หลักเกณฑ์การคัดเลือก/ เพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing / Delisting Rule)
หลักเกณฑ์การคัดเลือก/ เพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing / Delisting Rule)
1. หลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) ในการพิจารณารับสินทรัพย์ดิจิทัลเข้ามาซื้อขายนั้น บริษัทจะพิจารณาทั้งจากคุณสมบัติของสินทรัพย์ดิจิทัลต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดและคุณสมบัติของสินทรัพย์ดิจิทัลตามที่กำหนดไว้ใน Listing Rule ซึ่งสินทรัพย์ดิจิทัลจะต้องมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์การพิจารณาในหัวข้อ 1-3 ก่อน จึงจะถูกนำมาพิจารณาให้คะแนนภายใต้เกณฑ์การคัดเลือกหัวข้อที่ 4 สำหรับแต่ละประเภทสินทรัพย์ดิจิทัล
หัวข้อ | เกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล | คริปโทเคอร์เรนซี | โทเคนดิจิทัล |
---|---|---|---|
1 | ไม่ได้ถูกห้ามโดย ก.ล.ต. หรือขัดต่อกฎหมาย | ต้องผ่านเกณฑ์ | ต้องผ่านเกณฑ์ |
2 | มีข้อมูลอ้างอิงได้จากแหล่งที่น่าเชื่อถือหรือ เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการ List อยู่ในศูนย์ซื้อขายอื่นที่ได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแล | ต้องผ่านเกณฑ์ | ต้องผ่านเกณฑ์ |
3 | โครงการ ผู้พัฒนาโครงการ กรรมการ และ/หรือผู้บริหาร ต้องไม่เคยมีประวัติหรือคุณลักษณะที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฉ้อโกง การทุจริต การหลอกลวง ลักษณะอื่น ๆ ที่เข้าข่าย (Scam) หรือโครงการที่ขัดต่อ AML/CFT | ต้องผ่านเกณฑ์ | ต้องผ่านเกณฑ์ |
4 | ปัจจัยอื่นที่พิจารณาให้คะแนน ที่จะมีการพิจารณาจากเอกสาร white paper หรือแหล่งข้อมูลที่ความน่าเชื่อถือเพิ่มเติม | เกณฑ์การให้คะแนนตามประเภทของสินทรัพย์ดิจิทัล | เกณฑ์การให้คะแนนตามประเภทของสินทรัพย์ดิจิทัล |
เกณฑ์หัวข้อที่ 4 ปัจจัยอื่นที่พิจารณาให้คะแนน แบ่งเป็นกรณีคริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัล สามารถสรุปได้ดังนี้
คริปโทเคอร์เรนซี
a. ทีมงานหรือบริษัทผู้พัฒนาคริปโทเคอร์เรนซี : ทีมงานหรือบริษัทผู้พัฒนาจะต้องมีความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่พัฒนา
b. วิธีการตรวจสอบที่ชัดเจน (Consensus Rule) : โครงการมีรูปแบบโครงข่ายกระจายอำนาจศูนย์ มีการอธิบายนโยบายทางด้านการเงินรวมถึงวิธีการตรวจสอบที่ชัดเจน (Consensus Rule) และมี Block Explorer สามารถตรวจสอบได้
c. Community : มี Community ของผู้ออกสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีนักพัฒนาหรือนักลงทุนที่เกี่ยวข้อง เช่น Facebook, Telegram, หรือ Twitter เป็นต้น
d. การสนับสนุนทางเทคโนโลยี (Technology Audit & Support) : โครงการหรือ Source Code ผ่านการตรวจสอบ (Audited) จากผู้เชี่ยวชาญที่เป็นที่ยอมรับและมีความเป็นอิสระ และไม่มีปัญหาหรือความผิดปกติโครงการ
e. ประโยชน์และเป้าหมายในการใช้งาน : มีการนำไปใช้ประโยชน์ที่จะพัฒนาและ/หรือ อำนวยความสะดวกทางธุรกิจ
f. มูลค่าตลาดของคริปโทเคอร์เรนซี : มีค่าเฉลี่ยมูลค่าตลาด (Market Capitalization) 30 วันที่มีมูลค่าไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
g. สภาพคล่องของคริปโทเคอร์เรนซี : มีค่าเฉลี่ยสภาพคล่อง (trading volume) 30 วันที่มีมูลค่าไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
h. Crypto economics : มีนโยบายการเพิ่ม หรือ ลด ปริมาณสินทรัพย์ดิจิทัลที่เกิดขึ้นในระบบอย่างเหมาะสมและสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งมีการกระจายเหรียญให้ Stakeholders หลายกลุ่ม เช่น Developers, project sponsors, users เพื่อให้ราคา และ/หรือ ระบบที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามกลไกตลาด
โทเคนดิจิทัล
a. โครงสร้างเครือข่าย Blockchain : โครงสร้างเครือข่าย Blockchain ที่โครงการ (Project) เชื่อมต่อ มีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับ
