ผลิตภัณฑ์

  1. หุ้น เป็นหุ้นส่วนบริษัท ด้วยเงินหลักร้อย
  2. กองทุน เปิดพอร์ตแบบอีซี่.. มีมืออาชีพคอยดูแลให้
  3. Intelligent Portfolios เปิดโหมดอัตโนมัติสำหรับดูแลการลงทุน
  4. สินทรัพย์ดิจิทัล การลงทุนบนสินทรัพย์แห่งอนาคต
  5. ตราสารหนี้และหุ้นกู้ ลงทุนเพื่อผลตอบแทนระยะยาว
  6. ตราสารอนุพันธ์ มองการณ์ไกล ด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
  7. บริการยืมและให้ยืมสินทรัพย์ ปล่อยเช่า-ขอยืมหุ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุน
  8. กองทุนส่วนบุคคล มีผู้จัดการช่วยให้การลงทุนของคุณง่ายขึ้น
  9. คู่มือการใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา

แหล่งความรู้ด้านการลงทุน

  1. เริ่มลงทุนก้าวแรก เริ่มลงทุนก้าวแรก
  2. ลงทุนตามสินทรัพย์ ลงทุนตามสินทรัพย์
  3. บทวิเคราะห์การลงทุน บทวิเคราะห์การลงทุน
  4. แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน

ข่าวสารและโปรโมชัน

  1. โปรโมชันและสิทธิพิเศษเพื่อคุณ
  2. อัปเดตข่าวสาร
  3. ประกาศ
  4. Point to invest
  5. INVX Point​
scbs image

โปรโมชันและสิทธิพิเศษ

พิเศษสำหรับลูกค้า Innovestx เท่านั้นใช้พอยต์แลกกองทุนรวมที่โดนใจ

ดูเพิ่มเติม

เกี่ยวกับเรา

  1. เกี่ยวกับเรา ร่วมเติบโตอย่างยั่งยืนไปกับเรา InnovestX
  2. ร่วมงานกับเรา ก้าวไปข้างหน้าแบบมีสไตล์
ค้นหาล่าสุด
เคลียร์
{{GetHitSearchValue.keywordTitle}}

INVX Macro Making Sense – 7 พ.ค. 2567 สรุปประเด็น การจ้างงานสหรัฐชะลอตัวรุนแรงขึ้น เงินเฟ้อไทยเริ่มฟื้นตัวขึ้น ประเด็นสรุป สัมมนา INVX โดย ดร. พิสิทธิ์

