ผลิตภัณฑ์

  1. หุ้น เป็นหุ้นส่วนบริษัท ด้วยเงินหลักร้อย
  2. กองทุน เปิดพอร์ตแบบอีซี่.. มีมืออาชีพคอยดูแลให้
  3. Intelligent Portfolios เปิดโหมดอัตโนมัติสำหรับดูแลการลงทุน
  4. สินทรัพย์ดิจิทัล การลงทุนบนสินทรัพย์แห่งอนาคต
  5. ตราสารหนี้และหุ้นกู้ ลงทุนเพื่อผลตอบแทนระยะยาว
  6. ตราสารอนุพันธ์ มองการณ์ไกล ด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
  7. บริการยืมและให้ยืมสินทรัพย์ ปล่อยเช่า-ขอยืมหุ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุน
  8. กองทุนส่วนบุคคล มีผู้จัดการช่วยให้การลงทุนของคุณง่ายขึ้น
  9. คู่มือการใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา

แหล่งความรู้ด้านการลงทุน

  1. เริ่มลงทุนก้าวแรก เริ่มลงทุนก้าวแรก
  2. ลงทุนตามสินทรัพย์ ลงทุนตามสินทรัพย์
  3. บทวิเคราะห์การลงทุน บทวิเคราะห์การลงทุน
  4. แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน

ข่าวสารและโปรโมชัน

  1. โปรโมชันและสิทธิพิเศษเพื่อคุณ
  2. อัปเดตข่าวสาร
  3. ประกาศ
  4. Point to invest
  5. INVX Point​
scbs image

โปรโมชันและสิทธิพิเศษ

พิเศษสำหรับลูกค้า Innovestx เท่านั้นใช้พอยต์แลกกองทุนรวมที่โดนใจ

ดูเพิ่มเติม

เกี่ยวกับเรา

  1. เกี่ยวกับเรา ร่วมเติบโตอย่างยั่งยืนไปกับเรา InnovestX
  2. ร่วมงานกับเรา ก้าวไปข้างหน้าแบบมีสไตล์
ค้นหาล่าสุด
เคลียร์
{{GetHitSearchValue.keywordTitle}}

INVX Macro Making Sense – 9 เม.ย. 2567 สรุปประเด็นเรื่องการจ้างงานสหรัฐขยายตัวดี มุมมองของเราต่อเงินเฟ้อและดอกเบี้ยสหรัฐ เงินเฟ้อไทยหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6

