund Fact Sheet ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) หรือ สถาบันทางการเงินแต่ละแห่งจัดทำขึ้น

โดยโปรไฟล์ของกองทุนรวมอย่าง Fund Fact Sheet จะเป็นหนังสือชี้ชวนที่จะทำการสรุปข้อมูลสำคัญของกองทุนรวมให้นักลงทุนได้พิจารณารายละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน

ข้อมูลที่อยู่ใน Fund Fact Sheet ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เข้าใจถึงระดับความเสี่ยงของกองทุนแต่ละตัวเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยนักลงทุนวางแผนการลงทุนเพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่มีประสิทธิภาพ ทั้งจากการพิจารณาผลประกอบการในอดีต ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงทุน รวมไปถึงความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น

ถาม - ตอบ เคลียร์สงสัย!
คำถาม: Fund Fact Sheet ต่างจากหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุน (Prospectus) อย่างไร?
คำตอบ: หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุน หรือ Prospectus เป็นเอกสารชิ้นแรกที่นักลงทุนจะได้รับก่อนจะตัดสินใจลงทุนกองทุนรวม มีจุดประสงค์เพื่อให้นักลงทุนได้ศึกษาและทำความเข้าใจกองทุนรวมให้รอบด้านก่อนตัดสินใจซื้อกองทุนรวมในครั้งแรก Fund Fact Sheet เป็น ‘เอกสารสรุปข้อมูลสำคัญ’ ของกองทุนรวมในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ ที่ ‘ผู้จัดการกองทุน’ หรือ ‘บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน’ จัดทำขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางให้นักลงทุนตัดสินใจขายและซื้อกองทุนรวมได้อย่างสะดวกในแต่ละช่วงเวลา

Fund Fact Sheet มีองค์ประกอบอะไรบ้าง?

ในสมัยก่อน Fund Fact Sheet ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนแต่ละแห่งจะมีลักษณะการนำเสนอข้อมูลที่แตกต่างกัน แต่ในปัจจุบันนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนหลายแห่งได้เริ่มทำสรุปข้อมูลสำคัญของกองทุนรวมทั้งหมดไว้ในเอกสาร 3 - 5 หน้า เพื่อให้นักลงทุนสามารถพิจารณาข้อมูลได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

โดยส่วนใหญ่แล้ว Fund Fact Sheet จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนแต่ละแห่งจะประกอบไปด้วย 5 ข้อมูลพื้นฐานที่นักลงทุนต้องพิจารณาให้ดี ดังนี้

1. นโยบายการลงทุน

ตามหลักการแล้ว กองทุนรวมเป็นการลงทุนที่จะนำเงินจากนักลงทุนจำนวนมากไปจดทะเบียนเป็นกองทุน จากนั้นผู้จัดการกองทุนจะนำกองทุนดังกล่าวนี้ไปลงทุนต่อในสินทรัพย์การลงทุนที่เสนอตามนโยบายการลงทุน เช่น นำไปลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ ไปจนถึงการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอย่างทองคำ น้ำมันดิบ และอสังหาริมทรัพย์

2. ลักษณะความเสี่ยงและผลตอบแทน

Fund Fact Sheet แต่ละฉบับจะมีการระบุระดับความเสี่ยงและประเภทของกองทุนรวมเอาไว้ โดยกองทุนรวมจะเป็นสินทรัพย์การลงทุนที่มีความเสี่ยงให้เลือกลงทุนตั้งแต่ระดับ 1 - 8 โดยกองทุนรวมความเสี่ยงระดับ 8 จะมีความเสี่ยงสูงสุด ส่วนใหญ่มักเป็นกองทุนที่ขายให้นักลงทุนสถาบัน นักลงทุนรายใหญ่ หรือ นักลงทุนที่มีประสบการณ์การลงทุนสูงเท่านั้น

นอกจากระดับความเสี่ยงด้านการลงทุนแล้ว Fund Fact Sheet ยังมีการระบุคำเตือนสำคัญให้นักลงทุนได้พิจารณา ไม่ว่าจะเป็นคำเตือนด้านความเสี่ยงในการลงทุนทั่วไป ตลอดจนคำเตือนถึงลักษณะของการลงทุน

3. สินทรัพย์ 5 อันดับแรกที่กองทุนนำเงินไปลงทุน

อย่างที่กล่าวไปว่า กองทุนรวมเป็นสินทรัพย์ที่จะนำเงินของนักลงทุนไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนต่ออีกที ดังนั้น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจึงต้องระบุสินทรัพย์ หรือ การจัดสรรการลงทุน 5 อันดับแรกไว้ที่ Fund Fact Sheet เพื่อให้นักลงทุนพิจารณาโอกาสการสร้างผลตอบแทน ตลอดจนความเสี่ยงที่มาพร้อมกับการลงทุนด้วยเช่นกัน

