ผลิตภัณฑ์

  1. หุ้น เป็นหุ้นส่วนบริษัท ด้วยเงินหลักร้อย
  2. กองทุน เปิดพอร์ตแบบอีซี่.. มีมืออาชีพคอยดูแลให้
  3. Intelligent Portfolios เปิดโหมดอัตโนมัติสำหรับดูแลการลงทุน
  4. สินทรัพย์ดิจิทัล การลงทุนบนสินทรัพย์แห่งอนาคต
  5. ตราสารหนี้และหุ้นกู้ ลงทุนเพื่อผลตอบแทนระยะยาว
  6. ตราสารอนุพันธ์ มองการณ์ไกล ด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
  7. บริการยืมและให้ยืมสินทรัพย์ ปล่อยเช่า-ขอยืมหุ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุน
  8. กองทุนส่วนบุคคล มีผู้จัดการช่วยให้การลงทุนของคุณง่ายขึ้น
  9. คู่มือการใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา

แหล่งความรู้ด้านการลงทุน

  1. เริ่มลงทุนก้าวแรก เริ่มลงทุนก้าวแรก
  2. ลงทุนตามสินทรัพย์ ลงทุนตามสินทรัพย์
  3. บทวิเคราะห์การลงทุน บทวิเคราะห์การลงทุน
  4. แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน แหล่งความรู้ครอบจักรวาลการลงทุนเพื่อทุกคน

ข่าวสารและโปรโมชัน

  1. โปรโมชันและสิทธิพิเศษเพื่อคุณ
  2. อัปเดตข่าวสาร
  3. ประกาศ
  4. Point to invest
  5. INVX Point​
scbs image

โปรโมชันและสิทธิพิเศษ

พิเศษสำหรับลูกค้า Innovestx เท่านั้นใช้พอยต์แลกกองทุนรวมที่โดนใจ

ดูเพิ่มเติม

เกี่ยวกับเรา

  1. เกี่ยวกับเรา ร่วมเติบโตอย่างยั่งยืนไปกับเรา InnovestX
  2. ร่วมงานกับเรา ก้าวไปข้างหน้าแบบมีสไตล์
ค้นหาล่าสุด
เคลียร์
{{GetHitSearchValue.keywordTitle}}
หุ้น XD คืออะไร?

เครื่องหมาย XD (Exclude Dividend) เป็นเครื่องหมายที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดขึ้นเพื่อเตือนให้ผู้ลงทุนในหุ้นที่ขึ้นเครื่องหมายนั้น ทราบว่าผู้ซื้อหุ้นนั้นจะไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผลที่ประกาศจ่ายในงวดนั้น

เช่น สมมติว่าหุ้นจะขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 3 ก็ต้องซื้ออย่างช้าเย็นวันที่ 2 ก่อนตลาดปิด หากอยากได้รับเงินปันผลจากหุ้น

หากเราขายหุ้นวันขึ้นเครื่องหมาย XD จะได้ปันผลไหม ?

ถ้าเรามีหุ้นอยู่ก่อน XD และขายหุ้นเช้าวันขึ้นเครื่องหมาย XD ก็ได้รับเงินปันผลครับ


Outperform Market VS Underperform market

Outperform Market : หุ้นปัจจัยพื้นฐานแข็งแรง มีโอกาสสร้างผลตอบแทนดี

Underperform Market: หุ้นปัจจัยพื้นฐานอ่อนแอ มีแนวโน้มจะสร้างผลตอบแทนต่ำกว่าตลาดโดยรวม

ต้องมีเงินขั้นต่ำเท่าไหร่ ถึงจะเล่นหุ้นได้?

ไม่มีจำนวนเงินขั้นต่ำ เพราะขั้นต่ำของการซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (Board Lot) ถูกกำหนดไว้เพียง 100 หุ้นเท่านั้น

เช่น หุ้น A ราคา10 บาทต่อหุ้น หากซื้อขั้นต่ำ100 หุ้น ก็จะใช้เงิน 1,000 บาท

การซื้อขายบนเศษหุ้น (Odd Lot) คืออะไร ทำอย่างไร?

โดยปกติการซื้อขายหุ้นบนกระดานหลัก จะสามารถส่งคำสั่งเป็นจำนวนเท่าของ 100 หุ้น เรียกว่า Board Lot แต่หากจำนวนหุ้นที่น้อยกว่า 100 หุ้น จะเรียกว่า Odd Lot ซึ่งสามารถซื้อขายผ่าน Streaming ได้เช่นกัน ทั้งนี้สามารถส่งคำสั่ง Odd Lot ได้ในช่วงตลาดเปิดทำการเท่านั้น

การซื้อขายในกระดานเศษหุ้น (Odd lot) คือ การซื้อขายหุ้นที่มีจำนวนตั้งแต่ 1 หุ้น ถึง 99 หุ้น มีโอกาสเกิดขึ้นจากการที่ผู้ลงทุนได้รับเศษหุ้นเข้ามาในพอร์ตลงทุน เช่น หุ้นปันผล หุ้นเพิ่มทุน