blog_list_heading
09 เม.ย. 2567;
101
แชร์บทความนี้
test_blog_details_img

เนื้อหาโดยรวม

สรุปประเด็นเรื่องการจ้างงานสหรัฐขยายตัวดี มุมมองของเราต่อเงินเฟ้อและดอกเบี้ยสหรัฐ เงินเฟ้อไทยหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6
  •  
  • การจ้างงานสหรัฐขยายตัวดี ค่าจ้างขยายตัวดีกว่าเงินเฟ้อ
    • - การจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 303,000 ตำแหน่งในเดือนที่แล้ว สูงกว่าคาดที่ 2.0 แสนตำแหน่ง นอกจากนั้นยังมีการปรับตำแหน่งงานเพิ่มขึ้น 22,000 ตำแหน่งในช่วงสองเดือนก่อนหน้า อัตราการว่างงานลดลงเหลือ 3.8%
    • - เราวิเคราะห์ว่าตลาดแรงงานสหรัฐกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง โดยเมื่อนำตำแหน่งงานเปิดใหม่มาเปรียบเทียบกับอัตราว่างงาน พบว่าความสัมพันธ์เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ตั้งแต่ช่วง ม.ค. 22 – เม.ย. 23 ตำแหน่งงานเปิดใหม่ลดลง พร้อม ๆ กับอัตราว่างงานลดลง บ่งชี้ว่า ตำแหน่งงานเปิดใหม่ดูดซับกำลังแรงงานส่วนเกิน แต่ตั้งแต่ช่วง พ.ค. 23-ปัจจุบัน ตำแหน่งงานเปิดใหม่ลดลง พร้อม ๆ กับการว่างงานที่เริ่มเพิ่มขึ้น บ่งชี้ว่า ภาคธุรกิจเริ่มชะลอการจ้างงานเพิ่ม พร้อม ๆ กับคนตกงานที่เริ่มเพิ่มขึ้น โดยหากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไป การจ้างงานจะตกลง ส่งผลต่อรายได้และเศรษฐกิจสหรัฐให้ชะลอลงแรงมากขึ้นได้
  • มุมมองของเราต่อเงินเฟ้อและดอกเบี้ยสหรัฐ ขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันดิบเป็นหลัก โดยเรามองว่า ซาอุฯ จะเป็นผู้รักษาเสถียรภาพด้านราคาน้ำมัน
    • - ด้วยสมมุติฐานราคาน้ำมันในปี 2024 ที่ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เราเชื่อว่าจะทำให้เงินเฟ้อค่อย ๆ ปรับลดลงต่ำกว่า 3.0% ในครึ่งปีหลัง ทำให้ FOMC ลดดอกเบี้ยได้ 3-4 ครั้ง โดยเริ่มในเดือน มิ.ย.
    • - แต่มี 2 ปัจจัยที่ต้องจับตา (1) ราคาน้ำมันดิบ ต้องไม่เกิน 90-95 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ต่อเนื่องเกิน 3 เดือน (โดยเฉพาะช่วง พ.ค.-ก.ค. ที่ฐานต่ำ) (2) ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในสหรัฐ ต้องไม่เกิน 3.75 ดอลลาร์ต่อแกลลอนเกิน 1 เดือน
    • ข ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เป็นผลจากความต้องการพลังงานโลกเพิ่มขึ้น และปริมาณการผลิตโลกที่ทรงตัว ซึ่งเป็นผลจากปริมาณการผลิตในกลุ่มโอเปกที่ลดลง โดยผู้ที่ลดกำลังการผลิตเป็นหลักได้แก่ซาอุดิอาราเบีย เราคาดว่า หากราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นเกิน 95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลต่อเนื่อง อาจเสียงต่อเงินเฟ้อและทิศทางดอกเบี้ย ทำให้ซาอุฯ อาจเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรักษาเสถียรภาพราค
  • เงินเฟ้อไทยหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ เราคาดว่าเงินเฟ้ออาจจะติดลบอีก 1 เดือน
    • - ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยเดือน มี.ค. 24 เท่ากับ 107.25 ลดลง -0.47% (YoY) จากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพด้านพลังงาน ได้แก่ การตรึงราคาค่าฟฟ้าและน้้ามันดีเซล ประกอบกับราคาสินค้าในกลุ่มอาหารลดลง เรามองว่า เศรษฐกิจไทยเผชิญกับภาวะเงินฝืดโดยพฤตินัยจากการที่ดัชนีเงินเฟ้อผู้บริโภคปรับตัวลดลง 6 เดือน และเป็นไปได้ที่เงินเฟ้อทั่วไปจะหดตัวอีกในเดือน เม.ย. จาก (1) ฐานที่อยู่ในระดับสูง (2) มาตรการตรึงค่ากระแสไฟฟ้าของรัฐบาล และ (3) เศรษฐกิจที่ซึมเซา
    • - จากปัจจัยที่มีการเปลี่ยนแปลงใน 2 ประเด็นใหญ่ คือ (1) การปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลจาก 30 บาทเป็น 30.44 บาทต่อลิตร (2) การที่รัฐบาลเตรียมประกาศดำเนินการโครงการดิจิทัลวอลเล็ตในไตรมาส 4/2024 ด้วยปัจจัยใหม่ที่เข้ามานี้ ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ยังมีลักษณะ "ตกท้องช้าง" ทำให้ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 10 เม.ย. จะมีมติที่ไม่เอกฉันท์ โดยเราคาดว่า เสียงข้างมากจะมีมติลดดอกเบี้ย 0.25% สู่ 2.25% ขณะที่ กนง. เสียงส่วนน้อย อาจพิจารณาไม่ปรับลดดอกเบี้ยในเดือน เม.ย. โดยอาจรอไปจนเดือน มิ.ย. ซึ่งจะเป็นช่วงเดียวกับที่ Fed ลดดอกเบี้ย โดยอาจให้เหตุผลในประเด็นเงินทุนเคลื่อนย้าย
      •  
      • ท่าน สามารถอ่านและดาวน์โหลดเอกสารได้จาก Macro making sense 240409_T

      กลับด้านบน