4. ผลการดำเนินงานย้อนหลัง

แม้ผลการดำเนินการย้อนหลังจะไม่ได้เป็นตัวการันตีถึงผลตอบแทนในอนาคต แต่นักลงทุนก็สามารถพิจารณาข้อมูลในส่วนนี้เพื่อตรวจสอบถึงประสิทธิภาพในการบริหารงานของผู้จัดการกองทุนและบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนได้เช่นกัน โดยผลการดำเนินงานย้อนหลังจะแสดงผลออกมา 2 รูปแบบ คือ

1. รูปแบบปีปฏิทิน เป็นการเทียบผลตอบแทนรายปีกับดัชนีชี้วัด

2. รูปแบบปักหมุด เป็นการแสดงผลตอบแทนย้อนหลัง มีการระบุข้อมูล พร้อมกำกับวันที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเป็นครั้งแรก ตลอดจนวันที่นำข้อมูลมานำเสนอต่อ

5. ค่าธรรมเนียมและเงื่อนไขในการซื้อขาย

ค่าธรรมเนียมการซื้อกองทุนรวมเป็นอีกหนึ่งต้นทุนการลงทุนที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนได้ทำการระบุเอาไว้ใน Fund Fact Sheet โดยค่าธรรมเนียมการลงทุนจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก คือ

ค่าธรรมเนียมเรียกเก็บจากกองทุน

เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุนรวมทั้งหมด โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจะนำค่าธรรมเนียมในส่วนนี้ไปใช้เป็นค่าผู้สอบบัญชี ค่านายทะเบียนหน่วยลงทุน ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ค่าธรรมเนียมการจัดการ และค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ และอื่น ๆ ตามนโยบายของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน

ค่าธรรมเนียมเรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุน

ส่วนใหญ่มักจะเป็นค่าธรรมเนียมการขายและซื้อคืนหน่วยลงทุน นอกจากนี้ ยังครอบคลุมการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุน ค่าปรับสำหรับการขายหน่วยลงทุนคืนก่อนระยะเวลาที่กำหนด และธุรกรรมอื่น ๆ ตามที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกำหนด

วางแผนซื้อกองทุนรวมด้วย Fund Fact Sheet

5 เคล็ดลับการอ่าน Fund Fact Sheet ให้ซื้อกองทุนรวมได้เหมาะสม

ก่อนที่จะเพิ่มเพื่อนใหม่อย่างกองทุนรวมเข้ามาในพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะต้องรู้จักวิธีพิจารณาโปรไฟล์อย่าง Fund Fact Sheet ด้วยเช่นกัน สำหรับใครที่ยังไม่แน่ใจว่าควรโฟกัสข้อมูลส่วนไหนก่อนดี ลองมาทำตาม 5 เคล็ดลับการอ่าน Fund Fact Sheet เบื้องต้น ดังนี้

1. ดูระดับความเสี่ยงของกองทุน

นักลงทุนควรเลือกซื้อกองทุนรวมให้เหมาะกับประสบการณ์การลงทุน ความเสี่ยงที่รับไหวและเป้าหมายทางการเงินที่ต้องการ

เช่น หากตอนนี้มีอายุมากขึ้น ภาระทางการเงินรอบตัวเริ่มมีมากขึ้น ทั้งจากการซื้อบ้าน คอนโด และรถยนต์ แต่ยังต้องการสะสมผลตอบแทนเพื่อเป้าหมายเกษียณอายุ นักลงทุนก็สามารถเลือกลงทุนกองทุนรวมที่มีระดับความเสี่ยงตั้งแต่ 1 - 4 ที่เน้นการสร้างผลตอบแทนอย่างต่อเนื่องในระยะยาวได้

2. พิจารณานโยบายและประเภทของกองทุน

กองทุนรวมแต่ละประเภทมีนโยบายการลงทุนที่แตกต่างกัน ไม่เพียงแต่จะมีความเสี่ยงที่แตกต่างกันเท่านั้น แต่กองทุนรวมคนละประเภทก็มีค่าธรรมเนียมในการลงทุนที่ไม่เท่ากันด้วย

ดังนั้น หากต้องการบริหารความเสี่ยงจากการลงทุนกองทุนรวมให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนเป็นการวางแผนด้านต้นทุนในการลงทุน อย่าลืมพิจารณานโยบายการลงทุน กลยุทธ์ในการลงทุน ตลอดจนเงื่อนไขพิเศษอย่างนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน วันหยุดกองทุน ตลอดจนไทม์โซนของกองทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุนต่างประเทศ