วิธีการซื้อขายในกระดานเศษหุ้น : หากท่านมีความประสงค์ซื้อ/ขายหุ้น ในจำนวนที่ไม่ครบ board lot ปกติ (100 หุ้น) ท่านสามารถส่งคำสั่งซื้อ/ขายเศษหุ้นได้ โดยดูราคาจากในกระดาน Odd Lot

เช่น หากท่านต้องการขายหุ้น XXYY ที่มีอยู่ 329 หุ้น ให้ท่านทำการส่งคำสั่ง 300 หุ้นโดยอ้างอิงราคาจากกระดานซื้อ/ขายปกติ และเศษหุ้นอีก 29 หุ้น ให้ส่งคำสั่งแยกออกมาโดยอ้างอิงราคาจากกระดานเศษหุ้น

Credit Limit, Line Available, Cash Balance แตกต่างกันอย่างไร?

Credit Limit วงเงินสูงสุดของการซื้อขายในแต่ละวัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าท่านสามารถซื้อหลักทรัพย์ได้ไม่เกินมูลค่า Credit ที่ปรากฏ ทั้งนี้ สำหรับบัญชีประเภท Cash Collateral หมายถึง วงเงินที่ได้รับอนุมัติจากทางบริษัท

Line Available อำนาจซื้อที่แท้จริงของท่าน ณ ขณะนั้น นั่นคือ ท่านจะสามารถซื้อหลักทรัพย์ได้เพิ่มเติมอีกไม่เกินมูลค่า Line ที่ปรากฎ ทั้งนี้ มูลค่า Line จะมีการอัพเดทแบบ Real-time

Cash Balance มูลค่าเงินสดที่อยู่ในบัญชีของท่าน ณ ขณะนั้น ซึ่งเป็นมูลค่าเงินสดที่แท้จริงที่ท่านสามารถถอนได้ เนื่องจากกระบวนการชำระราคาในการซื้อขายหลักทรัพย์จะใช้เวลา 2 วันหลังการซื้อขาย (T+2)

การส่งคำสั่งซื้อ ATO/ATC ในช่วง pre-open/call market คำนวณเงินจากยอดใด?

การส่งคำสั่งซื้อด้วยราคา ATO ในช่วง pre-open และ ATC ในช่วง call market ระบบจะคำนวณจากราคาสูงสุด (Ceiling) ของหลักทรัพย์นั้นเพื่อใช้ในการกันหลักประกันจาก Line Available
 

เช่น หากลูกค้าซื้อหุ้น abc ที่ราคา ATO จำนวน 500 หุ้น และราคา Ceiling ของหุ้น abc ในวันนั้นคือ 10 บาท ระบบจะกันเงินออกจาก Line Available เป็นจำนวน 5,000 บาท

หากลูกค้ามีเงินไม่เพียงพอ ออเดอร์ดังกล่าวจะแสดงสถานะ Cancel เนื่องจากจำนวนเงินไม่เพียงพอ

แนะนำให้ลูกค้าตรวจสอบราคาสูงสุด (Ceiling)  และ ยอดเงินใน Line Available ให้สอดคล้องกัน เพื่อให้ส่งคำสั่งได้อย่างถูกต้องรวดเร็วครับ


หากหุ้นที่ถืออยู่มีให้ทำรายการเพิ่มทุน จะสามารถตรวจสอบได้ยังไง?

ตรวจสอบได้จากหน้า www.innovestxonline.com > เลือกหัวข้อ XR Warrant Tender > จะพบรายละเอียดของหุ้นแต่ละตัว

ระบบการคำนวนต้นทุนแบบ FIFO คืออะไร?

ทำไมขายหุ้นแล้วต้นทุนในพอร์ตเปลี่ยน? เมื่อมีการซื้อขายหุ้น แล้วพบว่าวันถัดไป ต้นทุนเฉลี่ยของหุ้นตัวดังกล่าวเปลี่ยนไป ไม่ตรงตามที่คิดไว้ นั่นเป็นเพราะการคำนวณหุ้นแบบระบบ First in First out หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “FIFO” แปลตรงตัวก็คือ ต้นทุนในพอร์ตจะเปลี่ยนแปลงทุกครั้งที่มีการซื้อและขาย โดยจำนวนและราคาหุ้นที่ซื้อ “เข้ามาก่อน” จะนำมาคำนวณขาย “ออกก่อน”

ตัวอย่าง ทุกครั้งที่เราซื้อหุ้น A ในวันเวลาและจำนวนที่แตกต่างกันไป วันถัด ๆ ไปจำนวนต้นทุนเฉลี่ยในพอร์ต จะมีการคำนวณใหม่เสมอ