blog_list_heading
07 พ.ค. 2567;
84
แชร์บทความนี้
test_blog_details_img

เนื้อหาโดยรวม

สรุปประเด็น การจ้างงานสหรัฐชะลอตัวรุนแรงขึ้น เงินเฟ้อไทยเริ่มฟื้นตัวขึ้น ประเด็นสรุป สัมมนา INVX โดย ดร. พิสิทธิ์
  •  
  • การจ้างงานสหรัฐชะลอตัวรุนแรงขึ้น
    การจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน เม.ย. เพิ่มขึ้น 175,000 ตำแหน่งในเดือนที่แล้ว น้อยที่สุดในรอบ 6 เดือน และมีการ Revise เดือนก่อนลง 2.2 หมื่นตำแหน่ง อัตราว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 3.9% และการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างรายชั่วโมงชะลอตัวลงเล็กน้อย
    เราวิเคราะห์ว่า ตลาดแรงงานและดัชนี PMI กำลังสะท้อนความเสี่ยงเศรษฐกิจสหรัฐ โดยนอกจากอัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้นแล้ว ตำแหน่งงานเปิดใหม่ก็ยังชะลอต่อเนื่อง โดยโมเดลของเราพบว่า หาก JOLT เข้าสู่ระดับ 8 ล้านตำแหน่ง อัตราว่างงานจะเข้าสู่ 4% ซึ่งเป็นอัตราที่ Fed คาดในปีนี้ ทำให้ลดดอกเบี้ยได้ (แต่เงินเฟ้อที่สูงอาจทำให้การลดดอกเบี้ยทำได้ยากขึ้น) ขณะที่ตัวเลข ISM PMI ภาคบริการล่าสุดบ่งชี้การชะลอตัว เช่นเดียวกับ S&P Global composite PMI ที่เริ่มชะลอลงชัดเจนขึ้น ทั้งจากภาคการผลิต และภาคบริการ
  •  
  • เงินเฟ้อไทยเริ่มฟื้นตัวขึ้น
    เงินเฟ้อผู้บริโภคทั่วไปเดือน เม.ย. สูงขึ้น 0.19% (YoY) เป็นบวกขึ้นเป็นครั้งแรก ในรอบ 7 เดือน และสูงกว่าตลาดคาด จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ตามราคาน้ำมันโลก และการสิ้นสุดมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล นอกจากนี้ ราคาผักสด และผลไม้สด สูงขึ้นจากอากาศร้อนและขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่ ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐาน ทรงตัวที่ 0.37% ต่อปี
    เรามองว่า เงินเฟ้อไทยจะเริ่มกลับมาเป็นบวกมากขึ้นในระยะต่อไปจากมาตรการรัฐที่หมดลง น้ำมันที่แพงขึ้น และภัยแล้งที่กระทบสินค้าเกษตร ซึ่งการฟื้นตัวของเงินเฟ้อในลักษณะนี้เป็นลักษณะ Cost-push ซึ่งจะเป็นเหมือนภาษีและกดดันการใช้จ่ายของประชาชนในระยะต่อไป ด้วยความเสี่ยงเงินเฟ้อที่มีมากขึ้น และการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ส่งสัญญาณดอกเบี้ยสูงยาวนานขึ้น (Higher for longer) ทำให้เรามองว่า ธปท. น่าจะปิดโอกาสในการลดดอกเบี้ยแล้ว เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้าที่ความจำเป็นในการลดดอกเบี้ยมีมากกว่า
  •  
  • ประเด็นสรุป สัมมนา INVX โดย ดร. พิสิทธิ์ พัวพันธ์
    สศค.ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 ลงเหลือเติบโต 2.4% จาก 2.8% แต่ยังขยายตัวจากปี 2566 ที่โต 1.9% โดยตัวเลขเศรษฐกิจที่ขยายตัว 2.4 % ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจกำลังพัฒนาโดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปรับประมาณการลง ได้แก่ การหดตัวต่อเนื่องของภาคอุตสาหกรรมที่มีขนาดเป็น 27% ของ GDP ขณะที่สถานการณ์เศรษฐกิจล่าสุด การส่งออกค่อนข้างเซอรไพร์ในแง่ลบ โดยส่งออกเดือนล่าสุดที่ -10.9% นั้น ต่ำกว่าที่คลังคาดการณ์ว่าไม่ขยายตัว ทั้งนี้ ผลการประมาณการ GDP ที่ 2.4% รวมผลการส่งออกที่แย่แล้วในเดือนนี้
    ในส่วนประเด็นถาม-ตอบ มีประเด็นน่าสนใจ 4 ประเด็น คือ
    (1) มีโอกาสเกิด technical recession หรือไม่ คำตอบคือ มี
    (2) การส่งออกไทยไม่ฟื้นตัวตามที่อื่น ดังนั้น ที่ สศค. คาดว่าส่งออกจะขยายตัวถึง 2.3% ยังเป็นไปได้หรือไม่ คำตอบคือ ที่ส่งออกแย่ ส่วนหนึ่ง เป็นเพราะการส่งออกสินค้ารายการพิเศษ นอกจากนั้น หากพิจารณาเม็ดเงินส่งเสริม BOI พบว่ายังเข้ามามาก จึงไม่ต้องกังวลมากนัก
    (3) การเบิกจ่ายภาครัฐที่ลดลงมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ภาครัฐอาจไม่เร่งรัดการเบิกจ่ายเท่าที่ควรเพื่อนำเงินไปใช้ในมาตการ Digital Wallet (DW) หรือไม่ คำตอบจากการวิเคราะห์ของเราคือ ใช่
    (4) ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ credit rating agency โดยเฉพาะประเด็นเกณฑ์ภาระดอกเบี้ยจ่ายต่อรายได้ ต้องกังวลหรือไม่ คำตอบคือ ประเด็น DW ในปัจจุบัน Credit rating agency ไม่มี concern และเขารับรู้แล้ว และสิ่งที่บริษัทจัดอันดับเครดิตคำนึงถึงเป็นหลัก คือ 1. ศักยภาพเศรษฐกิจ และ 2. ประเด็นการเมือง ซึ่งปัจจุบันการเมืองดีขึ้น แต่ศักยภาพเศรษฐกิจยังแย่อยู่ จึงยังไม่มีการ upgrade rating ประเทศ แม้ external balance ดีขึ้นแล้วก็ตาม

ท่าน สามารถอ่านและดาวน์โหลดเอกสารได้จาก Macro making sense 240507_T

หัวข้ออื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
กลับด้านบน