ผลิตภัณฑ์

  1. หุ้น เป็นหุ้นส่วนบริษัท ด้วยเงินหลักร้อย
  2. กองทุน เปิดพอร์ตแบบอีซี่.. มีมืออาชีพคอยดูแลให้
  3. Intelligent Portfolios เปิดโหมดอัตโนมัติสำหรับดูแลการลงทุน
  4. สินทรัพย์ดิจิทัล การลงทุนบนสินทรัพย์แห่งอนาคต
  5. ตราสารหนี้และหุ้นกู้ ลงทุนเพื่อผลตอบแทนระยะยาว
  6. ตราสารอนุพันธ์ มองการณ์ไกล ด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
  7. บริการยืมและให้ยืมสินทรัพย์ ปล่อยเช่า-ขอยืมหุ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุน
  8. กองทุนส่วนบุคคล มีผู้จัดการช่วยให้การลงทุนของคุณง่ายขึ้น
  9. คู่มือการใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา

แหล่งความรู้ด้านการลงทุน

  1. เริ่มลงทุนก้าวแรก เริ่มลงทุนก้าวแรก
  2. ลงทุนตามสินทรัพย์ ลงทุนตามสินทรัพย์
  3. บทวิเคราะห์การลงทุน บทวิเคราะห์การลงทุน
  4. แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน

ข่าวสารและโปรโมชัน

  1. โปรโมชันและสิทธิพิเศษเพื่อคุณ
  2. อัปเดตข่าวสาร
  3. ประกาศ
  4. Point to invest
  5. INVX Point​
scbs image

โปรโมชันและสิทธิพิเศษ

พิเศษสำหรับลูกค้า Innovestx เท่านั้นใช้พอยต์แลกกองทุนรวมที่โดนใจ

ดูเพิ่มเติม

เกี่ยวกับเรา

  1. เกี่ยวกับเรา ร่วมเติบโตอย่างยั่งยืนไปกับเรา InnovestX
  2. ร่วมงานกับเรา ก้าวไปข้างหน้าแบบมีสไตล์
ค้นหาล่าสุด
เคลียร์
{{GetHitSearchValue.keywordTitle}}

รวมวิธีลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา ฉบับปี พ.ศ. 2566

blog_list_heading
InnovestX
01 ม.ค. 2567;
86
แชร์บทความนี้
test_blog_details_img

เนื้อหาโดยรวม

    แนวทางการยื่นภาษีและวิธีลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา ฉบับปี พ.ศ. 2566 รวมครบทุกรายการที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้ พร้อมตอบคำตอบเกี่ยวกับขั้นตอน และช่วงเวลายื่นภาษี

เริ่มแล้ว! กับการยื่นภาษีเงินได้ประจำปี 2566 แน่นอนว่าเป็นช่วงเวลาที่หลายคนกำลังให้ความสำคัญกับการจัดการเรื่องภาษีเงินได้ และมองหาวิธีลดหย่อนภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา ที่สามารถช่วยแบ่งเบาในการจ่ายภาษี ซึ่งก็มีค่าใช้จ่ายอยู่หลายประเภทที่นำมาคำนวณเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีได้ ไม่ว่าจะเป็น การใช้จ่ายในโครงการช็อปดีมีคืน การบริจาคเงินระหว่างปี ไปจนถึงดอกเบี้ยบ้านและที่อยู่อาศัย รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกหลายรายการ

การลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านภาษีได้

ที่สำคัญคือ ห้ามลืมยื่นภาษีในช่วงเวลาที่กำหนดเด็ดขาด ซึ่งในปีนี้คุณสามารถยื่นภาษีด้วยตนเองแบบกระดาษที่สำนักงานสรรพากรได้ถึงวันที่ 31 มี.ค. 2567 และสามารถยื่นภาษีแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.rd.go.th ได้ถึงวันที่ 8 เม.ย. 2567

สำหรับใครที่อยากรู้ว่าในปีภาษี 2566 นี้ จะมีรายการค่าใช้จ่ายใดอีกบ้างที่สามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ บทความนี้มีคำตอบมาให้อย่างครบถ้วน พร้อมตอบคำถามเกี่ยวกับขั้นตอน วิธี และเอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นภาษีให้ด้วย

การลดหย่อนภาษีคืออะไร?

สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มทำงาน และเป็นปีแรก ๆ ในการจัดการเรื่องภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ลองมาทำความเข้าใจกันสักนิดว่าการลดหย่อนภาษีที่ว่านี้คืออะไร เพื่อให้เห็นภาพกันมากขึ้น

การลดหย่อนภาษี หมายถึง การนำค่าใช้จ่ายบางประเภทไปหักออกจากเงินได้ทั้งหมดที่ต้องเสียภาษี โดยจะมีรายการใช้จ่ายที่กฎหมายกำหนดเอาไว้อย่างชัดเจน ว่าผู้มีเงินได้สามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ เช่น ค่าลดหย่อนในการดูแลบุตร การดูแลพ่อแม่ การซื้อประกัน หรือกองทุน การบริจาคเงินให้องค์กรต่าง ๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ โดยยิ่งสามารถลดหย่อนภาษีได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งช่วยให้คุณจ่ายภาษีได้น้อยลง

4 รายการพื้นฐานที่ใช้ลดหย่อนภาษีปี 2566 มีอะไรบ้าง?

ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว และครอบครัว

ค่าลดหย่อนส่วนตัว และค่าลดหย่อนจากการดูแลในครอบครัวมีอยู่หลายรายการด้วยกัน ดังนี้

ค่าลดหย่อนส่วนตัว

เป็นสิทธิลดหย่อนพื้นฐานที่ลดหย่อนให้ผู้มีรายได้ทุกคนทันที โดยสามารถลดหย่อนได้ 60,000 บาท

ค่าลดหย่อนคู่สมรส

ในกรณีที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสไม่มีรายได้ สามารถลดหย่อนได้ 60,000 บาท

ค่าลดหย่อนการฝากครรภ์ และคลอด

สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง รวมสูงสุดไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท รายการลดหย่อนนี้หากยื่นภาษีทั้งสามีและภรรยา จะให้สิทธิลดหย่อนนี้แก่ภรรยาเท่านั้น แต่หากภรรยาไม่มีรายได้จะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีของสามีได้

ค่าลดหย่อนบุตร

บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้ ที่มีอายุไม่เกิน 20 ปี หรืออายุ 21-25 ปีที่กำลังศึกษาในระดับอนุปริญญา (ปวส.) ขึ้นไป บุตรที่เกิดก่อนปี 2561 หักค่าลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท

บุตรที่เกิดหลังปี 2561 คนแรกหักค่าลดหย่อนได้ 30,000 บาท คนที่ 2 เป็นต้นไปหักค่าลดหย่อนภาษีได้คนละ 60,000 บาทบุตรที่นำมาใช้สิทธิจะต้องมีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาท/ปี

บุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมถูกต้องตามกฎหมาย ที่มีอายุไม่เกิน 20 ปี หรืออายุ 21-25 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับอนุปริญญา (ปวส.) ขึ้นไป หักค่าลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 3 คน

หากมีบุตรชอบด้วยกฎหมายด้วย จะต้องใช้และนับสิทธิก่อน หากใช้สิทธิลดหย่อนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายครบแล้ว 3 คน จะไม่สามารถใช้สิทธิบุตรบุญธรรมได้อีก 

บุตรบุญธรรมที่นำมาใช้สิทธิจะต้องมีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาท/ปี

ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา

สามารถลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท สำหรับคู่สมรสสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ทั้งบิดา-มารดาของตนเองและของคู่สมรส รวมสูงสุด 4 คน โดยบิดา-มารดาที่นำมาใช้สิทธิต้องมีอายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท

ในกรณีครอบครัวมีบุตรหลายคน สามารถใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีซ้ำได้ และบุตรบุญธรรมไม่สามารถนำบิดามารดาที่เป็นผู้รับบุตรบุญธรรมมาลดหย่อนภาษีได้

ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงผู้พิการ และบุคคลทุพพลภาพ

สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท โดยต้องมีหนังสือรับรองความเป็นผู้อุปการะของผู้มีรายได้ และบุคคลนั้นจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี และต้องมีบัตรประจำตัวผู้พิการ

กรณีที่ผู้พิการหรือทุพพลภาพเป็นบิดา-มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้มีเงินได้ จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ทั้ง 2 ส่วน และไม่จำกัดจำนวนคน

กรณีที่ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ไม่ได้เป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้มีเงินได้ จะสามารถใช้สิทธิได้เพียง 1 คน

ค่าลดหย่อนภาษี จากการซื้อประกัน การลงทุน และกองทุนต่าง ๆ

อีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ก็คือ ค่าใช้จ่ายในการซื้อประกัน และการซื้อกองทุน โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป รวมถึงต้องทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย และถ้าหากมีการเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไข ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

2. เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ สามารถนำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ จะลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท แต่ทั้งนี้ เบี้ยประกันชีวิต ประกันแบบสะสมทรัพย์

ประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ ในข้อที่ 1 - 2 เมื่อรวมกันสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท

3. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง และสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ต้องทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย และมีการจ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ

4. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund) เป็นกองทุนลดหย่อนภาษีที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง และสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

5. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF : Super Saving Funds) สามารถนำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง และสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

6. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน สามารถนำมาลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง และสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

7. กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) สามารถนำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง และสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท 8. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) สามารถนำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง และสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท สำหรับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ รวมกับกองทุนเพื่อการออม และการเกษียณต่าง ๆ ในข้อที่ 3 - 8 เมื่อรวมกันสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 500,000 บาท

9. เงินประกันสังคม สามารถนำลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท

10. เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา สามารถนำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

11. เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) สามารถนำเงินลงทุนไปเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ โดยสามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท (สำหรับผู้ที่ลงทุนในหุ้นหรือธุรกิจ Social Enterprise ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไปเท่านั้น)

12. กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (ThaiESG) สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง และสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

ค่าลดหย่อนภาษีด้วยเงินบริจาค

การบริจาคเป็นหนึ่งในวิธีลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา

เงินที่บริจาคให้กับองค์กรต่าง ๆ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยการบริจาคบางประการสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่า

● เงินบริจาคทั่วไป ที่ให้กับมูลนิธิ และองค์กรสาธารณกุศลต่าง ๆ นำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่น ๆ

● เงินบริจาคเพื่อการศึกษา สนับสนุนกีฬา พัฒนาสังคม มูลนิธิด้านสาธารณสุข และโรงพยาบาลรัฐ นำมาลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่น ๆ

● เงินบริจาคแก่พรรคการเมือง นำมาหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

ค่าลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ

● ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ หรือสร้างที่อยู่อาศัย ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยสามารถนำมาหักค่าลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

● โครงการช้อปดีมีคืน สำหรับลดหย่อนภาษี 2566 ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า และบริการทั่วไปที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หนังสือรวมถึง E-book และสินค้า OTOP ที่ลงทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชนแล้ว สามารถนำมาลดหย่อนได้ไม่เกิน 40,000 บาท

วิธีตรวจสอบสิทธิลดหย่อนภาษีผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร

1. เข้าไปที่เว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th/272.html 2. เลือกเมนู My Tax Account 3. ลงทะเบียน หรือล็อกอินด้วยบัญชีเดียวกับระบบ e-Filing 4. เลือกรายการลดหย่อนเพื่อตรวจสอบ

เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี

1. หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) 2. รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา 3. เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เพื่อกรอกแบบฟอร์มการยื่นจ่ายภาษี

วิธีการยื่นภาษี

สำหรับบุคคลทั่วไป สามารถเลือกยื่นภาษีได้ 2 รูปคือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีอยู่ 2 แบบ คือ

1. ภ.ง.ด.90 (สำหรับผู้มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน)

2. ภ.ง.ด.91 (สำหรับผู้มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมอื่น) ซึ่งสามารถยื่นภาษีได้ผ่าน 3 ช่องทางต่อไปนี้

● ยื่นที่กรมสรรพากร หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา

● ยื่นภาษีออนไลน์ผ่านระบบ E-Filing ของ กรมสรรพากร

● ยื่นภาษีผ่านแอปพลิเคชัน RD Smart Tax

ระยะเวลายื่นภาษี 2566

● ยื่นภาษีแบบกระดาษได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม พ.ศ. 2567

● ยื่นภาษีทางออนไลน์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 8 เมษายน พ.ศ. 2567 และหากตรงกับวันหยุดอาจมีการเลื่อนวันสิ้นสุดออกไปอีก การวางแผนภาษีอย่างรอบคอบ และเลือกลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีจะช่วยให้คุณไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายด้านภาษีที่สูงมากนัก

หากคุณกำลังมองหากองทุนลดหย่อนภาษี สามารถเลือกซื้อกองทุน SSF หรือ RMF ลดหย่อนภาษี ได้ง่าย ๆ ผ่านแอปพลิเคชัน InnovestX ที่ให้คุณเลือกลงทุนได้ในสินทรัพย์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกองทุน หุ้นในประเทศ หุ้นต่างประเทศ หุ้นกู้ ตราสารหนี้ และสินทรัพย์อื่น ๆ ครบจบในที่เดียว

พร้อมฟังก์ชันที่ช่วยให้การลงทุน และการเรียนรู้เกี่ยวกับการลงทุนเป็นเรื่องง่ายขึ้นได้ ต้นปีนี้ มาเปลี่ยนเรื่องการเลือกซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีให้เป็นเรื่องง่าย ที่สามารถทยอยลงทุนสะสมได้ตลอดทั้งปีผ่าน InnovestX ค้นหาสไตล์การลงทุนพร้อมวางแผนลดหย่อนภาษีที่เหมาะกับคุณได้เลยที่ Tax Corner

คำเตือน * การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศโดยตรงมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน

ข้อมูลอ้างอิง

1. ค่าลดหย่อน (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2566 จาก https://www.itax.in.th/pedia/ค่าลดหย่อน/

2. ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนอะไรได้บ้าง? สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2566 จาก https://www.rd.go.th/557.html

 

หัวข้ออื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
กลับด้านบน