b. มูลค่าตลาดของโทเคนดิจิทัล : มีค่าเฉลี่ยมูลค่าตลาด (Market Capitalization) 30 วันที่มีมูลค่าไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด (เกณฑ์นี้จะไม่ได้นำมาพิจารณาสำหรับโทเคนดิจิทัลที่ออกในประเทศและไม่เคยถูก List ที่ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งอื่น)
c. สภาพคล่องของโทเคนดิจิทัล : มีค่าเฉลี่ยสภาพคล่อง (trading volume) 30 วันที่มีมูลค่าไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด (เกณฑ์นี้ไม่ได้นำมาพิจารณาสำหรับโทเคนดิจิทัลที่ออกในประเทศและไม่เคยถูก List ที่ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งอื่น)
d. Community : มี Community ของผู้ออกสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีนักพัฒนาหรือนักลงทุนที่เกี่ยวข้อง เช่น Facebook, Telegram, หรือ Twitter เป็นต้น
e. Crypto economics : มีนโยบายการเพิ่ม หรือ ลด ปริมาณสินทรัพย์ดิจิทัลที่เกิดขึ้นในระบบอย่างเหมาะสมและสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งมีการกระจายเหรียญให้ Stakeholders หลายกลุ่ม เช่น Developers, project sponsors, users เพื่อให้ราคา และ/หรือ ระบบที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามกลไกตลาด
f. การสนับสนุนทางเทคโนโลยี (Technology Audit & Support) : โครงการหรือ Source Code ผ่านการตรวจสอบ (Audited) จากผู้เชี่ยวชาญที่เป็นที่ยอมรับและมีความเป็นอิสระ และไม่มีปัญหาหรือความผิดปกติโครงการ
g. โครงสร้างโครงการ : โครงการจะต้องถูกตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญอิสระว่ามีความคืบหน้าตามที่ระบุไว้ในแผนการดำเนินงาน, White Paper และ/หรือ เอกสารเทียบเท่า ณ วันที่พิจารณาคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (เกณฑ์นี้ไม่ได้นำมาพิจารณาสำหรับโทเคนดิจิทัลที่ออกจากต่างประเทศและเคยถูก List ที่ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งอื่น)
หมายเหตุ : หากท่านมีความประสงค์ที่จะนำเหรียญเข้ามาจดทะเบียนซื้อขายที่แพลทฟอร์มของเรา กรุณาติดต่อที่ invx.da-businessdevelopment@scb.co.th
2. หลักเกณฑ์การพิจารณาเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล (Delisting Rule) : คณะกรรมการสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทอาจพิจารณาให้สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมที่จะดำรงสถานะการจดทะเบียนกับบริษัทเข้าข่ายถูกเพิกถอนได้ โดยปัจจัยที่ใช้ประกอบในการพิจารณาสรุปได้ดังตารางนี้
หัวข้อ | เกณฑ์การเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล | คริปโทเคอร์เรนซี | โทเคนดิจิทัล |
---|---|---|---|
1 | ถูกห้ามโดย ก.ล.ต. หรือขัดต่อกฎหมาย | ☑ | ☑ |
2 | สภาพคล่องลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งบน platform ซื้อขายของบริษัทและศูนย์ซื้อขายแห่งอื่น | ☑ | ☑ |
3 | ผู้ออกสินทรัพย์ดิจิทัลไม่ได้ส่งมอบเอกสารงบการเงิน เอกสารสำคัญอื่นๆ รวมถึงเปิดเผยข้อมูลความคืบหน้าของโครงการให้ผู้ลงทุนทราบตามประกาศสำนักงาน ก.ล.ต. ว่าด้วยการเสนอขายโทเคนต่อประชาชน* | N/A | ☑ |
4 | มีการประกาศยุติโครงการ หรือมีการตรวจพบว่า โครงการของสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นการฉ้อโกง (Scam) หรือ มีการตรวจพบปัญหาเกี่ยวกับ Smart Contract ที่อาจเกิดผลกระทบต่อมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญ | ☑ | ☑ |
5 | มีการพัฒนาโครงการที่ไม่ตรงกับแนวที่วางไว้อย่างมีนัยสำคัญ และไม่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงในระยะเวลาที่เหมาะสม* | N/A | ☑ |
หมายเหตุ : บริษัทอาจมีการพิจารณาอนุโลมให้ผู้ออกสินทรัพย์ดิจิทัลที่เข้าเกณฑ์เพิกถอนชี้แจงสาเหตุและแนวทางแก้ไข ซึ่งหากสามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาที่เหมาะสม บริษัทจะยุติการดำเนินการเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น