ซื้อหุ้น A วันแรก จำนวน 100 หุ้น ราคา 20 บาท ต้นทุนเฉลี่ยของหุ้นในพอร์ตเท่ากับ 20 บาทต่อหุ้น

ซื้อหุ้น A วันที่สอง จำนวน 100 หุ้น ที่ราคา 25 บาท ต้นทุนเฉลี่ยนในพอร์ตเท่ากับ 22.5 บาทต่อหุ้น

ซื้อหุ้น A วันที่สาม จำนวน 100 หุ้น ที่ราคา 30 บาท

ต้นทุนเฉลี่ยเมื่อซื้อหุ้นทั้งหมด 3 วัน ราคาเฉลี่ยหุ้นในพอร์ต หาโดยเอาราคาหุ้นทั้งหมดที่ซื้อทั้ง 3 วัน คือ (100 หุ้น x 20 บาท) + (100 หุ้น x 25 บาท) + (100 หุ้น x 30 บาท) หารด้วย จำนวนหุ้นทั้งหมดรวมกัน 3 วันคือ 300 หุ้น ราคาหุ้นเฉลี่ยในพอร์ตจะอยู่ที่ตัวละ 25 บาท



จากนั้น ต้องการขายหุ้น A ในวันที่ 4 ทั้งหมด 120 หุ้น ที่ราคาหุ้นละ 40 บาท (ราคาขายที่จะได้ 120 หุ้น x 40 บาท = 4,800 บาท) >>คำนวณโดย นำราคาต้นทุนของจำนวนหุ้นที่ “ซื้อมาวันแรก” มา “คำนวณก่อน” ซึ่งมีทั้งหมด 100 หุ้น แต่ต้องการขายทั้งหมด 120 หุ้น จึงต้องใช้อีก 20 หุ้น จากวันที่ซื้อวันที่สอง มาคำนวณด้วย จะได้เป็น >>ต้นทุนขายครั้งนี้ คือ (100 หุ้น x 20 บาท) + (20 หุ้น x 25 บาท) = 2,500, กำไรครั้งนี้คือ 4,800 – 2,500 = 2,300 บาท



และต้นทุนเฉลี่ยใหม่ในพอร์ตวันถัดไปหลังจากขายหุ้นไปแล้ว 120 หุ้น จะเหลือหุ้นอีก 180 หุ้น จะคำนวณได้ดังนี้ (80 หุ้น x 25 บาท) + (100 หุ้น x 30 บาท) = 5,000 บาท หารด้วยจำนวนหุ้นที่เหลือ 180 ต้นทุนเฉลี่ยนใหม่ในพอร์ตเท่ากับ 27.78 บาทต่อหุ้น

Warrant คืออะไร?

Warrant (วอร์แรนท์) คือ ตราสารที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหลักทรัพย์ที่วอร์แรนท์นั้นอ้างอิงอยู่ (Underlying Asset) ซึ่งมีตั้งแต่หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุน โดยจะกำหนดราคาใช้สิทธิ (Exercise Price) เอาไว้

ที่เราคุ้นเคยกัน หลักทรัพย์ที่มีวอร์แรนท์อ้างอิงมักเป็นหุ้นสามัญของบริษัทต่าง ๆ โดยทั่วไป บริษัทจดทะเบียนมักจะแจกวอร์แรนท์ฟรีให้ผู้ถือหุ้นเดิมเพื่อดึงดูดใจให้มาใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มในอนาคต โดยเงื่อนไข รายละเอียด หรือจุดสำคัญ ที่ผู้ถือวอร์แรนท์ต้องทำความเข้าใจให้ดี ๆ จะประกอบไปด้วย ราคาใช้สิทธิ, รายละเอียดการใช้สิทธิ, ระยะเวลาที่ใช้สิทธิได้ และอายุคงเหลือของวอร์แรนท์

 

 


หุ้น Laggard คืออะไร?

Laggard แปลว่า เชื่องช้า ชักช้า หุ้น Laggard คือหุ้นที่ราคายังไม่ปรับขึ้นมาก เมื่อเทียบกับหุ้นอื่นในอุตสาหกรรม


การตรวจสอบเงินปันผลหุ้น

หุ้นไทย : เงินปันผลจะเข้าบัญชีออมทรัพย์ที่ลูกค้าผูกไว้ครับ

หุ้นต่างประเทศ : เงินปันผลจะเข้าบัญชีหุ้นต่างประเทศตามสกุลเงินที่ลูกค้าลงทุน

โดยลูกค้าสามารถตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ www.innovestxonline.com > Login ด้วย Username & Password เดียวกับ Streaming App > เลือกเลขที่บัญชีเป็นบัญชีหุ้นต่างประเทศ (มุมขวาบน) > คลิกไอคอน InnovestX Global Trade > เลือก Account > Historical reports > Share Dividends 

Still need help?

หากคุณยังมีข้อสงสัย คุยกับเราเลย
กลับด้านบน