3. ตรวจสอบสัดส่วนการลงทุน

กองทุนรวมแต่ละตัวจะมีการระบุสัดส่วนของสินทรัพย์ที่นำไปลงทุน ตลอดจนสินทรัพย์ 5 อันดับแรกที่นำเงินไปลงทุน โดยนักลงทุนจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบสัดส่วนการลงทุนในส่วนนี้ เพื่อเป็นการวางแผนรับมือกับสถานการณ์ความผันผวนในอนาคต

เช่น หากเป็นกองทุนรวมลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ นักลงทุนต้องพิจารณาถึงผลประกอบการ ความมั่นคง และสถานการณ์ของบริษัทแต่ละแห่งที่ทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไปร่วมลงทุน รวมไปถึงสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจในประเทศ รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนที่ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของการลงทุนด้วย

4. เช็กผลการดำเนินงานย้อนหลังควบคู่กับกลยุทธ์ของทางบลจ.

การตรวจสอบผลการดำเนินงานย้อนหลังสามารถช่วยให้นักลงทุนทราบถึงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกองทุน ผลตอบแทนที่ผ่านมา ตลอดจนผลการบริหารที่สอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์การลงทุนที่ทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนได้นำเสนอไว้

เริ่มต้นพิจารณาได้ง่าย ๆ จากการเช็กตัวดัชนีชี้วัดก่อน ซึ่งหากเป็นกองทุนรวมนโยบายการลงทุนเชิงรุก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจะต้องสร้างผลการดำเนินงานที่เอาชนะดัชนีชี้วัดที่ผ่านมาให้ได้มากที่สุดอย่างต่อเนื่อง แต่หากพบว่าไม่สามารถบริหารกองทุนให้ตรงกับดัชนีชี้วัดที่ระบุไว้ นักลงทุนก็ควรพิจารณาความเสี่ยง ความผันผวน ตลอดจนการดำเนินงานด้านอื่น ๆ เอาไว้ให้ดีด้วย

5. คำนวณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนทั้งหมด

ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน นอกจากเงินต้นที่ต้องใช้ในการซื้อกองทุนรวมแล้ว นักลงทุนยังต้องคำนวณ ‘ค่าธรรมเนียมเรียกเก็บจากกองทุน’ และ ‘ค่าธรรมเนียมเรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุน’ ด้วย

โดย  ‘ค่าธรรมเนียมเรียกเก็บจากกองทุน’ จะเป็นการหักค่าธรรมเนียมออกจากค่าทรัพย์สินสุทธิ หรือ NAV (Net Asset Value) ที่อัปเดตทุกวัน แต่จะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปี เช่น หากกองทุนรวมมีค่าธรรมเนียม 2% ต่อปี แปลว่า กองทุนจะหักค่า NAV ออกไป 2% / 365 วัน = 0.00547945% ต่อวัน

ในขณะที่ ‘ค่าธรรมเนียมเรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุน’ เป็นค่าใช้จ่ายที่คิดจากมูลค่าซื้อขาย มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ ตัวอย่างเช่น หากนักลงทุนต้องการซื้อกองทุนรวมที่ราคา 15 บาท มีค่าธรรมเนียมการซื้อขายอยู่ที่ 1% นักลงทุนจะต้องซื้อในราคา 15 + (1% ของ 15) = 15.15 บาท แต่หากต้องการขาย นักลงทุนจะได้ผลตอบแทนอยู่ที่ 15 - (1% ของ 15) = 14.85 บาท

กองทุนแต่ละประเภท ความเสี่ยงแต่ละระดับ จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่แตกต่างกันจะมีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันด้วย ดังนั้น นักลงทุนจึงควรศึกษาและคำนวณค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้รอบคอบ เพื่อสร้างผลตอบแทนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

การอ่าน Fund Fact Sheet ให้เข้าใจจำเป็นต้องอาศัยเวลาและการฝึกฝน โดยนักลงทุนที่สนใจซื้อกองทุนรวม แต่ยังไม่มั่นใจว่าจะเลือกลงทุนกับกองทุนรวมตัวใด สามารถมาฝึกการอ่าน Fund Fact Sheet จากกองทุนรวมที่สนใจ พร้อมวางแผนซื้อกองทุนรวมได้ที่แอปฯ InnovestX ดาวน์โหลดได้ฟรีที่ App Store และ Google Play Store

คำเตือน

* การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศโดยตรงมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน

 

หัวข้ออื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
กลับด้านบน